สื่อรัฐทีวี*สื่อรัฐนิวส์ / จัดกิจกรรมพัฒนาแรงงานและผู้ประกอบการ ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว ฝึกอบรมมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยว (รุ่นที่ 1 – 3)

แชร์เนื้อหานี้

วันพุธที่ 2 กรกฎาคม 2568 เวลา 10.00 น.ที่ผ่านมา ณ โรงแรม ดิ อิมเพรส น่าน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นางวิไลวรรณ บุดาสา รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดโครงการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและยกระดับการท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยวคุณภาพสูง กิจกรรมหลัก พัฒนาแรงงานและผู้ประกอบการ ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว สินค้า และบริการให้ได้มาตรฐานสากล โดยมี นางสาวนพรัตน์ ศตะรัตน์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่าน กล่าวรายงานการจัดฝึกอบรมมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยว (รุ่นที่ 1-3) พร้อมด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและผู้นำเที่ยว รวมจำนวน 150 คน

เข้าร่วมกิจกรรม จังหวัดน่าน ได้มอบหมายให้สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด ดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและยกระดับการท่องเที่ยวน่าน สู่การท่องเที่ยวคุณภาพสูง กิจกรรมหลักการพัฒนาแรงานและผู้ประกอบการ ยกระดับ

มาตรฐานการท่องเที่ยว สินค้า และบริการได้มาตรฐานสากล กิจกรรมย่อยฝึกอบรมมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยว (รุ่นที่ 1-3) เพื่อเป็นการสนับสนุนภาพลักษณ์ที่ที่ดีด้านการท่องเที่ยว เสริมสร้างศักยภาพมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวในพื้นที่จังหวัดน่าน ให้สามารถอธิบายเล่าประวัติความเป็นมา ถ่ายทอดองค์ความรู้และอัตลักษณ์ของเมืองน่าน ให้แก่นักท่องเที่ยวได้อย่างถูกต้อง และให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ไปรับใช้ในการบริการนักท่องเที่ยวต่อไป

โดยการพัฒนาศักยภาพของมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวในจังหวัดน่าน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้มีคุณค่าอย่างยั่งยืนและการมีส่วนร่วม โดยอาศัยแนวทิตหลัก ได้แก่ การต่อยอดอดีต ปรับปัจจุบัน และสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต โดยแบ่งผู้เข้าร่วมอบรมออกเป็น 3 รุ่น รุ่นละ 50 คน ได้แก่ รุ่นที่ 1 หลักสูตรการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค

(ภาคเหนือ) รุ่นที่ 2 หลักสูตรการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์เฉพาะจังหวัดน่าน และรุ่นที่ 3 หลักสูตรการฝึกอบรมผู้นำเที่ยว (Tour Leader Training) พร้อมการจัดเสวนาในหัวข้อ “Next Step ก้าวสู่การเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันและยกระดับการท่องเที่ยวน่านสู่การท่องเที่ยวคุณภาพสูง” ในประเด็นการพัฒนาแรงงานและผู้ประกอบการ ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว สินค้า และบริการให้ได้มาตรฐานสากล ด้านมัคคุเทศก์และผู้นำเที่ยวอีกด้วยโดยในวันที่ 3 กรกฏาคม2568 ทางผู้จัดงานได้นำผู้เข้าอบรมและะสื่อมวลชนจังหวัดน่านศึกษาดูงานจุดที่ ที่ 1

ณ วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นปูชนีสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่มืองแพร่มานานแต่โบราณ และเป็นพระ ธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีชาล เป็นปูชนียสถานคู่บ้านคู่เมืองแพร่ และเป็นพระธาตุ ประจำปีขาล ตามตำนานระบุว่า สร้างเมื่อ พ.ศ. 1879-1881 สมัยพระมหาธรรมราชาธิ ราช (ลิไท) มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ก่ออิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่น ทองเหลือง ลงรักปิดทองเป็นศิลปะเชียงแสน และเป็นที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุและพระ บรมสารีริกธาตุส่วนของพระศอกข้างซ้ายของพระพุทธเจ้า ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน หลวงพ่อช่อแฮ พระประธานศิลปะล้านนาผสมผสานเชียงแสนกับสุโขทัย ส่วนของวิหาร ศิลปะล้านนาประยุกต์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธโลกนารถบพิตร พระปางนาคปรก

รวมทั้ง มีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม และยังมีพระเจ้าไม้สัก ที่แกะสลักจากไม้สักทอง เป็นศิลปะ สมัยล้านนา พระเจ้านอน สร้างแบบก่ออิฐถือปูนและลงรักปิดทอง เป็นศิลปะแบบเมียนมา ธรรมาสน์โบราณ เป็นธรรมาสน์ไม้สักที่แกะสลักลวดลายแบบไทยผสมล้านนาพร้อมลงรักปิด ทอง ใกล้กันเป็นที่ตั้งกรุอัฐิครูบาศรีวิชัย จุดที่ 2 ณ คุ้มเจ้าหลวงเมืองแพร่ คุ้มเจ้าบ้านวงศ์บุรี เป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ยุคต้น ซึ่งมีรูปทรงเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป หรือทรงขนมปังชิงหลังคามุงด้วยไม้ เรียกว่า “ไม้แป้นเกล็ด” ไม่มีหน้าจั่วเป็นแบบหลังคาเรือนปั้นหยา มีมุขสี่เหลี่ยมยื่นออกมาด้านหน้า ของตัวอาคาร หลังคามุขมีรูปทรงสามเหลี่ยม ทั้งปั้นลมและชายคาน้ำรอบตัวอาคารประดับ

ด้วยไม้แกะฉลุสลักลวดลายอย่างสวยงาม เป็นฝีช่างชาวจีนที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ภายใต้ตัว อาคารซึ่งสูงจากพื้นดินประมาณ 2 เมตร มีห้องสำหรับเก็บข้าวของเงินทองและทรัพย์สมบัติ จำนวน 3 ห้อง ห้องกลางเป็นห้องทึบ ส่วนอีก 2 ห้อง ปีกซ้ายและปีกขวา มีช่องสำหรับใส่ เงิน ซึ่งห้องใต้ดินสำหรับเก็บสมบัตินี้มักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นคุกที่คุมขังนักโทษ ส่วนเครื่องจอง จำนักโทษที่จัดแสดงในห้องเพิ่งนำเข้ามาจัดแสดงเมื่อเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ จุดที่ 3 ณ วัดจอมสวรรค์ เป็นวัดไทยใหญ่ สร้างแบบสถาปัตยกรรมหม่า ด้วยความศรัทธาของชาวเงี้ยวที่มี
ถิ่นฐานอยู่ในเมียนมาและเดินทางเข้ามาค้าขายที่เมืองแพร่ ต่อมาได้รับการบูรณะจากชาวไทใหญ่

จึงเป็นวัดไทใหญ่ที่มีสถาปัตยกรรมแบบเมียนมา ภายในวัดมีเรือนไม้สักหลังเดียว ซึ่งเป็นทั้งอุโบสถ วิหาร และกุฏิ มีลักษณะหลังคาช้อนลดหลั่นเป็นชั้น ตกแต่งด้วยลวยฉลุภายในแสดงให้ให้เห็น ฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจง เพดานและเสาฉลุไม้ ประดับกระจกสีแบบโบราณ ในวัดประดิษ ฐานหลวงพ่อสาน เป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากไม้ไผ่สานลงรักปิดทอง พระพุทธรูปงาช้าง เป็นศิลปะ
แบบเมียนมา คัมภีร์งาช้าง หรือคัมภีร์ปาติโมกข์ ที่นำงาช้างมาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบาง ๆ เขียนลง รักแดงจารึกเป็นอักษรเมียนมา และยังมีบุษบกที่มีลวดลายวิจิตรงดงาม ประดิษฐานพระพุทธรูป หินอ่อน จุดที่ 4 กิจกรรมการท่องที่ยวโดยชุมชนบ้านทุ้งโฮ้ง ต้นแบบของการนำเที่ยวและกิจกรรมสาธิตโดย ผู้เข้าร่วมได้ทำกิจกรรมเรียนรู้วิถีชีวิตอัตลักษณ์ของุชมชน เช่น การย้อมผ้าหม้อห้อม เวลา (บ้านป้าเหงี่ยม) เป็นวิถีชุมชนชาวไทยพวนที่มีชื่อเสียงด้านการผลิตและจำหน่ายผ้าหม้อห้อม โดย มีประวัติความเป็นมาจากการอพยพของชาวไทพวนจากเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง สปป.ลาว) เข้า มาตั้งถิ่นฐานในเมืองแพร่ งานนี้ขอชื่นชมนางสาวนพรัตน์ ศตรัตน์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดน่านพร้อมทีมงาน ผู้จัดกิจกรรมในครั้งนี้ ชื่นชมคณะอาจารย์ทีมวิทยากรทุกๆท่าน ชื่นชมคณะทำงาน ผู้ประสานทุกๆท่าน และทีมไกค์น่าน ที่จัดงานได้อย่างไม่มีที่ติ/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน/วิสุทธิ์ ศรีเมือง/ร.ต.อ.สถิตย์ ศรีประสม รายงาน