สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์/ เกษตรท่าวังผา น่าน มอบเมล็ดพันธุ์ผักให้เกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย2567 / รมว.เอกนัฏ เปิดโร้ดแม็ป 3 ปี ดันไทย ฮับโกโก้แห่งอาเซียน

แชร์เนื้อหานี้

26 พฤศจิกายน 2567 นายสันติ มณีอ่อน เกษตรอำเภอท่าวังผา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ และประธานชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้จังหวัดน่าน ได้ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ผักและกล้าผัก ภายใต้โครงการผลิตพืชพันธุ์ดีเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติของกรมส่งเสริมการเกษตร และภายใต้โครงการเมล็ดพันธุ์แห่งความดี ชุบชีวีหลังน้ำลด ระหว่างการท่าเรือแห่งประเทศไทย

บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย มูลนิธิพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ สมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ และชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้จังหวัดน่าน ให้กับเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย (น้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่ม) ด้านพืช เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 อำเภอท่าวังผา 10 ตำบล 54 หมู่บ้าน เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 645 ราย ประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ผัก จำนวน 6 ชนิด

ได้แก่ เมล็ดถั่วฝักยาว เมล็ดผักคะน้าลูกผสม เมล็ดพริกขี้หนูลูกผสม เมล็ดผักกาดขาวปลีลูกผสม เมล็ดผักกวางตุ้งต้นลูกผสม และเมล็ดมะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์ และกล้าผักในถาดหลุม จำนวน 6 ชนิด ประกอบด้วย กล้าถั่วพู กล้ากะหล่ำปลี กล้ามะเขือเทศ กล้าพริกใหญ่ กล้าพริกชี้ฟ้า และมะเขือเปราะเจ้าพระยา/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

รมว.เอกนัฏ เปิดโร้ดแม็ป 3 ปี ดันไทย ฮับโกโก้แห่งอาเซียน เชื่อมท่องเที่ยวด้วยซอฟต์พาวเวอร์โชว์ศักยภาพ “ดีพร้อม” ยกระดับผู้ประกอบการโกโก้สู่สินค้า GI โกยรายได้เพิ่มอีก 8 พันล้านบาท

ค่ำวานนี้ 25 พฤศจิกายน 2567 เวลา 17.30 น. ณ ร้าน โกโก้ วัลเลย์ คาเฟ่ ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นำผู้บริหารจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมติดตามความสำเร็จการส่งเสริมอุตสาหกรรมโกโก้ในพื้นที่จังหวัดน่าน

เพื่อเร่งเดินหน้าประเทศไทยสู่ฮับโกโก้ของอาเซียน สนองยุทธศาสตร์ผู้นำแหล่งผลิตและตลาดผลไม้เมืองร้อนของรัฐบาล โดยมีแผนระยะ 3 ปี เชื่อมโยงกับซอฟต์พาวเวอร์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กระทรวงอุตสาหกรรม มอบหมายให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM) รุกพัฒนาผู้ประกอบการโกโก้ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ผ่านการพัฒนาในแต่ละภูมิภาคก้าวสู่การเป็นสินค้า GI เพื่อตอกย้ำการเป็นแบรนด์ของท้องถิ่นที่เน้นความโดดเด่นในเชิงคุณภาพ และอัตลักษณ์ทางรสชาติ ด้วยการพัฒนาความรู้ เทคโนโลยี และมาตรฐานต่าง ๆ

คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอีกกว่า 8 พันล้านบาท พร้อมชูต้นแบบความสำเร็จ โกโก้วัลเล่ย์ ธุรกิจโกโก้ครบวงจรตั้งแต่การปลูก แปรรูป การสร้างแบรนด์ และแหล่งท่องเที่ยว สามารถสร้างรายได้ให้ครัวเรือนโดยรอบกว่า 300 ครัวเรือน นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม มีนโยบาย “ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ทันสมัย สะอาด สะดวก โปร่งใส” พร้อมมุ่งสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขัน และมุ่งเซฟอุตสาหกรรมไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่คู่กับชุมชน

เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมในการสร้างรายได้และเป็นการกระจายมูลค่าเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะ “เกษตรอุตสาหกรรม” ซึ่งเกษตรกรไทยมีศักยภาพและมีการเพาะปลูกในทุกภูมิภาค โดยจะมุ่งสนับสนุนทั้งพืชเศรษฐกิจเดิม และพืชเศรษฐกิจใหม่ที่เป็นโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โกโก้ ที่สามารถสร้างมูลค่าตั้งแต่ผลสด เมล็ดแห้ง และการแปรรูปเป็นสินค้าสร้างสรรค์ อีกทั้งยังพบว่าตั้งแต่โกโก้เริ่มได้รับความนิยมในไทย ยังเป็นแรงจูงใจในหลายด้าน เช่น โมเดลธุรกิจคาเฟ่ ท่องเที่ยว คนรุ่นใหม่ที่ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการเกษตร พร้อมนี้รมว.อุตสาหกรรมได้เวิร์คช็อปการผลิตช็อคโกแลตจากโกๆอีกด้วย
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม (DIPROM)

ได้กำหนดให้จังหวัดน่านเป็นพื้นที่ต้นแบบการปลูกโกโก้ทั่วประเทศภายใต้แนวคิด “น่านโมเดล” โดยมุ่งหวังสร้างความนิยมการปลูกพันธุ์โกโก้น่าน 133 ที่เป็นสินค้า GI โดยการเพิ่มจำนวนพื้นที่เพาะปลูกและจำนวนผู้ประกอบการ สร้างต้นแบบธุรกิจ หรือดีพร้อมฮีโร่ขึ้น โดยมีผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ คือโกโก้วัลเลย์ (Cocoa Valley) ต้นแบบธุรกิจโกโก้ครบวงจรของน่านที่มีศักยภาพตั้งแต่การปลูก แปรรูปจนถึงการสร้างแบรนด์ที่แข็งแกร่ง จากการเข้าร่วมโครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบอัจฉริยะ สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสที่พร้อมเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลก โดยทุกวันนี้โกโก้วัลเลย์ ถือเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของจังหวัดน่าน

สำหรับผู้ที่ชื่นชอบโกโก้และช็อกโกแลต และขณะเดียวกันธุรกิจนี้ยังได้ส่งต่อความรู้การปลูกโกโก้ให้กับเกษตรกรในชุมชน สร้างรายได้ และผลกระทบเชิงบวกให้กับชุมชนโดยรอบมากกว่า 300 ชุมชน เช่น กลุ่มขายผลสดโกโก้ กลุ่มชนเผ่า กลุ่มย้อมผ้า ทำให้คนในท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังมีการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกโกโก้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว อาทิ โรงแรม ร้านอาหาร และสปา เป็นต้น อีกทั้งยังสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นอัตลักษณ์ได้สอดรับกับความต้องการตลาด เช่น เครื่องสำอาง เครื่องดื่มสำเร็จรูป คราฟท์ช็อกโกแลต/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน