เรื่องทั้งหมดโดย admin

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / “ธี่หยด3” ขายดีตั้งแต่ยังไม่เปิดกล้อง!Sold Out วันแรกในงาน “EFM”

แชร์เนื้อหานี้

ความเคลื่อนไหวของภาพยนตร์ “ธี่หยด 3” ผลงานการสร้างระหว่าง ช่อง 3 และ M STUDIO จากงาน European Film Market (EFM) 2025 ประเทศเยอรมันนี โดยคุณสุรเชษฐ์ อัศวเรืองอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร M STUDIO ได้กล่าวว่า “ทาง M STUDIO ได้ทำการปิดการขายลิขสิทธิ์ภาพยตร์ ‘ธี่หยด3’ ให้กับทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นอีกหนึ่งในภาพยนตร์ไทยที่ได้รับความสนใจตั้งแต่ภาพยนต์ยังไม่เปิดกล้อง และถือว่าเป็น

อีกก้าวสำคัญในการนำ Horror Movie Franchises ของไทยไปสู่ตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ภาพยนตร์ไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียนซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 670 ล้านคน อีกทั้งยังมีแฟนคลับในทุกประเทศที่ติตตามผลงานภาพยนตร์ไทยอย่างสม่ำเสมอ M STUDIO มุ่งมั่นที่จะสร้างสรรค์ภาพยนตร์ไทยให้มีคุณภาพระดับสากลและสามารถนำพา Soft Power ของไทยให้ประสบความสำเร็จในตลาดโลกอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน”

นอกจากเรื่อง “ธี่หยด3” แล้ว M STUDIO ยังมีภาพยนตร์เรื่อง “สุสานคนเป็น” ที่นำแสดงโดย นุ่น วรนุช ภิรมย์ภักดี และ “มือปืน” ผลงานการกำกับภาพยนตร์ของ พุฒิ พุฒิพงษ์ นาคทอง รวมทั้งอีกหลายโปรเจกต์ ที่ทาง M STUDIO นำไปขายในงานนี้ซึ่งได้กระแสตอบรับเป็นอย่างดีเช่นกัน “ธี่หยด3” นำแสดงโดย ณเดชน์ คูกิมิยะ ซึ่งเรื่องราวในภาคนี้ ยักษ์ ต้องหาทางไปช่วย ยี่ น้องสาวคนเล็กสุดที่ถูกลักพาตัวไป กำกับภาพยนตร์โดย แป๊ป ณฤทธิ์ ยุวบูรณ์

ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้มาตั้งแต่แรก นอกจาก “ธี่หยด” และ “ธี่หยด2” แล้วยังเป็นผู้อำนวยการสร้างของ ภาพยนตร์ “ทองสุก 13” ละคร เพลิงนาคา, พิภพหิมพานต์, ภูติแม่น้ำโขง และเพิ่งลาจอช่อง 3 ไปล่าสุดกับ นางนาคพระโขนง โดยภาพยนตร์ “ธี่หยด3” วางกำหนดฉายไว้วันที่ 8 ตุลาคมปีนี้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ประชาสัมพันธ์
ปฐมทัศน์ โป้ง (พีอาร์ เอ็มสตูดิโอ) 089-826-6363
รสรินทร์ กวาง 084-294-9924

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / รมว.ทส. เปิด “บ้านเขียว” คืนชีวิตอาคาร 120 ปี สู่ศูนย์เรียนรู้การป่าไม้จ.แพร่ / @สถานีตำรวจภูธรปาย อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน

แชร์เนื้อหานี้

💦รัฐมนตรีว่าการกระทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดศูนย์เรียนรู้การป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน จังหวัดแพร่ “บ้านเขียว” แหล่งศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์การป่าไม้

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดศูนย์เรียนรู้การป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน จังหวัดแพร่ “บ้านเขียว” อาคารประวัติศาสตร์อายุ 120 ปี ภายใต้ชื่องาน “ฟื้นบ้านเขียว สู่อ้อมกอดชาวแพร่” โดยมีนายคุณากร คชหิรัญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมคณะผู้บริหาร หัวหน้าหน่วยงานราชการ และประชาชนร่วมงาน ภายในงานมีการจัดกิจกรรมสำรวจธรรมชาติและเรียนรู้ประวัติศาสตร์การป่าไม้ไทย

สำรวจพรรณไม้หายาก เรียนรู้เรื่องราวป่าไม้ล้านนา และการแสดงดนตรีในสวน นอกจากนี้ยังมี “กาดฮิมยม” ตลาดนัดวินเทจริมน้ำยม ที่รวบรวมงานศิลปะ หัตถกรรม และผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น รวมถึงพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่หน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนการบูรณะ

สำหรับ “บ้านเขียว” เป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเป็นที่ทำการป่าไม้ภาคแพร่ของกรมป่าไม้สยาม โดดเด่น

ด้วยสถาปัตยกรรมแบบโคโลเนียลผสมภูมิปัญญาท้องถิ่น ตัวอาคารเคยผ่านการใช้งานและพัฒนาในหลายยุค ก่อนจะถูกรื้อถอนในปี 2563 และได้รับการบูรณะอย่างพิถีพิถันโดยกรมศิลปากรและสมาคมสถาปนิกสยามฯ

เป็นเวลากว่า 2 ปี เพื่อคงเอกลักษณ์ดั้งเดิมให้มากที่สุด และเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคม 2567 ต่อมาภาคประชาชนได้เสนอให้อาคารหลังนี้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์การป่าไม้ ให้แก่นักเรียน นักศึกษา

ตลอดจนประชาชนทั่วไป สร้างจิตสำนึกร่วมกันเป็นพลังในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ภายใต้ชื่อศูนย์เรียนรู้การป่าไม้ สวนรุกขชาติเชตวัน จังหวัดแพร่…สมจิตรแสงบันลังค์ ทีมข่าวบกรายงาน

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13.30 น.นายเอกวิทย์ มีเพียร ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน , พล.ต.ต.ทรงกริช ออนตะไคร้ ผบก.ภ.จว.แม่ฮ่องสอน , นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา รองผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน , นายผะอบ บินสะอาด ปลัดจังหวัดแม่ฮ่องสอน , นายณพล พาหุมันโต นายอำเภอปาย , พ.ต.อ.สำเร็จ สามสีทอง ผกก.สภ.ปาย , พ.ต.ท.วีรภัทร คำลาพิชรอง.ผกก.สภ.ปาย

 ร่วมประชุมติดตามผลการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวในพื้นที่อำเภอปาย เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ ณ ห้องประชุมอำเภอปาย ชั้น 2 หัวข้อที่ประชุมมีดังนี้ 
 1. เรื่องการประกอบอาชีพของชาวต่างชาติ เช่น เปิดร้านสัก เล่นดนตรี ขายของในตลาดถนนคนเดิน
 2. เรื่องการสันทนาการ เช่น ร้านจำหน่ายกัญชา ร้านบริการต่างๆ 
 3. เรื่องการกวดขันวินัยจราจรของชาวต่างชาติ
 4. เรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมของชาวต่างชาติหลังกิจกรรมล่องห่วงยาง
 5. เรื่องสถานประกอบการและสถานบริการต่างๆ
หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมได้มีประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนจากสื่อโซเชียลที่มีการเผยเเพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลที่เกินจริง มารอยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน  ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอนร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้รับหนังสือร้องเรียนจากกลุ่มตัวเเทนประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสื่อโซเซียลเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวชาวอิสราเอลฯ โดยกลุ่มตัวเเทนประชาชนขอให้หน่วยงานราชการในจังหวัดแม่ฮ่องสอนดำเนินการตรวจสอบ และดำเนินคดีตามกฎหมายกับกลุ่มบุคคลที่นำข้อมูลเป็นเท็จลงสื่อโซเชียลสร้างความเสียหายให้กับอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน .

