คลังเก็บหมวดหมู่: กิจกรรมเพื่อสังคม

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / แถลงข่าวเตรียมจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์”

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมเพชรพลอย โรงแรมต้นทองรีสอร์ท ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
นางสาวนิรชา บัณฑิตย์ชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์พร้อมด้วยนายศักดิ์ตระกูล เลี้ยงประเสริฐ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ และนายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์”

ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งจัดในวันที่ 11 – 12 เมษายน 2568 ณ สนามหน้าจวนผู้ว่าราชการหลังเก่า เชื่อมโยงหอวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์และบนถนนพาดสนามบินช่วงสี่แยกหอวัฒนธรรมถึงแยกโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ พัฒนาต่อยอด และประชาสัมพันธ์มรดกภูมิปัญญาของจังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในสังคม เป็นการส่งเสริมการนำทุนทางวัฒนธรรมมรดกภูมิปัญญามาสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ให้จังหวัดอุตรดิตถ์ ตลอดจนนำทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุตรดิตถ์มาสืบสาน รักษา พัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางด้านวัฒนธรรม ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย การจัดแสดงนิทรรศการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ จากที่ได้ผ่านการสำรวจจากทั้ง 9 อำเภอมา รวมเป็น 45 รายการ นำมาจัดแสดงในพื้นที่นี้ และมีการแสดงสาธิตมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมทั้ง 45 รายการ โดยจะมีการจัดการแสดงผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปทั้ง 2 วันของการจัดงาน จนครบทั้ง 45 รายการ ทั้งยังมีการแสดงและจำหน่ายสินค้าจากกลุ่มมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 45 รายการ รวมจำนวน 45 คูหา จะอยู่ภายในบริเวณสนามหน้าจวน

ผู้ว่าราชการหลังเก่า และการแสดงและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรมส่วนอีก 35 คูหา จะอยู่ในพื้นที่บริเวณบนถนนพาดสนามบินช่วงสี่แยกหอวัฒนธรรมถึงแยกโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รวมเป็น 80 คูหา เลือกซื้อ เลือกชิม กันได้อย่างจุใจ และนอกจากนั้นในพื้นที่บริเวณสนามหน้าจวน ผู้ว่าราชการหลังเก่า ก็จะมีเวทีกิจกรรม มีการแสดงทางวัฒนธรรมของทั้ง 9 อำเภอ อำเภอละ 2 รายการ รวมเป็น 18 ชุดการแสดง ที่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นแสดงทั้ง 2 วัน จนครบ 18 ชุดการแสดง และยังมีการแสดงแสง สี เสียง ตำนานกำเนิดเมืองอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์” แสดงโชว์บนเวทีทั้ง 2 วัน

ทั้งวันที่ 11 และ 12 เมษายน 2568 ช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. ประกอบด้วยนักแสดงมากกว่า 30 คน โดยวันที่ 11 เมษายน 2568 จะมีพิธีเปิดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์” ด้วย ส่วนวันที่ 12 เมษายน 2568 มีกิจกรรมพิเศษเป็นมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง เป็นศิลปินที่มาจากเวทีการประกวดแบบเรียลลิตี้ เอเอฟ 12 และมีดีกรีเป็นถึงพระเอก หมอลำ “ระเบียบวาทะศิลป์” โฟกัส กิตติคุณ

นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากจังหวัดอุตรดิตถ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์ และต้องขอขอบคุณทางสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ สภาวัฒนธรรมอำเภอทั้ง 9 อำเภอ ที่ร่วมกันสำรวจและพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาในการจัดการประชุมสำรวจและพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญา ในพื้นที่ 9 อำเภอ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่จัดผ่านมาในช่วงวันที่ 3 – 13 มีนาคม 2568

จนได้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ทั้ง 45 รายการ มาจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์” ในครั้งนี้ สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีกำหนดเปิดงานในวันที่ 11 เมษายน 2568 เวลาประมาณ 18.00 น. จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ พี่น้องจังหวัดใกล้เคียง และนักท่องเที่ยวทุกท่าน ร่วมสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรม อันทรงคุณค่า

ในงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11-12 เมษายน พ.ศ. 2568 นี้ เวลา 15.00 – 21.00 น. ณ สนามหน้าจวนผู้ว่าราชการหลังเก่า เชื่อมโยงหอวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์และบนถนนพาดสนามบินช่วงสี่แยกหอวัฒนธรรมถึงแยกโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี

นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

นางฟ้าเกณฑ์ทหาร ยิ้มแย้มแจ่มใสทำตามหน้าที่ชายไทยร่วมคัดเลือกทหาร

วันที่ 3 เมษายน 2568 ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีการคัดเลือกทหารกองเกิน เพื่อเข้ากองประจำการ บรรยากาศโดยทั่วไปเป็นไปด้วยความคึกคัก

โดยช่วงสายของวัน ช่วงที่กำลังจะลงทะเบียน ได้พบกับผู้เข้าร่วมการคัดเลือกทหารในตำบลน้ำไผ่ ชื่อน้องเกรซ น้องไตเติ้ล น้องนาเดีย ได้มาทำตามหน้าที่คัดเลือกทหาร จากการพูดคุย ทั้งสามคนตั้งใจมา และมีทัศนคติที่ดีในการทำตามหน้าที่ชายไทย เบื้องต้นจากการสอบถามพี่เจ้าหน้าที่ทหาร บอกว่าน้องทั้งสามไม่น่าจะผ่านเกณฑ์ เพราะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด แต่ทั้งนี้ต้องให้แพทย์พิจารณาอีกที

เดินไปมานั่งคุยสอบถามทั่วไป ผู้เข้าร่วมคัดเลือกทหารคนงามอีกคนหนึ่ง ชื่อน้องต้นน้ำ ซึ่งตัวน้องเองได้เตรียมใบรับรองแพทย์เรื่องเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดมาเพื่อผ่อนผัน แต่ก็มีทัศนคติที่ดีในการมาทำตามหน้าที่และช่องทางตามกฎหมาย

ในภาคบ่าย เป็นการจับใบแดงใบดำ จากผู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกภาคเช้า บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานลุ้นระทึก ของแฟน ครอบครัว เพื่อนๆ เป็นที่ถูกใจทั้งกองเชียร์กองแข่งสลับกันไป เพื่อไม่ให้ถึงคิวตัวเอง

นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / โครงการธารน้ำใจห่วงใยและแบ่งปันวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เมืองน่าน

แชร์เนื้อหานี้

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 70 พรรษา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 เวลา 09.30 น. ที่ลานกิจกรรม โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ ตามพระราชดำริฯ ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เจ้าคุณพระวชิราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดช้างค้ำวรวิหาร

พร้อมด้วยคุณสมชาย บวรวงศ์ดิรก และญาติธรรมจากประเทศสิงคโปร์ ได้นำถุงยังชีพจำนวน 195 ถุง พร้อมกับเลี้ยงก๋วยเตี๋ยวไอศครีมชนเผ่ามละบริ(ตองเหลือง)ในโอกาสร่วมกับ ศกร.ตชด.ห้วยลู่ ศศช.ห้วยลู่ จัดกิจกรรมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 70 พรรษา โดยชาวมละบริร่วมกันเขียนหนังสือลงนามถวายพระพร บริเวณโต๊ะลงนามที่ลานกิจกรรม

จากนั้นมีการจัดกิจกรรมปลูกกาแฟพระราชทาน อาราบิกา สายพันธุ์คาติมอร์ จำนวน 500 ต้น ปลูกเพิ่มไปในแปลงปลูกกาแฟพระราชทานเดิม ปี 2567 ที่ได้รับพระราชทานและปลูกไว้แปลงปลูกกาแฟเดิม 200 ต้น รวมมีกาแฟที่ได้รับพระราชทานนำมาปลูกในแปลงแล้ว ทั้งหมด 700 ต้น

โดยมีปลัดอำเภอเมืองน่าน นายธีราพร หมั่นแก้ว เป็นประธานในพิธีนำถวายพระพรชัยมงคล และเป็นประธานเปิดงานปลูกกาแฟพระราชทานเทิดพระเกียรติวันเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 70 พรรษา โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานจากภาคราชการ 35 คน ภาคเอกชน 55 คน และชุมชนมละบลิห้วยลู่ 72 คน ตัวแทนชุมชนมละบริห้วยหยวก 79 คน

โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ตามพระราชดำริฯ เป็นโครงการที่ดูแลฟื้นฟูป่าต้นน้ำร่วมกับชนเผ่ามลาบรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ช่วยส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ชนเผ่ามลาบรีให้อยู่ร่วมกับป่า ซึ่งมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมแต่สามารถรู้เท่าทันโลกปัจจุบัน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

แต่ครั้งเมื่อปี พ.ศ.2562 ได้เกิดเหตุไฟป่าขึ้นในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม่ห้วยลู่ตามพระราชดำริฯ มีพื้นที่ป่าได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ซึ่งในปัจจุบันมีการฟื้นคืนสภาพป่าต้นไม้ทดแทนให้คืนกลับมา แต่ในพื้นที่ 4 ใน 10 ไร่แห่งนี้

ชุมชนบ้านห้วยลู่ได้ขอพื้นที่ใช้ในการปลูกข้าวไร่ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวให้กับชุมชน โดยได้ทำความตกลงกับทางโครงการฯ จะคืนพื้นที่เพื่อปลูกต้นไม้ฟื้นฟูป่าให้กลับมามีสภาพเหมือนเดิมในอนาคต/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สือรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / องคมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบความช่วยเหลือพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎร จ.บึงกาฬ

แชร์เนื้อหานี้

วันนี้ 3 เมษายน 2568 เวลา 13.30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบความช่วยเหลือพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ณ โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะองคมนตรีดำเนินการโครงการสืบสานพระราชปณิธาน เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานและพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร

พร้อมกับรับทราบปัญหาความเดือดร้อน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาให้ราษฎรมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทั้งเชิญพระราชกระแสความห่วงใยและสิ่งของพระราชทานไปมอบให้กับราษฎรในพื้นที่ โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ มูลนิธิและองค์กร ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะองคมนตรีกำกับดูแล ในการให้ความช่วยเหลือราษฎรในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจความเป็นอยู่ที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่าสืบไป

ในโอกาสเดียวกันนี้ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดถุงพระราชทาน เครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 502 ชุด ไปมอบแก่ราษฎรในพื้นที่ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบอุปกรณ์สำหรับการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแก่โรงเรียนในพื้นที่ มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มอบชุดหนังสือเผยแพร่ความรู้สำหรับเยาวชนแก่โรงเรียนและห้องสมุด มูลนิธิพระดาบสออกหน่วยให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการให้บริการประชาชน เช่น การตัดผม การฝังเข็มเพื่อสุขภาพ การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับด้านการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรกลทางการเกษตร การมอบเก้าอี้รถเข็นสำหรับผู้ป่วย

นอกจากนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมจัดหน่วยแพทย์และหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน มาให้บริการตรวจสุขภาพและรักษา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ออกหน่วยเผยแพร่ความรู้และรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ให้ความรู้และให้บริการปรึกษาด้านกฎหมาย สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนทุนการศึกษาพระราชทานต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้แก่นักเรียนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

ที่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี มีความตั้งใจในการศึกษา และครอบครัวมีฐานะยากจน จำนวน 2 คน ได้แก่ เด็กหญิงศิริวภา รัตนโสภา และ เด็กหญิงธนัญชนก ทองธุลี และมูลนิธิกาญจนบารมี จัดหน่วยให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ ( Mammogram ) ในสตรีกลุ่มเสี่ยง ราษฎรต่างปลื้มปีติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ครบรอบ๑๐๖ ปีพระคันธารราฐ โคราชเตรียมจัดยิ่งใหญ่พิธี ”แห่พระคันธารราฐลอดประตูเมือง“วันเทศกาลสงกรานต์

แชร์เนื้อหานี้

“พระคันธารราฐ” เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของ “วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร” สร้าง เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๔๖๔ ปัจจุบันปี ๒๕๖๘ มีอายุ ๑๐๔ ปี
“พระคันธารราฐ” สร้างโดย “พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี)” เจ้าเมืองนครราชสีมา คนที่ ๑๑ มีขนาด หน้าตัก ๓๙’นิ้ว สูงประมาณ ๑ เมตร ๓๐ เซ็นติเมตร ครั้งเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ “เจ้าเมืองนครราชสีมา”

