วันที่ (7 พ.ย.67) ที่บริเวณ สนามกีฬาโรงเรียนบ้านโคกกระแซขี้เหล็กน้อย ต.ถ้ำเจริญ อ.โซ่พิสัย จ.บึงกาฬ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบึงกาฬ จัดพิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยมี นายจุมพฏ วรรณฉัตรศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานมอบ พร้อมด้วย นายวินัย โตเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นางอรอนงค์ โตเจริญ รองนายกเหล่ากาชาดจังหวัดบึงกาฬ นายเฉลิมพล บรรเทา ประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ นายสัตวแพทย์ ธีร์ พูดเพราะ ปศุสัตว์จังหวัดบึงกาฬ
นางสาววลีรัตน์ นามปัญญา เกษตรและสหกรณ์จังหวัดบึงกาฬ นางสุนิสา เอมสมบุญ ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติและยุติธธรรรมจังหวัดบึงกาพ นายพงษ์เทพ จันทร์ชิต ประมงจังหวัดบึงกาฬ นางจีรสุดา ศรีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์บึงกาฬนางสาวสงกรานต์ ตระนนท์ ปฏิรูปที่ดินจังหวัดบึงกาฬ พ.จ.อ.โสภณ สิทธิจันทร์ นายอำเภอโซ่พิสัย หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนทั่วไป ร่วมงานพิธี
นายสัตวแพทย์ ธีร์ พูดเพราะ ปศุสัตว์จังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งกรมปศุสัตว์รับสนองพระราชดำริดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2522 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร จากการดำเนินงานที่ผ่านมา
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบึงกาฬ มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ เกษตรกรที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ จำนวน 7,200 ราย แม่สัตว์ในโครงการ จำนวน 721 ตัว ในปี 2567 มอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือให้แก่เกษตรกรจำนวน 350 ราย แม่สัตว์จำนวน 358 ตัว ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการดำเนินงานประกอบกับเกิดประโยชน์ เช่น การใช้มูลสัตว์เป็นปุ๋ยในไร่นา การทำแก๊สชีวภาพ การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น เป็นต้น
นายจุมพฏ วรรณฉัตรศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า โครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำริ เป็นโครงการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ให้มีโค-กระบือไว้ใช้แรงงาน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้รับสนองพระราชดำริ ดำเนินการตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2522 เป็นต้นมา จากการดำเนินการที่ผ่านมา ได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้วกว่า 376,858 ราย ถือได้ว่าก่อเกิดประโยชน์เป็นคุณปการแก่เกษตรกรเป็นอย่างยิ่ง และเป็นที่น่ายินดี ที่มีการบูรณาการร่วมกันในพื้นที่อย่างเป็นระบบ สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร และให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการบริหารโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และยังมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร
การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีในท้องถิ่น และประการสำคัญยังได้น้อมนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งเป็นการสนอง แนวพระราชดำริ ด้านการส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกร สามารถพึ่งพาตนเองได้ และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสืบสาน รักษา ต่อยอด โครงการพระราชดำริ ทุกโครงการ รวมถึงโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ ฉะนั้น จึงขอให้เกษตรกรที่ได้รับมอบโค-กระบือในครั้งนี้ ดูแล เลี้ยงดู โค-กระบือ เป็นอย่างดี เสมือนเป็นสมาชิกในครัวเรือน และปฏิบัติตามระเบียบหลักเกณฑ์ ของโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ อย่างเคร่งครัดเพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคล แก่ตนเองและครอบครัว ขอขอบคุณทุกภาคส่วน โดยเฉพาะโรงเรียนบ้านโคกกระแชขี้เหล็กน้อย องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำเจริญ และกลุ่มเกษตรกรตำบลถ้ำเจริญ ที่ได้ช่วยกันจัดงาน ในครั้งนี้ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสมพระเกียรติ
สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการมอบกรรมสิทธิ์โค-กระบือ ในวันนี้ มีจำนวน 358 ราย เป็นเกษตรกรในพื้นที่ทุกอำเภอของจังหวัดบึงกาฬ ซึ่งมีคุณสมบัติถูกต้อง ให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร ภายใต้ระเบียบและหลักเกณฑ์ พร้อมทั้งมอบแร่ธาตุและเวชภัณฑ์ ให้แก่กลุ่มเกษตรกร ด้านนายอุดม กองสุมาตร อายุ 57 ปี เกษตรกรในตำบลถ้ำเจริญ หนึ่งในเกษตรกรที่ได้รับโครงการธนาคารโค-กระบือ กล่าวว่า ภูมิใจที่ได้จากโครงการนี้ เพราะว่าเคยทำหลายปีแต่ไม่เคยได้เลย เพิ่งมาได้ปี 67 ดีใจมากที่ทางปศุสัตว์จังหวัด และปศุสัตว์อำเภอ ที่มองความสำคัญของเกษตรกรที่มีความจำเป็นจะต้องใช้การเลี้ยงลูกวัว และส่งคืนกรมปศุสัตว์ตัวแรก เลี้ยงไป 5 ปี เราเลี้ยงวัวผลิตลูกออกมาและมูลสัตว์ใช้ทำเป็นปุ๋ยได้ก็จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อปุ๋ยเคมีจากร้านค้า เป็นผลดีกับเกษตรกรเพราะปุ๋ยมูลสัตว์รักษาดินได้ดีกว่าปุ๋ยเคมี
ซึ่งโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ ถือได้ว่าเป็นโครงการที่สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนของเกษตรกร โดยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาปรับใช้ในการดำเนินงาน สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการ เพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง ตลอดจนมีการต่อยอดการใช้ประโยชน์ ขณะที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดบึงกาฬ จะดำเนินโครงการดังกล่าวต่อเนื่องให้กับเกษตรกรที่ยังขาดโอกาส และพร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการฯ ในครั้งต่อไป
นายณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล//บึงกาฬ 0961464326