สมจิตรแสงบันลังค์รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิว์ / ทส. เร่งแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ ส่งเสริมอาชีพ ปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวจ.น่าน ป้องกันอุทกภัยดินโคลนถล่ม

แชร์เนื้อหานี้

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 14.00 น. ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปยังวิทยาลัยสงฆ์น่านนคร อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เป็นประธานในพิธีมอบสมุดประจำตัวผู้ได้รับการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 เพื่อช่วยเหลือให้ประชาชนชาวจังหวัดน่านได้อยู่อาศัยทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้บริหารกรมป่าไม้ เข้าร่วมงาน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นปัญหาของพี่น้องประชาชนพร้อมทั้งได้มอบหมายให้หน่วยงานเร่งดำเนินการโดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนให้เร็วที่สุด ตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติทั่วประเทศเพื่อสร้างความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินให้กับประชาชน ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต และ

สนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมวันนี้กรมป่าไม้ได้อนุมัติพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 และ 2 ทั้ง 15 อำเภอ ในจังหวัดน่าน เนื้อที่ 968,344 ไร่ เพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน จำนวน 46,558 ราย ให้ได้อยู่อาศัยทำกินอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีตัวแทนมารับมอบสมุดประจำตัว จำนวน 1,000 ราย นอกจากพี่น้องประชาชนจะได้อยู่อาศัยทำกินได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้วหน่วยงานต่างๆ ก็สามารถเข้าไปพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้ พี่น้องประชาชนจะได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า ในอดีตที่ผ่านมาจังหวัดน่านมีพื้นที่ป่าลดลงทุกปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 รัฐบาลได้มีคำสั่งเรื่องการบริหารพื้นที่รูปแบบพิเศษเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในพื้นที่จังหวัดน่าน หรือ โครงการน่านแซนด์บอกซ์

ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพื้นที่จังหวัดน่าน โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นประธานภาครัฐ และนายบัณฑูร ล่ำซำ เป็นประธานภาคเอกชน คณะกรรมการน่านแซนด์บอกซ์ได้สนับสนุนการสำรวจแปลงที่ดินของราษฎรในจังหวัดน่านที่ทำกินในเขตป่าทั้งจังหวัด

นอกจากนี้คณะกรรมการน่านแซนบอกซ์โดยนายบัณฑูร ล่ำซำ ยังได้สนับสนุนจัดทำโปรแกรมพิมพ์สมุดประจำตัวมอบให้กรมป่าไม้เพื่อใช้จัดทำสมุดประจำตัวให้แก่ราษฎรทั้งประเทศ โดยจังหวัดน่านมีราษฎรถือครองทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 150,340 ราย เนื้อที่ 1,559,320 ไร่ และกรมป่าไม้ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเร่งรัดจัดทำสมุดประจำตัวมอบให้แก่ราษฎรทุกราย นอกจากนี้กรมป่าไม้ยังได้จัดทำระบบ “สมุดประจำตัวดิจิทัล” ในระหว่างรอเล่มสมุดประจำตัว ราษฎรสามารถเข้าไปตรวจสอบรายชื่อและแสดงสมุดประจำตัวผ่านโทรศัพท์มือถือได้

นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ ยังกล่าวอีกว่า นอกจากมอบสมุดประจำตัวให้ราษฎรในจังหวัดน่านได้อยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ยังส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้ โดยในพื้นที่จังหวัดน่านดังกล่าวกรมป่าไม้ได้อนุมัติโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคให้มีการปรับปรุงถนน 28 โครงการ พัฒนาระบบไฟฟ้า 4 โครงการ และพัฒนาแหล่งน้ำ 11 โครงการ

เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้จังหวัดน่านยังได้เข้าไปสนับสนุนส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้แก่ราษฎร ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน โครงการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามพระราชปณิธาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายใต้แนวทาง “ทำให้ ทำร่วม ทำเอง” “ทำให้” คือการทำแปลงสาธิตตัวอย่างให้ราษฎรได้ศึกษาเรียนรู้ “ทำร่วม” คือมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับราษฎร และ “ทำเอง” คือการขยายผลให้ราษฎรสามารถทำได้ด้วยตนเอง

“จังหวัดน่านถือเป็นแบบอย่างการทำงานแบบบูรณาการของทุกภาคส่วนเพื่อแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัยทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีการส่งเสริมพัฒนาอาชีพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งจะช่วยป้องกันอุทกภัยดินโคลนถล่มได้ในอนาคต ราษฎรมีอาชีพที่มั่นคงสามารถอยู่ร่วมกันกับป่าได้อย่างยั่งยืน” นายสุรชัยกล่าว และในวันเดียวกันนี้ที่สนามบินน่านนคร นายสว่างเปรมประสิทธิ์ นายก อบต.สะเนียน นายบุญยงค์ สดสอาด

นายเรืองเดช จอมเมือง นางจรวยพร อินสาคำ อดีตผู้สมัคร ส.ส.น่านพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งสามเขต นายรัฐภูมิ ขันสลี ผู้แทนเกษตร 17 จังหวัดภาคเหนือ นายกอบต.ภูฟ้าและคณะจากอำเภอปัวได้ให้การต้อนรับท่านรัฐมนตรีและมอบกระเช้าเพื่อเป็นการขอบคุณดร.เฉลิม ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

ทอดผ้าป่าสามัคคี 9 วัด ในวันเดียวกันอ.สามโก้ จ.อ่างทอง 9 กพ. 2568 และ แจกทุนการศึกษา โรงพยาบาลตำบล

แชร์เนื้อหานี้

รายการ.วิธีธรรม วิธีไทย ทาง ช่อง5 HD เทปนี้ ออกอากาศ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 06.00-06-30 น. ในงาน.ทำบุญ 9 วัด ในวันเดียวกัน อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง 9 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.30 – 15.30 น.และแจกทุนการศึกษา โรงพยาบาลตำบล โดย.สมาคมชาวอ่างทอง ร่วมกับ ดร.ฉวีวรรณ คำพา เป็นประธาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ผวจ.ศรีสะเกษ แถลงข่าว.จัดงาน “มหกรรมโคเนื้อดีศรีสะเกษ” เพื่อเชื่อมโยงตลาดโคเนื้อ สร้างแบรนด์เนื้อโคคุณภาพสูง และพัฒนาสู่ตลาดพรี่เมี่ยม

