
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2568 ณ ค่ายสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา พลตรี ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ รองแม่ทัพภาคที่ 2 ร่วมกับ นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการประชุมโครงการระบบกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครนครราชสีมา โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุมที่ กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 2 ค่ายสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

เพื่อหารือแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดำเนินชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาว จ.นครราชสีมา สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้.-
1. ความเป็นมา : เทศบาลนครนครราชสีมา และกองทัพบก โดย กองทัพภาคที่ 2 ได้จัดทำบันทึกข้อตกลง การใช้พื้นที่ในครอบครองของกองทัพบก เพื่อจัดทำโครงการระบบกำจัดขยะมูลฝอยของเทศบาลนครนครราชสีมา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 โดยแบ่งพื้นที่ ออกเป็น 4 ส่วน

– พื้นที่ A1 พื้นที่กองขยะและฝังกลบเดิม ขนาดพื้นที่ 41-0-58 ไร่ ระยะเวลาใช้งาน ปี พ.ศ. 2550 – 2567 และ เทศบาลฯ จะดำเนินการดูแลพื้นที่ต่อไปจนถึงปี 2589- พื้นที่ A2 พื้นที่ตั้งโรงงานปุ๋ยอินทรีย์และพลังงานเดิม ขนาดพื้นที่ 31-3-42 ไร่ ระยะเวลาใช้งาน ปี พ.ศ.2550 – 2589 – พื้นที่ B พื้นที่ตั้งโรงงานเตาเผาขยะเพื่อผลิตพลังงาน ขนาดพื้นที่ 121-0-58 ไร่ ระยะเวลาใช้งาน ปี พ.ศ.2561 – 2589 – พื้นที่ C พื้นที่บ่อฝังกลบขยะมูลฝอยชั่วคราว ขนาดพื้นที่ 50-0-0 ไร่ ระยะเวลาใช้งาน ปี พ.ศ.2561 – 2567 และเทศบาลฯ จะดำเนินการดูแลพื้นที่ต่อไปจนถึงปี 2589 2. สาเหตุที่ทางกองทัพภาคที่ 2 ให้เทศบาลนครนครราชสีมา งดเว้นการนำขยะมาทิ้ง (ในพื้นที่ C)

เนื่องจากการดำเนินโครงการฯ ของเทศบาลนครนครราชสีมา ไม่เป็นไปตามบันทึกข้อตกลง และในพื้นที่ C มีปริมาณขยะสะสม 334,863 ตัน ซึ่งเพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งในด้านสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ จากกลิ่นอันไม่พึงประสงค์และน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากขยะ และเทศบาลฯ ยังไม่มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ชัดเจน (ซึ่งไม่เป็นไปตามการประชุมหารือในวันที่ 17 ม.ค. 68) อีกทั้ง กองทัพภาคที่ 2 ได้มีหนังสือขอให้เทศบาลฯ เร่งรัดในการดำเนินการแก้ไขปัญหาแล้วนั้น กองทัพภาคที่ 2 จึงขอให้เทศบาลดำเนินการดังนี้

1) พื้นที่ A1.1 และ A1.2 ให้เทศบาลฯ รีบดำเนินการให้เรียบร้อย
2) พื้นที่ A2 ยังสามารถดำเนินโครงการฯ ได้เหมือนเดิมตามบันทึกข้อตกลงฯ รถขนขยะอินทรีย์ สามารถนำขยะอินทรีย์มาส่งให้แก่โรงงานได้ แต่ขยะที่นอกเหนือจากขยะอินทรีย์ ให้เทศบาลฯ วางแผนขนย้ายขยะไปพื้นที่อื่น ที่ไม่ใช่พื้นที่ C
3) พื้นที่ B หลังจากศาลปกครองสูงสุด ได้มีคำสั่งจนถึงที่สุดแล้ว เทศบาลฯ และกองทัพภาคที่ 2 จะมาหารือร่วมกันอีกครั้ง 4) พื้นที่ C

