สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ เปิด ‘เทศกาลข้าวโพดหวานและของดีศรีรัตนะ’ ประจำปี 2568 ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น สร้างรายได้สู่ชุมชน

แชร์เนื้อหานี้

****ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอศรีรัตนะ จ.ศรีสะเกษ นายอนุพงษ์ สุขสมนิตย์ ผวจ.ศรีสะเกษ ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงาน “เทศกาลข้าวโพดหวานและของดีศรีรัตนะ” ประจำปี 2568 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 ถึง 9 มีนาคม 2568 โดยมี นายสุรพล ศรีพนมธนากร นอภ.ศรีรัตนะ หัวหน้าส่วนราชการ ภาครัฐ ภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ ผู้บริหาร อปท.ทุกแห่ง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรกรและประชาชนเข้าร่วมจำนวนมาก

*****นายสุรพล กล่าวว่า อ.ศรีรัตนะ มี 7 ตำบล 90 หมู่บ้าน 8 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีพื้นที่ทั้งหมด 144,439 ไร่ พื้นที่การเกษตร 130,343 ไร่ พื้นที่อื่นๆ 13,007 ไร่ และ อ.ศรีรัตนะ เป็นหนึ่งในกลุ่มอำเภอที่มีศักยภาพการผลิตข้าว พืชสวน พืชไร่ โดยเฉพาะข้าวโพดหวาน และทุเรียนภูเขาไฟ ซึ่งเป็นพืชที่สำคัญ และคิดเป็นมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตรรวมของ อำเภอศรีรัตนะ 60 ล้านบาท โดยมีผลผลิตออกสู่ตลาดตลอดปี สร้างเงิน สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้และสร้างชื่อเสียงให้แก่อำเภอศรีรัตนะเป็นอย่างงด ดังนั้น อ.ศรีรัตนะ จึงได้กำหนดจัดกิจกรรมงานเทศกาลวันข้าวโพดหวาน และของดีศรีรัตนะ ประจำปี 2568 ขึ้น โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย 1. การประกวดผลผลิตทางการเกษตร 2. การประกวดด้านปศุสัตว์

  1. การออกร้านจำหน่ายสินค้า OTOP ผลไม้ ข้าวโพดหวาน และผลผลิตทางการเกษตร 4. การประกวดธิดาข้าวโพดหวาน 5. การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง 6. การประกวดนางฟ้าจำแลง 7. การแข่งขันส้มตำลีลา 8. กิจกรรมรำวงย้อนยุค และ หมู่บ้านย้อนยุค
  2. ****ในการจัดงานครั้งนี้ ได้เชิญชวนประชาชน แต่งกายชุดพื้นถิ่นมาเที่ยวงาน โดยเน้น “ใส่เสื้อไหม เสื้อผ้าฝ้าย สวมผ้าถุง นุ่งโสร่ง”เพื่อเป็นการอนุรักษ์การแต่งกายให้เกิดความภาคภูมิใจในวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยได้รับความร่วมมือด้วยดีจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจผู้บริหารสถานศึกษาทุกแห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง กำนันทุกตำบล ผู้ใหญ่บ้านทุกหมู่บ้าน ตลอดจนพี่น้องประชาชนชาวอำเภอศรีรัตนะทุกคน และกลุ่มอาชีพต่างๆ ทุกกลุ่ม ที่ทำให้การจัดงานในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความสนใจในปรับปรุงคุณภาพผลผลิตให้ได้ตรงตามความต้องการของตลาด ส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างผลผลิตโดยอาศัยตลาดนำการผลิต กระตุ้นให้เกิดการผลิต การตลาดหมุนเวียนอย่างครบวงจร ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่า เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลผลิต ผลิตภัณฑ์ของชุมชนและอำเภอให้ปรากฎแก่สายตาและความรับรู้ของมหาชน เป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ ให้มีศักยภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นอีกด้วย.

ภาพ/ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์