วันที่ 17 ตุลาคม 2567 ที่ ห้องประชุมเจ้าฟ้าอัตรวรปัญโญ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดน่าน จังหวัดน่าน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน มอบหมายให้ นายพิพัฒน์ สัสดีแพง ประชาสัมพันธ์จังหวัดน่าน เป็นประธานในการแถลงข่าวประจำเดือนตุลาคม 2567 ต่อสื่อมวลชนทุกแขนงเพื่อสื่อสารและประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานตามนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดน่านในแต่ละเดือน พร้อมนำเสนอผลการขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการให้ความช่วยเหลือเยี่ยวยาผู้ประสบอุทกภัยด้านนางภัทรภร ชัยวัฒนกุล วัฒนธรรมจังหวัดน่าน ได้นำเสนอการจัดการประกวดเรือสวยงาม การประกวดเรือแข่งจำลอง ในงานประเพณีแข่งเรือจังหวัดน่าน 26 – 27 ตุลาคม 2567 หลักเกณฑ์การตัดสินเรือสวยงาม ประจำปี 2567คุณสมบัติเรือที่จะส่งเข้าร่วมประกวดเรือประเภทสวยงาม
ต้องเป็นเรือแข่งเมืองน่าน ที่มีองค์ประกอบตามประกาศของสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน การตัดสินเรือแข่งจำลองเมืองน่าน ประจำปี 2567 คุณสมบัติเรือแข่งจำลองเมืองน่านที่จะส่งเข้าร่วมประกวด เรือแข่งจำลองเมืองน่านที่ส่งเข้าประกวดต้องส่งเป็นลำ มีขนาดความยาวไม่เกิน 1.50 เมตร โดยมีองค์ประกอบ เช่น ทำจากไม้ (วัสดุธรรมชาติ) ห้ามใช้ไม้สังเคราะห์ เรือแข่งจำลองเมืองน่าน ต้องแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของเรือแข่งเมืองน่าน มีหัวเรือ หางเรือ แกะสลักลวดลายให้มีความประณีตงดงาม มีองค์ประกอบครบตามแบบเรือน่าน เป็นต้น และกิจกรรมตักบาตรเติมบุญ หน้าคุ้มหลวงนครน่าน ทุกเช้าวันศุกร์ โดยจะเริ่มกิจกรรม ครั้งที่ 1 ในวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม
และวันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม 2567 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดน่าน นักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติได้ร่วมทำบุญตักบาตร เพื่อการสืบทอดพระพุทธศาสนา การอนุรักษ์สืบสานวิถีชีวิต ชาวน่านในอดีต ที่จะทำบุญตักบาตรหน้าบริเวณคุ้มหลวงนครน่านแห่งนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ใจกลางเมืองเก่าน่าน พื้นที่ประวัติศาสตร์หน้าคุ้มเจ้าหลวงเมืองน่านเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นจุดเด่นเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจังหวัดน่าน กิจกรรม ทำบุญตักบาตร เติมบุญ หน้าคุ้มหลวงนครน่าน ในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่ทางจังหวัดได้กำหนดจัดขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่เมืองเก่าน่าน ที่จะขับเคลื่อนเมืองเเก่าน่าน สู่เมืองมรดกโลก ควบคู่กับ สปป.ลาว จัดโดย สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน
ด้านนางศุภรดา กานดิศยยากุล ผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน กล่าวถึง จังหวัดน่าน "เมืองเก่าที่มีชีวิต" คว้าเหรียญทองแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืนโลก Green Destinations Award 2024 เหรียญทองแรกของอาเซียน และเป็นประเทศที่ 3 ของเอเชีย. พร้อมทั้งเร็วๆนี้ทาง อพท.จัดกิจกรรมเชิญชวนชาวน่าน มาชิม มาช๊อป เชื่อมโยงกับเหล่า CREATORS อาหาร ผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมหลากหลายไอเดียของเมืองน่าน NAN CONNECT : ป๊ะกั๋น ปั้นเมือง ในวันเสาร์ - อาทิตย์ 26 - 27 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 - 18.00 น ณ ลานต่อสุข (ข้างเฮือนฮังต่อ)
นายแพทย์ภุชงค์ ชื่นชม นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน กล่าวถึง สถานการณ์โรคสเตรปโตคอกคัส ซูอิส จ.น่าน หรือสถานการณ์โรคไข้หูดับในพื้นที่จังหวัดน่าน สถานการณโรคสเตรปโตคอกคัส ซูอิส จ.น่าน ปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 16 ตุลาคม 2567 สสจ.น่าน ได้รับรายงานผู้ป่วยโรคนี้ จํานวน ทั้งสิ้น 8 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 1.67 ต่อประชากรแสนคน มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย (อ.ภูเพียง) ทั้งนี้สาเหตุการเกิดโรค การรับประทานลาบหมูดิบ ลาบเนื้อดิบ(ควาย) และรับประทานเนื้อหมูสุกๆดิบๆ ผลการสอบสวนโรคผู้ป่วยสเตรปโตคอกคัส ซูอิส จ.น่าน ปี 2567 (ผู้ป่วยเสียชีวิต) ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 65 ปี มีโรคประจําตัวคือโรคหัวใจ และความดันโลหิตสูง อาชีพรับจ้าง (ช่างทาสี) บ้านหัวเวียงเหนือ ตําบลฝายแก้ว อําเภอภูเพียง จังหวัดน่าน
คําแนะนำสําหรับประชาชนทั่วไปหลีกเลี่ยงการบริโภคเนื้อหมูดิบ หรือสุก ๆ ดิบ ๆ หมูที่ป่วยหรือตายจากโรค การปรุงอาหาร ควรนําเนื้อสุกรมาปรุงสุกเท่านั้นไม่ควรบริโภคเนื้อสุกร เลือด และอวัยวะภายในที่ดิบๆ หรือปรุงสุกๆ ดิบๆ เช่น ลาบ หลู้ เป็นต้น เลือกบริโภคเนื้อหมูที่มาจากแหล่งผลิตที่ได้มาตรฐาน หมูที่ผ่านการตรวจสอบจากกรมปศุสัตว์ปลอดจากเชื้อโรคไม่ใช้เขียงหมูดิบในการหั่นอาหารอื่นที่จะรับประทานโดยไม่ปรุงสุกเพิ่ม เช่น ผักสด ผลไม้สด หรืออาหารอื่นที่สุกแล้ว เพราะจะทําให้มีการปนเปื้อนเชื้อโรค การเลือกซื้อเนื้อสุกรเพื่อบริโภคควรเป็นเนื้อสุกรที่สด ไม่มีสีแดงคลํ้าหรือมีเลือดคั่งมากๆหรือเนื้อแดงมีเลือดปนผิดปกติ โดยล้างมือก่อนและหลังสัมผัสเนื้อหรืออวัยวะของสุกรที่จําหน่าย โดยเฉพาะหากมีบาดแผลบริเวณที่สัมผัส
นอกจากนี้ทางนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่านกล่าวเชิญชวนชาวน่าน ร่วมกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่นป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันที่2 พฤศจิกายน 2567ณ หนองน้ำครก ตำบลลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่านรีบสมัครก่อน วันที่ 25 ตุลาคม 2567 โดยสมัครฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย
ด้านนายวรวิทย์ อินต๊ะใจ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดน่าน กล่าวถึง เรื่องเงินเยียวยาช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย 9,000 บาท ทั้งนี้ได้มีการสรุปข้อมูลผู้ประสบภัยจังหวัดน่านยื่นขอรับความช่วยเหลือตามมติ ครม. ข้อมูล ณ 16 ต.ค.67 มีผู้ประสบภัยยื่นคำขอ ทั้งหมด 17,708 หลัง ตรวจเอกสารครบถ้วน 11,517 หลัง อยู่ระหว่างตรวจ 5,715 หลัง รอดำเนินการ 156 หลัง ในรอบที่ 1 อำเภอที่ไม่มีผู้อื่นคำขอรับการช่วยเหลือ ได้แก่ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ อำเภอนาหมื่น อำเภอบ่อเกลือ อำเภอแม่จริม และอ๋าเภอสันติสุข