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 17.00 – 19.30 น. ณ สวนสาธารณะลาดออดหลอด อนุสรณ์ 238 ปี จังหวัดศรีสะเกษอำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
วันนี้ เวลา 17.00 น. จังหวัดศรีสะเกษ โดย สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับหอการค้าจังหวัด ศรีสะเกษและYECศรีสะเกษ จัดงานแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมโคเนื้อและเนื้อดีศรีสะเกษ” ระหว่างวันที่ 26 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2568 ณ สวนสาธารณะลานออดหลอด อนุสรณ์ 238 ปี จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเมือง ศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ในงานแถลงข่าวจัดการเสวนาพูดคุยในหัวข้อ การเชื่อมโยงตลาดและโอกาสของโคเนื้อ ศรีสะเกษ เป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่จังหวัดศรีสะเกษกำลังเริ่มต้นสร้างแบรนด์เนื้อโคคณภาพสูง และพัฒนาสู่
ตลาดพรี่เมี่ยม ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษมีเกษตรกรผู้เลี้ยงทั้งหมด 139,623 ราย โดยมีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด 41.9%ของเกษตรกรทั้งหมด ซึ่งคิดเป็นโคเนื้อทั้งจังหวัดถึง 511,213 ตัว จากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อทั้งหมด 105,500 ราย

****นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวถึงศักยภาพของศรีสะเกษในอุตสาหกรรม โคเนื้อ ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่เกษตรกรรมขนาดใหญ่ มี เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวนมาก และเริ่มมีการ พัฒนาโคขนเพื่อเข้าสู่ตลาดโคเนื้อคุณภาพสูง ปัจจุบันจังหวัดมึนโยบายผลักดันให้ โคเนื้อเป็นหนึ่งในสินค้าเกษตร มูลค่าสูง เรากำลังพัฒนาเครือข่ายเกษตรตรกร ให้สามารถผลิตโคเนื้อคณภาพสูงตรงตามมาตรฐานฟาร์ม ที่มีระบบ การเลี้ยงสัตว์และการป้องกันโรคที่เหมาะสม และฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง ซึ่งเป็นมาตรฐานฟาร์มด้านปศสัตว์ และการรับรองมาตรฐานอื่นๆ เพื่อให้มั่นใจว่า โคเนื้อศรีสะเกษมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในทุกขั้นตอนของการผลิต และสิ่งที่เราต้องเร่งดำเนินการคือ การสร้างอัตลักษณ์ของเนื้อโคศรีสะเกษให้ชัดเจน เช่น สายพันธุ์ที่ใช้ วิธีการเลี้ยง และมาตรฐานการผลิต เพื่อให้ตลาดรับรู้ว่า “เนื้อโคศรีสะเกษ” มีคุณภาพดี และมีจุดเด่นที่แตกต่างจากที่อื่น”ศรีสะเกษ” มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางโคเนื้อคุณภาพของภาคอีสาน เราสามารถสร้างโคขุนที่มีคณภาพเพื่อเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร และยังมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค หากเราสามารถ สร้างเครือข่ายระหว่างเกษตรกรผู้แปรรูป และผู้ค้าปลึกได้อย่างแข็งแกร่ง เราจะสามามารถสร้างรายได้มหาศาลให้กับชมชน และนี่คือเหตุผลที่เราจัดงาน “มหกรรมโคเนื้อและเนื้อดีศรีสะเกษ 2568” งานนี้ไม่เพียงแต่ เป็นการจัดแสดงสินค้าและผลิตภัณฑ์ แต่เป็นการขยายตลาด เปิดโอกาสให้เกษตรกร ผู้ประกอบการ และนักลงทุน ได้ร่วมกันพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อของศรีสะเกษ

*****นายนัทเวโรจน์ บูชาพัฒน์ปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ
ปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ เรากำลังดำเนินโครงการ “ส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อแบบครบวงจร” ซึ่งมุ่งมัน 3ด้านหลัก ได้แก่

การปรับปรุงสายพันธุ์ – นำโคพันธุ์ดี เช่น วากิวลูกผสม ชาโรเลส์ แองกัส มาปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะ กับสภาพแวดล้อมของศรีสะเกษ แต่มีอัตราการแลกเนื้อที่ดีและมีคุณภาพเนื้อที่ตลาดต้องการ

การพัฒนาระบบการเลี้ยง – ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้อาหารสัตว์ลดต้นทุน และอาหารหยาบคุณภาพดี ที่ช่วยเพิ่มคุณภาพของเนื้อ และลดต้นทุนการผลิต

การสร้างมาตรฐานการผลิต – พัฒนาฟาร์มโคขุนให้ได้มาตรฐานฟาร์มที่มีระบบการเลี้ยงสัตว์และ ป้องกันโรคที่เหมาะสม และฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในตลาดโคเนื้อคุณภาพสูงปัจจุบัน ตลาดโคเนื้อไทยมีการเติบโตสูง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ผู้บริโภคหันมาสนใจ เนื้อโคคุณภาพสูง เช่น โคขุน โคเนื้อพรีเมียม มากขึ้น ขณะเดียวกัน จีน เวียดนาม และประเทศในตะวันออกกลางมีความต้องการ นำเข้าโคเนื้อจำนวนมาก นอกจากนี้ ตลาดเนื้อแปรรูป เช่น เนื้อดรายเอจและเนื้อเกรดพิเศษ ก็กำลังเติบโต สำหรับเกษตรกร ต้องปรับตัวสู่การเลียงโคเนื้อคณภาพสูง ใช้สายพันธ์ที่เหมาะสม มีมาตรฐานการเลียง และให้ ความสำคัญกับการตลาดมากขึ้น

****นายจำนงค์ จังอินทร์ ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ กล่าวถึงการพัฒนาสายพันธ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาด ว่าการเลียงโคแบบเดิมที่เราเคยทำ อาจไม่ตอบโจทย์ตลาดปัจจจุบันแล้ว เพราะผู้บริโภคคต้องการเนื้อที่มี ไขมัน แทรกนุ่ม หอม และคุณภาพสูง ดังนั้น เกษตรกรต้อง พัฒนาโคขุนให้ตรงกับความต้องการของตลาดเช่น การ ใช้โคสายพันธ์ลูกผสมที่ให้เนื้อคุณภาพดี และต้อง เรียนรู้การให้อาหารขุนที่ถูกต้อง เพื่อให้ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี ที่สุด ตอนนี้ตลาดต้องการ เนื้อโคที่มีสักษณะเฉพาะ เช่น ไขมันแทรกดี (Marbling) นุ่ม และมีกลิ่นหอมซึ่ง จะต้องมาจากฟาร์มโคขนที่ได้มาตรฐาน ถ้าเราทำให้เนื้อโคศรีสะเกษ มีเอกลักษณ์ชัดเจนและตรงกับความต้องการของตลาด เราก็สามารถตั้งราคาสูงขึ้นได้ เกษตรกรก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่าเดิม โดยต้องควบคูไป กับการพัฒนามาตรฐานการเลี้ยงและมาตรฐานฟาร์มด้วย

*****นายรัฐวิทย์ อังคสกุลเกียรติประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่าการสร้างตลาดและการเชื่อมโยงเครือข่ายธรกิจ ในการตลาดระดับพรีเมียม จังหวัดศรีสะเกษมีโอกาสมีสูงมาก เพราะปัจจุบัน ผู้บริโภคต้องการเนื้อที่มีคุณภาพสูงและปลอดภัย โดยเฉพาะในกลุ่มร้านอาหาร โรงแรม และชูเปอร์มาร์เก็ตระดับพรีเมียมซึ่งเนื้อของศรีสะเกษสามารถตอบโจทย์ได้ แต่สิ่งที่ต้องพัฒนา เพิ่มเติมคือ สร้างแบรนด์เนื้อโคของศรีสะเกษให้เป็นที่รู้จัก ให้เหมือนกับเนื้อโคขนโพนยางคำ หรือเนื้อวากิว เราควรมีตราสินค้าประจำจังหวัด (Provincial Brand)
เพื่อทำให้โคเนื้อของเรามีจดเด่นที่ชัดเจน สิ่งที่สำคัญ คือ เกษตรกรต้องเรียนรู้เรื่องมาตรฐาน เช่น GFM หรือฟาร์ม ปลอดสารเร่งเนื้อแดง เพื่อเพิ่มมูลค่า และควรมี ช่องทางขายที่ชัดเจน เช่น การทำตลาดออนไลน์ หรือส่งตรงถึง
ผู้บริโภค

*****ด้านนายมรุตพงศ์ รจนา ผู้จัดการ สหกรณ์เครือข่ายโคเนื้อ จำกัด (Max Beef) กล่าวถึงแนวทางในการ รับซื้อโคขุน และสถามการณ์ต้าน โคขุนพรีเมือมของจังหวัดศรีสะเกษในปัจจุบัน”มหกรรมโคเนื้อและเนื้อดีศรีสะเกษ” งานนี้จะเป็นเวทีสำคัญที่เกิดจากความร่วมมือขอของทุกภาคส่วน เพื่อประชาสัมพันธ์เนื้อโคศรีสะเกษ สู่ตลาดพรีเมืยมระดับประเทศ เชื่อมโยงเครือข่ายธุรกิจ ผ่านกิจกรรม Business Matchin ยกระดับคุณภาพ โคเนื้อ ด้วยความรู้จากผู้เชียวชาญและ Workshop รวมถึงสร้างความตื่นตัวในตลาดผู้บริโภค ผ่านกิจกรรม Chef’s Table Fine Dining โดยเซฟปอนด์ มาสเตอร์เชพไทยแลนด์ ที่จะมารังสรรค์เมนูสุดพิเศษจาก เนื้อโคศรีสะเกษ ในพิธีเปิดงานวันที่ 28 กุมภาพันธ์นี้นอกจากนี้ยังมีมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินยอดนิยม เน็ค นฤพล กิจกรรมโชว์ทำอาหาร (Show Cooking) เรียนรู้เทคนิค ปรุงเนื้อระดับพรีเมียม เวิร์กช็อปแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อและเครื่องหนัง

กิจกรรม BusinessMatching & Show Case กิจกรรมที่น่าสนใจอัดแน่นแน่นตลอดทั้ง 3 วัน ซึ่งการจัดงานมหกรรมโคเนื้อและดีเนื้อศรีสะเกษ 2568 เกิดขึ้นจากเราได้เห็นถึงศักยภาพของโคเนื้อศรีสะเกษ ทั้งจากมุมมองของภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกรและผู้ประกอบการ ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าตลาดโคเนื้อยัง มีโอกาสเติบโตสูง และศรีสะเกษเองมีจุดแข็งที่สามารถผลักดันให้เป็น แหล่งผลิตโคเนื้อคุณภาพระดับ พรีเมียมของประเทศได้ สิ่งสำคัญคือ การสร้างมาตรฐาน การทำตลาด และการสร้างแบรนด์โคเนื้อศรีสะเกษ ให้แข็งแกร่งขึ้นจัดโดย จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปศสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมกับหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษและYECศรีสะเกษ สามารถติดตามข่าวสารและกิจกรรมต่าง ๆ ได้ที่ Facebook : มกหรรมโคเนื้อและเนื้อดีศรีสะเกษ

ภาพ/ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์

    สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / นายอำเภอแม่สาย นายกกิ่งกาชาด อ.แม่สาย ได้เป็นประธาน เปิดกิจกรรมโครงการ“อำเภอยิ้ม…เคลื่อนที่”

    แชร์เนื้อหานี้

    //// วันนี้ (19 กุมภาพันธ์ 2568) เวลา 09.00 น. #นายวรายุทธ #ค่อมบุญ“อำเภอยิ้ม…เคลื่อนที่” อำเภอแม่สายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘ ประจำ
    เดือนกุมภาพันธ์พร้อมทั้งร่วมกิจกรรม ดังนี้
    1. ร่วมกับคณะกิ่งกาชาด อ.แม่สาย และชมรมแม่บ้านมหาดไทย
    ออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงพร้อมมอบถุงยังชีพและเงินช่วยเหลือจำนวน
    5 ราย (หมู่ 1 และ หมู่ 5 ตำบลบ้านด้าย อ.แม่สาย)
    มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนโรงเรียนบ้านเทพกาญจนา จำนวน 6 ทุน
    2. ร่วมกับหัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน เปิดให้
    บริการแก่ประชาชน โดยในส่วนของอำเภอแม่สายได้จัดซุ้มเคลื่อนที่ให้บริการ
    ของศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ และบริการประชาสัมพันธ์ และสมัครแอพพลิเคชั่น
    ThaiD
    3. ร่วมกิจกรรมเดินรณรงค์หยุดเผา และลดฝุ่น PM 2.5 ร่วมกับกลุ่มงาน
    ความมั่นคงอำเภอแม่สาย สาธารณสุขอำเภอแม่สาย และหัวหน้าส่วนราชการ…

    สมจิตรแสงบัลลังก์ทีมข่าวภาคเหนือรายงาน

    สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / เทศบาลเวียงสรวย จัดการแพเปียก แม่สรวย หลังเปิดไฟเขียวใช้พื้นที่หน้าเขื่อน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ล่องแพเปียกคลายร้อน

    แชร์เนื้อหานี้

    เทศบาลตำบลเวียงสรวย รับลูกชลประทานบริหารจัดการแพเปียกแม่สรวย เทศบัญญัติควบคุม หลังเปิดไฟเขียวใช้พื้นที่หน้าเขื่อน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว หนีอูณหภูมิอากาศร้อน ล่องแพเปียกคลายร้อน ในเทศกาลสงกรานต์ ย้ำเตือนผู้ประกอบการเรื่องความสะอาด ควบคุมราคาอาหารเครื่องดื่มด้วยความเป็นธรรมแก่นักท่องเที่ยว ไม่จำหน่ายเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ในพื้นที่ราชการ ผู้นำอีก4หมู่บ้านขอมีส่วนร่วมมติที่ประชุมฉลุย ผลประโยชน์ลงตัว เอกชนโขกราคาค่าเช่าที่แพงลิ่ว ผู้ประกอบการครวญเสียเงินทุกเม็ด สรรพสามิตพื้นที่เชียงรายเล็งจับปรับผู้จำหน่ายเหล้าเบียร์ นายอำเภอแม่สรวยกำชับจัดระเบียบจราจร และจัดการขยะเพื่อหน้าตาอำเภอแม่สรวย

    เมื่อวันที่17ก.พ 2568 เวลา09.00 น.ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลเวียงสรวย อ.แม่สรวย จ.เชียงราย นายปฤษฎางค์ สามัคคีนิชย์ นายอำเภอแม่สรวย ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ประชุมระหว่างผู้บริหารเทศบาลตำบลเวียงสรวย ฝ่ายปกครองตำบลเวียงสรวยและผู้ประกอบการแพเปียก ร้านค้า ร้านอาหาร ในวันดังกล่าวมีนายสมพงษ์ เจาะเสน นายกเทศมนตรีตำบลเวียงสรวย นายสิงขร แสงจันทร์ ปลัดเทศบาลตำบลเวียงสรวย ว่าที่ร้อยตรีสิทธินันท์ รูปวิเชษฐ์ กำนันตำบลเวียงสรวย นายธวัช มะโนธรรม นายช่างไฟฟ้าช.3โครงการส่งน้ำบำรุงรักษาชลประทานแม่ลาว นายนิธิศ ไชยยา ผู้ใหญบ้านหมู่ที่8 บ้านตีนดอย ตำบลเวียงสรวย รวมทั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่14 ต.เวียงสรวย ที่ทำหนังสือขออนุญาตขอใช้พื้นที่บริเวณหน้าเขื่อนแม่สรวย สำหรับประกอบการล่องแพเปียก เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนประจำปี 2568 ซึ่งจะมีพิธีเปิดแพเปียกอย่างเป็นทางการในวันที่22 ก.พ.2568 สิ้นสุดวันที่15 พ.ค 2568

    สำหรับการประชุมรับฟังและชี้แจงเกี่ยวกับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลประทานแม่ลาว ได้อนุญาตและไม่ขัดข้องในการขอใช้พื้นที่ทางผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่8และหมู่ที่13 ได้ทำหนังสือขอใช้พื้นที่ดังกล่าว โดยผ่านทางเทศบาลเวียงสรวยเป็นผู้กำกับดูแลในการขอใช้พื้นที่ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้เทศบัญญัติเทศบาลเวียงสรวย ในที่ประชุมตัวแทนผู้ประกอบการแพเปียกได้เรียกร้องการจัดระเบียบการจราจรและเรื่องการจัดเก็บขยะปัญหาเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาทความปลอดภัยเกี่ยวกับนักท่องเที่ยว โดยนายสิงขร ปลัดเทศบาลตำบลเวียงสรวย ได้ชี้แจงเกี่ยวกับระเบียบเงื่อนไขการใช้พื้นที่สองข้างลำน้ำสรวยใต้สะพาน ทำซุ้มนั่งรับประทานอาหารบริการนักท่องเที่ยว โดยทางเทศบาลจะดำเนินการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในราคาเมตรละ 50บาท สำหรับร้านค้าที่และลานจอดรถ พื้นที่เอกชนเทศบาลฯจะเก็บค่าธรรมเนียมในอัตราทางเทศบาลฯกำหนด ในส่วนของความสะอาดและการจัดเก็บขยะ ที่ประชุมโดยนายนิธิศ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่8 ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าชุมชนจะบริหารการจัดเก็บกันเอง ส่วนนายสิงขร ปลัดเทศบาลฯได้ขอให้ผู้ประกอบการดำเนินกิจการตามกฎระเบียบที่ทางชุมชนกำหนดขึ้น

    จำนวน14ข้อ และเน้นย้ำถึงราคาอาหารต้องอยู่ในเกณฑ์ราคาที่เหมาะสมและต้องติดราคาให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงแผนการจัดชุดชรบ.และอปพร.อำนวยสะดวกด้านการจราจรในช่วงเทศกาลปีใหม่ หลังจากกิจการล่องแพเปียกได้เริ่มตั้งแต่วันที่15ก.พ.-15พ.ค 2568 โดยช่วงแรกคนยังไม่หนาแน่นก็จะยังไม่จัดชุดอำนวยความสะดวกอำนวยความสะดวกเนื่องจากกำลังเจ้าหน้าที่อาสาสมัครอยู่ในช่วงประกอบอาชีพอาขีพเลี้ยงครอบครัวเป็นปกติ แต่จะไปจัดชุดในช่วงเทศกาลในช่วงปลายเดือนมีนาคม -เมษายน ช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะมีนักท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากหลั่งไหลมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก ส่วนทางด้านว่าที่ร้อยตรีสิทธินันท์ กำนันตำบลเวียงสรวยได้พูดถึงเรื่องการรักษาดูแลด้านความปลอดภัยเน้นย้ำถึงการบริการที่ยิ้มแย้มแจ่มใสแก่นักท่องเที่ยวโดยผู้ประกอบการต้องใช้วาจาสุภาพด้านการบริการ ย้ำผู้ประกอบการต้องดูแลคนงานลูกน้องแพเปียกร้านค้าร้านอาหาร ต้องถ้อยทีถ้อยอาศัย ไม่ทะเลาะวิวาท ให้เสียภาพพจน์ ในเรื่องของการประสานไปยังปกครองตำบลต่างๆให้แจ้งยังลูกบ้านที่เป็นวัยรุ่นที่มาเที่ยวไม่ให้ก่อเหตุและสร้างความความวุ่นวายได้ทั้งนี้ยังย้ำถึงการกวดขันการพกพาอาวุธ การขับขี่รถเสียงดัง ตลอดถึงการเสพน้ำกระท่อมของวัยรุ่น

    ด้านนายปฤษฎางค์ นายอำเภอแม่สรวยได้กำชับและเสนอแนะฝากกิจการการท่องเที่ยวแพเปียก คือเรื่องความสะอาด ขยะและเรื่องการจัดระเบียบจราจรหนาแน่นในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่อำเภอแม่สรวยและขอรักษาภาพพจน์ของอำเภอแม่สรวยในการท่องเที่ยวเชิงประทับใจ
    ทางด้านนายสมพงษ์ นายกเทศบาลตำบลเวียงสรวยได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าเทศบาลตำบลเวียงสรวยซึ่งได้รับมอบพื้นที่จากโครงการส่งน้ำบำรุงรักษาชลประทานแม่ลาว ทางเทศบาลฯเน้นย้ำถึงการบริหารจัดการอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่งกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน โดยขอให้ผู้ประกอบการแต่ละโซน ได้ปฏิบัติตามกฎกติกาเพื่อให้กิจการท่องเที่ยวโดยชุมชนดำเนินไปด้วยดี ในที่ประชุมนายสมพงษ์ ได้ขอมติที่ประชุมเห็นชอบตามคำร้องขอเพิ่มพื้นที่อยู่ในเขตปกครอง 6หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่2,3,8,13,14 ,17 ประกอบกิจการด้านการท่องเที่ยวแพเปียก โดยปีนี้มี 36 รายโดยที่ประชุมให้หมู่บ้านที่เพิ่มขึ้นมาอีก4หมู่บ้าน2,3,13,17 รวมเป็น6หมู่บ้านในปี 2569 ถัดไปเพื่อให้เกิดความเสมอภาคมีรายได้ทั่วถึงกันทั้งนี้ขอให้อยู่ภายใต้กฎและกติกาเดียวกัน และที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันยกมือเป็นมติเอกฉันท์ เปิดโอกาสให้6หมู่บ้านได้มีส่วนร่วมและเกิดรายได้

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในที่ประชุมได้ขยายพื้นที่บริเวณเหนือสะพานซึ่งเดิมเป็นพื้นที่หวงห้ามอยู่ในความควบคุมของเขื่อนแม่สรวย ซึ่งทางโครงการได้ห้ามประชาชนเข้าไปบริเวณสันเขื่อนโดยหวั่นถึงความปลอดภัยด้วยปรากฏมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปบริเวณสันเขื่อนและถ่ายรูปลงโซเซียล อาจจะได้รับอันตรายโดยปัจจัยหลายเรื่อง อาทิการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เมามายขึ้นไปอาจพลัดตกเสียชีวิต จึงได้หวงห้ามไว้ตั้งแต่ต้น แต่ส่วนด้านล่างสปริงเวย์ ลงมาเหนือสะพานซึ่งเป็นพื้นที่ใหม่ที่ทางชุมชนขอใช้ ทางโครงการส่งน้ำบำรุงรักษาชลประทานแม่ลาวได้มอบพื้นที่ให้กับเทศบาลตำบลเวียงสรวย ที่ทำเรื่องขอใช้พื้นที่จะต้องกำกับดูแลเป็นพิเศษ และบริเวณที่ชุมชนขอใช้ไม่สามารถล่องแพเปียกได้มีเพียง

    ทำซุ้มบริการนักท่องเที่ยวทานอาหาร รองรับประชาชน และเป็นพื้นที่จอดรถแก่นักท่องเที่ยว แต่ห้ามจำหน่ายเหล้าเบียร์เนื่องจากเป็นพื้นที่ของทางราชการห้ามจำหน่ายตามกฎหมาย ส่วนร้านค้าที่อยู่ในพื้นที่เอกชนหากมีการจำหน่ายเหล้าเบียร์ก็เป็นเรื่องของกรมสรรพสามิตรที่จะดำเนินคดี เปรียบเทียบปรับในอัตราทางกรมสรรพสามิตกำหนด ทางเทศบาลสามารถดำเนินตามกรอบอำนาจหน้าที่ได้เพียงเก็บค่าธรรมเนียมซุ้ม แพเปียก ลานจอดรถ ป้ายโฆษณา กำกับดูแลเรื่องระบบสุขาภิบาล จัดการอบรมผู้ประกอบการอาหาร เกี่ยวกับใบสัมผัสอาหาร เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการประกอบอาหารตามสุขอนามัย และให้ผู้ประกอบการดูแลเกี่ยวกับฝุ่นและความสะอาดของขยะ หากสิ้นระยะเวลาการขออนุญาตให้ผู้ประกอบการรื้อสิ่งปลูกสร้างออกทันทีเพื่อให้กลับเข้าสู่สภาพเดิมเงื่อนไขการขออนุญาต

    เมื่อวันที่19 ก.พ.68 ที่ผ่านมา ผู้สื่อข่าวได้เข้าพบนายทรงพล พงษ์มุกดา ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาชลประทานแม่ลาวเกี่ยวกับการส่งมอบพื้นที่ตามคำขอใช้พื้นที่ในกิจการท่องเที่ยวแพเปียกเขื่อนแม่สรวยตามคำขอเทศบาลตำบลเวียงสรวย นายทรงพลกล่าวว่าทางโครงการฯไม่ขัดข้องแต่ประการใดแต่ขอให้เทศบาลเวียงสรวยได้กำกับดูและตลอดระยะเวลการขออนุญาต ตั้งแต่วันที่15 ก.พ-15 พ.ค.2568 แต่ให้รื้อสิ่งปลูกสร้างออกพ้นลำน้ำเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการขอใช้ และเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนสร้างรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ อนึ่งการะบายน้ำ4-5 ลบม./วินาที ซึ่งถือเป็นการระบายน้ำตามปกติ เพื่อเป็นการส่งน้ำให้เกษตรกรผู้ใช้น้ำในการเกษตร140,000ไร่เฉพาะช่วงแล้ง70,000ไร่ ในพื้นที่ อำเภอแม่ใจ จ.พะเยา อ.พาน อำเภอแม่ลาว อำเภอเมือง จ. เชียงราย รวมทั้งระบบน้ำประปา การระบายน้ำเป็นรอบปกติของการบริหารจัดการของโครงการ กรณีกิจการล่องแพเปียกแม่สรวย เป็นเพียงแค่ผลพลอยได้ ทางโครงการขอชี้แจงไม่ใช่ผันน้ำเพื่อกิจการแพเปียกโดยเฉพาะ แต่เป็นการต้องการของคณะกรรมการผู้ใช้น้ำ และทางโครงการฯจะต้องบริหารจัดการน้ำตามความประสงค์ทั้งนี้ทางโครงการฯจะต้องประเมินว่าปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการเกษตรหรือไม่ หากไม่พออาจจะเพิ่มการระบายน้ำเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อยจากการระบายในระดับปกติ

    อย่างไรก็ตามก็ขอให้การระบายน้ำออกจากเขื่อนแม่สรวย ได้ประโยชน์สูงสุด ส่วนเรื่องการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น แท้จริงไม่สามารถทำในบริเวณสถานที่ราชการแต่ถ้าหากฝ่าฝืนก็จะถูกดำเนินการตามกฎหมายและในเรื่องดังกล่าวให้เทศบาลตำบลเวียงสรวยกำกับดูแลตามอำนาจหน้าที่
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในส่วนพื้นที่เอกชนขณะนี้ได้โขกราคาสูงเกินผิดปกติทำให้ผู้ประกอบกิจการในส่วนร้านค้าและแพเปียก โอดครวญโดยเฉพาะพื้นที่ต้นน้ำที่ทำซุ้ม ล่องแพเปียก ราคาสูงล๊อคราคาเกือบ200,000 บาทไล่เรียงลงไปสองฝั่งแม่น้ำหลักหมื่นต้นถึงหลักหมื่นๆปลายๆและต้องถูกเก็บค่าธรรมเนียมในส่วนต่างๆอีกและในสภาวะเศรษกิจเช่นนี้ข้าวของและวัตถุดิบในการประกอบอาหารจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยว ตลอดถึงค่าจ้างแรงงานสูง จึงส่งผลให้ผู้ประกอบการทั้งรายเก่าและรายใหม่ต้องกัดฟันสู้แบบเสี่ยงดวงเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะเป็นบุคคลนอกพื้นที่แทบทั้งสิ้นส่วนคนในพื้นที่มีไม่มาก.

     นายธนกฤต วรรมณี  ทีมงานข่าวบก. รายงาน

    สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ /ผบ.ตร. แก้ปัญหาต่างด้าว สั่งลงดาบตำรวจทำผิด ตามนโยบายนายกรัฐมนตรี มอบ “พล.ต.ท.สำราญฯ” กำกับดูแล/ ถนนวงแหวนเมืองพะเยาหรือที่เรียกว่าถนน(อุบาลี)อยู่ในความดูแลของทางหลวงชนบท จ.พะเยา

    แชร์เนื้อหานี้

    วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2568) เวลา 10.00 น. พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นประธานการประชุมติดตามการแก้ไขปัญหาคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และคนต่างด้าวถูกหลอกลวง หรือประกอบธุรกิจผิดกฎหมาย และอาชญากรรมข้ามชาติ โดยมี พล.ต.อ.ธนา ชูวงศ์ รอง ผบ.ตร. , พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ท.อิทธิพล อิทธิสารรณชัย ผู้ช่วย ผบ.ตร. , พล.ต.ท.สรายุทธ สงวนโภคัย ผู้ช่วย ผบ.ตร. และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศเข้าร่วมประชุม ณ ศปก.ตร. อาคาร 1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และทางระบบประชุมทางไกล

    ในที่ประชุมฯ ผบ.ตร. ได้ประชุมติดตามสถานการณ์และข้อมูลเชิงวิเคราะห์ จึงได้สั่งการให้เร่งรัดการปฏิบัติในการตรวจสอบชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย และประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ใดก็ตาม เพื่อตอบข้อเคลือบแคลงของพี่น้องประชาชนและสังคม หากพบการกระทำผิดให้ดำเนินการตามกฎหมาย โดยมอบหมายให้ พล.ต.ท.สำราญ นวลมา ผู้ช่วย ผบ.ตร. กำกับดูแลการปฏิบัติ โดยเน้นย้ำการปฏิบัติใน 4 ขั้นตอน ได้แก่

    1. ตรวจสอบ : ให้หน่วยปฏิบัติที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูลชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาในประเทศไทยในทุกมิติ รวมทั้งตรวจสอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการอย่างเข้มงวดโดยไม่กระทบกับการท่องเที่ยว
    2. ปฏิบัติการ : ให้หน่วยที่เกี่ยวข้องประสานการปฏิบัติ ลงพื้นที่ตรวจสอบชาวต่างชาติที่พำนักในพื้นที่ เช่น ที่พัก แผนการท่องเที่ยว การรวมกลุ่มประกอบกิจกรรม หรือพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
    3. บังคับใช้กฎหมาย : หากพบมีการทำความผิดของชาวต่างชาติ ต้องดำเนินการตามกฎหมายอย่างเข้มงวดทันที
    4. ประชาสัมพันธ์ : สร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อตอบคำถาม ลดความเคลือบแคลงสงสัยของสังคมและประชาชน และให้ข้อเท็จจริงปรากฏต่อสื่อต่าง ๆ
    5. นอกจากนี้ ในที่ประชุมได้ติดตามสถานการณ์ด้านการข่าวเชิงวิเคราะห์ แนวโน้มสถานการณ์การกระทำความผิดของคนต่างด้าวและแก๊งคอลเซ็นเตอร์พื้นที่จังหวัดเฝ้าระวัง เส้นทาง และรูปแบบการกระทำความผิด รวมทั้งผลการดำเนินการด้านกฎหมายและกลไกการส่งต่อระดับชาติ โดย ผบ.ตร.กำชับทุกพื้นที่/จังหวัด ปรับแผนการปฏิบัติและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เนื่องจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์เริ่มมีความเคลื่อนไหวจากมาตรการต่าง ๆ จะต้องมีการวางแผนล่วงหน้ารับมือในทุกมิติ

    ทั้งนี้ ผบ.ตร. กำชับเข้มงวด หากพบตำรวจรายใดเกี่ยวข้องในการกระทำผิด เอื้อประโยชน์ ประพฤติมิชอบด้วยกฎหมาย จนเกิดความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของหน่วยพื้นที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และประเทศชาติ ให้ดำเนินการทางปกครอง วินัย และอาญาเด็ดขาด ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กำชับหากพบเจ้าหน้าที่กระทำผิดให้ดำเนินการตามกฎหมายทันที

    พร้อมกันนี้ ผบ.ตร.ขอให้ผู้บังคับบัญชาถ่ายทอดข้อสั่งการและเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรี และ ผบ.ตร.ไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดทุกนาย โดยให้คำนึงถึงประโยชน์ของชาติบ้านเมืองเป็นสำคัญ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ ไม่เพิกเฉยต่อปัญหาของประเทศ และต้องไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว พัวพันกับการกระทำผิดเด็ดขาด และขอบคุณตำรวจทุกนายที่ร่วมปฏิบัติหน้าที่ ขอให้ตั้งใจทำงาน รักษาความดี ร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนและประเทศชาติต่อไป

    วันนี้ที่พะเยา.#กับถนนวงแหวนเมืองพะเยาหรือที่เรียกว่าถนน(อุบาลี)ซึ่งอยู่ในความดูแลของสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัดพะเยาวันนี้มีภารกิจมาพะเยาก็เลยขับรถไปดูตลอดเส้นทางดังกล่าวตามที่เป็นข่าวมานานว่าถนนสายนี้ก่อสร้างยังไม่ทันเท่าไรก็พังไปแล้วเจ้าของภาษีประเทศคงจะไม่ค่อยสบายใจเท่าไหร่นะครับก็ไม่ทราบว่าทำไมถึงพังเร็วจัง.ถนนสายนี้เป็นถนนเลี่ยงเมืองพะเยาปลูกต้นไม้ริมทางเกาะกลางก็ดูสวยงามดีนะครับดอกคูณหรือดอกลมแล้งทางภาคเหนือแต่ว่าสภาพที่เป็นอยู่ก็คือเกาะกลางถนนทั้งสองข้างทางคงจะก่อสร้างใหม่เพราะสภาพที่เห็นก็เป็นแบบนี้ตลอดสายเลยนำภาพถ่ายมาให้ดูนะครับตอนนี้ก็

    เห็นกำลังรื้อทำไมตลอดเส้นทางก็ไม่ทราบว่าอยู่ในระหว่างการประกันงานจากบริษัทรับเหมาหรือไม่หรือว่าใช้งบประมาณมาสร้างใหม่เพราะอันเก่าพังไปแล้ว
    สำหรับพี่น้องประชาชนหรือประชาชนชาวบ้านที่อาศัยอยู่ 2 ข้างทางหรือใช้เส้นทางนี้สัญจรก็ระมัดระวังหน่อยนะครับเพราะมีการก่อสร้างเป็นระยะระยะตลอด 2 เส้นทางเพราะเมื่อก่อนนี้ก็มีข่าวรถประชาชนได้รับความเสียหายตกหลุมตกบ่อมาแล้วถ้าทีมข่าวมีโอกาสไปพะเยาก็จะไปสอบถามว่าโครงการนี้จะหรื้อทำใหม่ตลอดเส้นทางเลยหรือครับหรือว่าเป็นช่วงๆ.พังตั้งแต่พื้นผิวจราจรก็น่าจะพอฟังอยู่นะครับแต่นี้แม้แต่เกาะกลางถนนก็สภาพอย่างที่เห็นนะครับพังไปเหมือนกันก็ไม่ทราบว่าวิศวกรควบคุมงานของทางหลวงชนบทคำนวณผิดหรือเปล่าครับจึงได้พังเร็วจังเลย. วันนี้ก็พยายามติดต่อผู้อำนวยการทางหลวงชนบทพะเยา.ติดภารกิจประชุมส่วนราชการเลยมีโอกาสก็จะนำรายละเอียดมาเสนอข่าวความคืบหน้าและความเป็นมากับถนนสายนี้อีกทีนะครับ

    รายงานโดยสมจิตรแสงบัลลังก์ทีมข่าวกองบกภาคเหนือ

    สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ /กิจกรรมออกหน่วยบริการ “อำเภอยิ้ม…เคลื่อนที่” ประจำปีงบประมาณ 2568

    แชร์เนื้อหานี้

    สำนักงานเกษตรอำเภอภูเพียง นางธนพร ดีอุด เกษตรอำเภอภูเพียง พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอภูเพียง เข้าร่วมกิจกรรมออกหน่วยบริการ “อำเภอยิ้ม…เคลื่อนที่” ประจำปีงบประมาณ 2568 กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อให้บริการประชาชนในพื้นที่

    โดยมีหน่วยงานราชการต่าง ๆ ร่วมให้บริการด้านข้อมูล ข่าวสาร และการช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ สำนักงานเกษตรอำเภอภูเพียงได้ให้บริการ ให้คำปรึกษาด้านการเกษตร การส่งเสริมอาชีพเกษตรกร แจกจ่ายเอกสารความรู้ทางการเกษตรและ

    แจกจ่ายน้ำหมักชีวภาพและสาร พด. สูตรต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถพัฒนาและปรับปรุงการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายอำเภอภูเพียง นายพงษ์ศิลป์ ผาลา เป็นประธานในงาน ณ หอประชุมบ้านดงป่าสัก ตำบลฝายแก้ว อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน

    เรื่องและเรียบเรียง /นายวิศิษฐ์ คงขำ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ
    ภาพ/ข่าว/เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอภูเพียง
    /บุญยงค์ สดสอาดนายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

    สื่อรัฐทีวี – สื่อรัฐนิวส์ / แถลงข่าว จับกุมพ่อค้ายาเสพติด ใช้ปืนยิงเปิดทางหลบหนี ยึดยาบ้า300,000เม็ด

    แชร์เนื้อหานี้

    วันนี้ 19กุมภาพันธ์ 2568​ได้แถลงข่าวมีพันโท ฐาพล​ อ้อชัยภูมิรอง​รมน.อจพร้อมด้วย พันจ่าเอกสุวิน​ห้องแชงนายอำเภอชานุมาน พันตำรวจเอกโชตินรินทร์สุภาวรัตม์​ผกก.สภ.ชานุมานในตำรวจภูธรจังหวัดอำนาจเจริญ พันเอกปภังกร​หมื่นศา​ ผบก.ที่บัญชาการกองกำลังสุรนารี พันเอกกัญญณัต ไชยโอชะ ผบชฉก.ทหารผพราน 23 นาวาเอก ธชนนน อิทธิภูริทร์ ผบ. นรข.เขตอุบลราชธานีมว.ตชด
    2273และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและความมั่นคง

    ได้ร่วมกันประชุมเข้มกับเจ้าหน้าที่ๆเกี่ยวข้องความมั่นคงชายแดนอ.ชานุมานขานรับโยบายของหน่วยงานความมั่นคง และรัฐบาล แนวทางการในการทำงานร่วมกัน ทิศทางเดียวกันหรือเป้าหมายเดียวกันในปราบปรามยาเสพติด และของผิดกฎหมาย อย่างเข้มข้นและจริงจังสำหรับการแถลงข่าวในวันนี้ เป็นการดำเนินงานการสืบสวนหาข่าวในพื้นที่เป้าหมายการข่าวลับว่าจะมีการ ขนยาเสพติด ให้โทษข้ามมาจากประเทศเพื่อนบ้านยามค่ำมืด มายังราชอาณาจักรไทยเจ้าหน้าที่ เฝ้าติดตามตลอดเวลาในขณะที่เฝ้า รอดูก็ได้มีเรือหางยาวมาเทียบท่า มีชาย จำนวน 3 คน 2 คนได้นำกระสอบถุงปุ๋ยใน ถุงปุ๋ยตรวจ ทราบภายหลังว่าเป็นยาเสพติด ให้โทษเจ้าหน้าที่แสดงตัว เพื่อเข้าจับกุมแต่ก็ขัดขืนไม่ให้จับ พ่อค้ายาเสพติดจึงใช้อาวุธปืน ไม่ทราบชนิดที่พกติดตัวมาด้วยยิง ใส่เจ้าหน้าที่เพื่อเปิดทางหลบหนี

    ประกอบด้วยความมืดโดดลงแม่น้ำโขงเจ้าหน้าที่ก็ติดตามค้นหาแต่ก็ไม่พบผู้สื่อข่าวได้สอบถามเป็นการดำเนินการปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มข้นในพื้นที่ ตามแนวชายแดน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันปัญหายาเสพติด จึงขอความร่วมมือพี่น้องประชาชน และสถานประกอบการทุกแห่งแจ้งเบาะแส/ข้อมูล ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งผู้เสพ ผู้ค้า โดยแจ้งข้อมูลผ่านสายด่วนยาเสพติด 1599 สายด่วน 191 และ Application Police I lert U ได้ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อดำเนินการปราบปราม จับกุม ดำเนินคดีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และลดปัญหายาเสพติด ในภาพรวมอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น เพื่อให้สังคมมีความสุขหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรมเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย ร่วมกัน ป้องกันปราบปราม ยาเสพติดตามนโยบายของรัฐบาลอย่างจริงจังและเด็ดขาด ภาพข่าว​ ประวัติ​ นิธิเตชะยศสกุล

    ประวัติข่าว รายงาน/ภาพ/ข่าว