สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ผอ.สคร.9 นครราชสีมาแนะวิธีการป้องกันอุบัติเหตุเมื่อเดินทางไปทอดกฐิน

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ณ สคร.9 นครราชสีมา โดย นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา จัด
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสื่อมวลชนในเขตสุขภาพที่ 9 ด้านการสื่อสารความเสี่ยงเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ปี 2568 กล่าวในที่ประชุมว่า

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ประชาชนเดินทางไปทอดกฐิน และเกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง สถานการณ์อุบัติเหตุในเขตสุขภาพที่ 9 ในช่วงเทศกาลออกพรรษานี้ ประชาชนมักเดินทางไปทำบุญทอดกฐินตามวัดต่างๆ ที่ตนเองมีความเลื่อมใสศรัทธา ในต่างจังหวัด ซึ่งรูปแบบการเดินทางที่นิยมคือ ใช้รถบัสโดยสาร ซึ่งเหมาะกับการเดินทางเป็นหมู่คณะ ที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุจากการเดินทางไปทอดกฐินเกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต

ในส่วนของเขตสุขภาพที่ 9 ในปี 2566 ที่ผ่านมาพบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน สูงสุดอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มากถึง 769 ราย รองลงมาคือจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และชัยภูมิ ตามลำดับ ส่วนใหญ่พบมากที่สุดคือในเพศชาย ช่วงกลุ่มอายุ 15-19 ปี และพบการเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงมากที่สุดคือ การไม่สวมหมวกนิรภัย

วิธีการในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเดินทางไปทำบุญทอดกฐินสคร.9 มีข้อแนะนำประชาชนในการเดินทางไกลเป็นหมู่คณะ
โดยวางแผนและศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง และวิธีเช่าเหมารถโดยสารไม่ประจำทาง เพื่อการเดินทางไปทำบุญทอดกฐินที่ปลอดภัย ดังนี้
การคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งและพนักงานขับรถ
1.เลือกบริษัทที่เป็นนิติบุคคล ทำประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ ผ่านการตรวจสอบสภาพรถและต่อภาษี
2.เลือกใช้รถแบบชั้นเดียว ไม่ควรใช้รถแบบ 2 ชั้น โดยเฉพาะทางภูเขาลาดชัน

3.ควรมีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งและใช้การได้
4.เบาะที่นั่งยึดติดตั้งแข็งแรง ไม่ควรเลือกรถที่มีการดัดแปลง
ที่นั่ง เพื่อให้ได้พื้นที่นั่งมากขึ้น
5.มีอุปกรณ์นิรภัยติดตั้งบนรถ เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น
6.ต้องไม่บรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่ง
7.พนักงานขับรถควรมีใบอนุญาตขับขี่ประเภท 2 สามารถขับรถส่วนบุคคลหรือรถสาธารณะได้

สคร.9 นครราชสีมา มีความห่วงใยประชาชนในช่วงทำบุญทอดกฐินนี้ และขอให้คณะเดินทาง สังเกตความปลอดภัยในรถ เช่น มองหาทางเข้าออก ประตูฉุกเฉิน และสังเกตุอากัปกิริยาของพนักงานขับรถว่ามีการดื่มสุรา พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออยู่ในสภาพที่พร้อมขับขี่หรือไม่ ที่สำคัญผู้โดยสารตั้งคาดเข็มขัดนิรภัยขนะเดินทางตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และอิ่มใจได้บุญ

กันตินันท์ เรืองประโคน นครราชสีมา รายงาน/ 061-768-8210