ด้านผู้แทนพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดน่าน กล่าวถึงประเด็นความคืบหน้าการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางจากอุทกภัยที่ผ่านมา พร้อมแจ้งช่องทางรับ (เอกสารหลักฐานประกอบ) เบื้องต้นช่วยเหลือตามหลักเกณฑ์แล้ว จำนวน 188 ราย
ด้านนายสายัณห์ ไชยยศ ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาน่าน กล่าวถึงคาดการณ์สภาพภูมิอากาศการเข้าสู่ฤดูหนาว คาดหมายลักษณะอากาศประเทศไทยตอนบนและจังหวัดน่าน แต่ละช่วงในฤดูหนาว ช่วงปลายสัปดาห์ที่3ของเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน จะมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาว บางแห่งในบางวันทางตอนบนของภาค และมีหมอกในตอนเข้า โดยจะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของ พื้นที่ และอาจมีลมกระโชกแรงบางแห่งในบางวัน สำหรับช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม อากาศจะหนาวเย็นมากขึ้น โดยมีอากาศหนาวเย็น เกือบทั่วไป และมีอาศหนาวจัดโดยเฉพาะบริเวณตอนของภาค
ด้านนายโยธิน ทับทิมทอง ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานน่าน รายงานสถานการณ์การท่องเที่ยวน่าน หลังช่วงฟื้นฟู และการเตรียมพร้อมช่วงไฮซีชัน ประมาณการสถานการณ์ช่วงวันหยุดยาววันที่ 12 - 14 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา อัตราการพักเฉลี่ย 80% ผู้เยี่ยมเยือนประมาณ 23,000 คน รายได้ประมาณ 40.57 ล้านบาท ประมาณการจำนวนผู้เยี่ยมเยือนในปี 2567 แนวโน้มการเติบโตคงที่ประมาณการ : 1,589,295 (คน-ครั้ง) ประมาณการรายได้จากการท่องเที่ยวในปี 2567 แนวโน้มการเติบโตคงที่ ประมาณการ : 4,621.58 ล้านบาท
โอกาสด้านการท่องเที่ยวจังหวัดน่านอยู่ในกระแสหลักของการท่องเที่ยวเป็นจังหวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วง High Season นี้น่านมีความพร้อมในการฟื้นตัวของสถานที่ท่องเที่ยว ที่พักและเส้นทางเข้าถึงสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในช่วง High Season นี้ในช่วง High Season มีการเพิ่มเที่ยวบินทั้งขาเข้าและขาออกเป็นจำนวน 10 เที่ยวบิน/วัน
มาตรการ 'แอ่วเหนือคนละครึ่ง'เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวหลังภาคเหนือเผชิญน้ำท่วมหนัก ขณะนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) อยู่ระหว่างรวบรวมสินค้าและแพ็กเกจท่องเที่ยวต่างๆ ลงบนแอปพลิเคชันเบส (Application Base) ของ ททท. เพื่อให้โรงแรม
ที่พัก และร้านค้าต่างๆ สามารถเข้าร่วมโครงการแอ่วเหนือคนละครึ่งได้โดยประชาชนที่สนใจสามารถสแกนคิวอาร์โค้ดผ่านแอปพลิเคชันเบสเพื่อรับสิทธิได้เลย ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการในวันที่ 1 พ.ย. 2567 ซึ่งถือว่าเป็นโครงการกระตุ้นท่องเที่ยวภาคเหนือหลังน้ำลด โดยรัฐบาลจะช่วยสนับสนุนด้วยการจ่ายค่าสินค้าท่องเที่ยว 400 บาท/คน/ทริป ส่วนประชาชนที่เข้าร่วมโครงการจ่ายอีก 400 บาท/คน/ทริป หากใช้จ่ายมากกว่านั้น ประชาชนจะต้องเป็นผู้จ่ายเอง/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน/
ทีมข่าวสมาคม รายงาน