– ให้งดเว้นการนำขยะมูลฝอยมาทิ้งในพื้นที่ C ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 68 เป็นต้นไป
– ให้เทศบาลฯ ดำเนินการในการขนย้ายขยะออกจากพื้นที่ C เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงฯ และสรุปประชุมในวันที่ 17 ม.ค.68 – ให้เทศบาลฯ ประชาสัมพันธ์หน่วยงาน และประชาชนให้งดเว้นการเข้ามาทิ้งขยะในพื้นที่ C พร้อมทั้งติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์ฯ 3. สรุปการประชุมหารือในการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน จังหวัดนครราชสีมา และกองทัพภาคที่ 2 ได้ร่วมกันหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยคำนึงถึงการดำเนินชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนชาว จ.นครราชสีมา ซึ่งสรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้.- 1) พื้นที่ C

– ให้เทศบาลฯ งดเว้นการนำขยะมาทิ้ง ตั้งแต่วันที่ 11 เม.ย. 68 เวลา 1800 เป็นต้นไป- ให้เทศบาลฯ ดำเนินการขนย้ายขยะออกจากพื้นที่ C เพื่อให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลง2) พื้นที่ B อนุโลมให้เทศบาลฯ นำขยะมาทิ้งพักไว้ในพื้นที่ B ได้ ไม่เกินวันละ 350 ตัน- เริ่มนำขยะมาทิ้งได้ตั้งแต่วันที่ 12 – 21 เม.ย. 68 (อนุโลมให้ยังไม่ต้องขนขยะออก เนื่องจากติดเรื่องการห้ามรถบรรทุกวิ่ง ช่วงสงกรานต์)- ตั้งแต่วันที่ 22–30 เม.ย.68 สามารถนำขยะมาทิ้งได้และต้องดำเนินการขนขยะออกจากพื้นที่ B (รวมถึงขยะที่นำมาทิ้งในห้วงวันที่ 12-21 เม.ย.68) ให้หมดภายในวันที่ 30 เม.ย. 68- ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค. 68 สามารถนำขยะมาพักในพื้นที่ B ได้ แต่ต้องดำเนินการขนย้ายขยะออกให้หมดเป็นประจำทุกวัน

ภาพ/ข่าว :กองทัพภาคที่ 2 กันตินันท์ เรืองประโคน/รายงาน
งานพืชสวนโลก KORAT EXPO 2029 จัดงาน ระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน 2572 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2573 รวมระยะเวลา 110 วัน

การมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดย นายนพวิทย์ ควรขุนทด ส.อบจ.จังหวัดนครราชสีมา 1.จัดตั้งศูนย์อุบัติเหตุ รพ.สต.บ้านวัด 2.ระบบโครงสร้างพื้นฐานบริเวณงาน 3.การประชาสัมพันธ์พื้นที่จัดงาน อยู่พื้นที่สาธารณประโยชน์ โคกหนองรังกา ต.เทพาลัย อ.คง จ.นครราชสีมา เนื้อที่จัดงาน 678 ไร่การแบ่งพื้นที่จัดงาน

- พื้นที่ลานจอดรถและพื้นที่บริการ 2.พื้นที่ลานพืชพันธุ์นานาชาติ 3.พื้นที่ลานพืชพันธุ์ของไทย 4.พื้นที่ลานแกนหลักเชื่อมโยงพื้นที่การจัดงานทั้งหมด
- การเดินทางจากตัวเมืองนครราชสีมา ระบบขนส่งสาธารณะ
1.รถไฟรางคู่ ใช้ระยะเวลาในการเดินทาง 1 ชม.2 นาที ระยะทาง 68.7 กม.
2.รถโดยสารประจำทางใช้เวลาในการเดินทาง 57 นาที ระยะทาง 67.7 กม.
3.รถยนต์ส่วนบุคคล เดินทางไปยังพื้นที่จัดงาน ระยะทาง 68 กม.ใช้เวลาเดินทาง 50 นาที 4.จากท่าอากาศยานนานาชาติขอนแก่น ไปยังพื้นที่จัดงาน ระยะทาง 135 กม.ใช้เวลาเดินทาง 2 ชม. 5. จากท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ไปพื้นที่จัดงาน ระยะทาง 120 กม.ใช้เวลาเดินทาง 1 ชม. 40 นาที
กันตินันท์ เรืองประโคน/ รายงาน