ได้ริเริ่มประกอบพิธีอัญเชิญ “พระคันธารราฐ แห่ลอดประตูชุมพล” เนื่องในวันสงกรานต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประชาชนชาวโคราชเรื่อยมา
จวบจนถึงปี ๒๕๒๒ พิธีกรรมดังกล่าวได้หยุดไป กระทั่งเมื่อปี ๒๕๖๐ วัดพระนารายณ์ ได้ ปฏิสังขรณ์ปิดทอง “พระทศพลญาณประทานบารมี หรือหลวงพ่อใหญ่” และขุดค้นพบพระพราณหลายองค์ใต้ฐานพระประธาน ทางวัดจึงมีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นพิธีอัญเชิญ “พระคันธารราฐ ชุมพล”

ขึ้นมาอีกครั้งในวันสงกรานต์ ซึ่งการแห่พระลอดประตูชุมพล เป็นเอกลักษณ์ของ
สำหรับ “พระคันธารราฐ” มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวายกเสมอพระอุระ รัก พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา เป็นกิริยารับน้ำ ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลมะเนตรเหลือบต่ำ โดยลงยาสีเหมือนจริง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์บางเรียว พระกรรณยาว เกือบจด สา ขมวดพระเกศา ทำเป็นรูปก้นหอยเรียง

ตลอดถึงพระเมาลื พระรัศมีทำเป็นรูปดอกบัวตูม ครอเฉียง เปิดพระอังสาขวา มีริ้วผ้าที่ด้านหน้าองค์พระพุทธรูป รองรับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย ทั้งนี้ ประชาชน
าวโคราชนิยมกราบไหว้ “พระคันธารราฐ” เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างว่ฝน”

โดยพิธีประเพณีโบราณ “แห่พระคันธารราฐลอดประตูเมือง” จะมีในวันที่ ๑๒ เมษายน ๖๗ จะเริ่ม๑๕.๐๐ น.ที่วัดพระนารายณ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา “พระดันธารราฐ” ซึ่งเป็นพระพุทธ วัดพระนารายณโดยผู้ว่าฯโคราช จะเป็นผู้อัญเชิญ “พระคันธารราฐ” ประดิษฐานสู่ราชรถ พร้อมพิธีการรำ บวงสรวง

จากนั้นเคลื่อนขบวนแห่เข้าสู่ถนนจอมพล มุ่งหน้าไปลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และสรงน้ำพระคันธารราฐ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นสิริมงคลต้อนรับเทศกาลปีใหม่ไทย เพื่อให้ประชาชนนักท่องเที่ยวได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล และวันที่ ๑๓ เมษายน ๖๔ จะมีพิธีแห่พระคันธารราฐ ลอดอุ้มประตูชุมพล” พร้อมแห่ผ้าเงินด้ายทองกลับสู่วัดพระนารายณ์มหาราช

กันตินันท์ เรืองประโคน/ รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ”เปิดงานเทศกาลไก่ย่างโลกและของดีห้วยทับทัน” ตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ของจังหวัดศรีสะเกษ

แชร์เนื้อหานี้


เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 68 ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ อนุพงษ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดงานเทศกาลไก่ย่างโลก และของดีห้วยทับทัน

ซึ่งอำเภอห้วนทับทัน ร่วมกับ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 30 มี.ค. 68 ถึง วันที่ 4 เมษายน 68 การจัดงานไก่ย่างโลกขึ้นตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ของดีจังหวัด ศรีสะเกษ

ในครั้งนี้ ภายในงาน มีการจัดจำหน่ายสินค้า OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้า พืชผล ทางการเกษตร ของคนในชุมชนอำเภอห้วยทับทัน โดยในพิธีเปิด นายอนุพงษ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษได้ใช่มีดสับไก่ พร้อมพาหัวหน้าส่วนราชการ และเขยฝรั่ง ชิมไก่ย่างไม้มะดัง อย่างเอร็ดอร่อย

นายนายตระการ ชาลี นายอำเภอห้วยทับทัน ได้จัดงานไก่ย่างโลกขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล Soft Power ในการขับเคลื่อนศรษฐกิจไทยและสร้างมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นั่นก็คือ FOOD อาหาร (ไก่ย่างไม้มะดัน) และ FESTIVAL คือ การจัดงานประเพณีในพื้นที่

และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว การพาณิชย์ สนับสนุนผลผลิตทางการเกษตร กร เศรษฐกิจ ในชุมชนเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และสร้างความสมัครสามัคคีให้กับประชนชาวอำเภอห้วยทับทัน ตลอดจนขับเคลื่อนตามแนวทางการจังหวัด 1 + 10 วาระจังหวัด ซึ่งในการจัดกิจกรรม “งานเทศกาลไก่ย่างโลกและของดีห้วยทับทัน” ประจำปี 2568 ตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ของจังหวัดศรีสะเกษ ในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก จังหวัดศรีสะเกษ

ภาพ /ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / โครงการสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์เพื่อการพัฒนาการเด็กศูนย์ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองคอง งบประมาณปี. 2568

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 1 เมษายน 2568 เวลา 09.10 น.นายนิโรจน์ แพ่งศรีสาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนหัน ประธานในพิธีจุดเทียน บูชาพระรัตนตรัย
และชมการแสดงของระดับชั้นเตรียมอนุบาล 1

นางสาวณัฐริกา ทาเชาว์ ผู้อำนวยการกองการศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลโนนหันกล่าวรายงาน

โดยมีส่วนราชการใน อบต โนนหัน ผู้ปกครอง ร่วมงาน เช่น นายสำเร็จ ใจซื่อ รองนายก อบต โนนหัน, นายสันติ แก้วมูลตรี รองนายก อบต.โนนหัน, นายกิตติพศ นามนัย เลขานุการนายก อบต.โนนหัน นายเรวัต หลาวมา ปลัด อบต โนนหัน

นายณรงค์ ตุ้มทอง ส.อบต.หมู่ 8 อบต โนนหัน ต่อมานายนิโรจน์ แพ่งศรีสาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนหัน กล่าวถึงการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล

พระครูอัมพวัน ภัทรคุณ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน จต นาหนองทุ่ม เขต 2 กล่าวถึงการอุปถัมภ์เด็ก เพื่อต่อยอดในการพัฒนาจิตใจและ

พิธีมอบวุฒิบัตรบัณฑิตน้อยประจำปี 2567 หลังเสร็จพิธี นางสาวดรุณี แนวประเสริฐ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองคอง กล่าวขอบคุณผู้ปกครอง แขกผู้มีเกียรติ

วินสื่อรัฐทีวี/สื่อรัฐนิวส์ /ศูนย์ข่าวขอนแก่น

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / เปิดงาน “1 อำเภอ 1 ลานสร้างสรรค์” กระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างพื้นที่แห่งความสุขให้ชุมชน

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2568 เวลา 18.30 น. ณ ถนนคนเดินอุตรดิตถ์ ข้างมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

นายศิริวัฒน์ บุปผาเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม 1 อำเภอ 1 ลานสร้างสรรค์

จังหวัดอุตรดิตถ์ ของพื้นที่อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ โดยมีนายสุรพันธ์เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์

กล่าวรายงานวัตุประสงค์การจัดงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการเจ้าหน้าที่ส่วนราชการพ่อค้าแม่ค้าประชาชนเข้าร่วมงานกันจำนวนมาก

ทั้งนึ้การจัดงานดังกล่าว วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ได้ร่วมกับ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีอุตรดิตถ์ (วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด

และภาคีเครือข่าย จัดขึ้นเพื่อเปิดพื้นที่ลานสร้างสรรค์แห่งใหม่ของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ให้เด็ก เยาวชน ประชาชน และนักท่องเที่ยว

ทุกเพศทุกวัยได้มีพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจในการทำกิจกรรมและแสดงผลงานด้านศิลปะ และวัฒนธรรม ตลอดจนเพื่อประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์

เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ผ่านกิจกรรมการแสดง การเล่นดนตรี

กิจกรรม Workshop กิจกรรมสาธิต งานฝีมือ งานคราฟต์ งาน DIY ตลาดจำหน่ายสินค้า อาหาร

และผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชน ถือเป็นพลังขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจวัฒนธรรมของประเทศไทย

ที่เน้นพัฒนา “คน สังคม เศษฐกิจ เทคโนโลยี และ Soft Power” ควบคู่กันไป

นาคา ภาพ/ข่าว

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ฝึกจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ.2568 ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ภายใต้การอำนวยการของนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และนายยุทธพร พิรุณสาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายคารม คำพิทูรย์ ปลัดจังหวัดขอนแก่น

นางสาวอ้อยใจ คำบุญเรือง นายอำเภอชุมแพ จัดฝึกอบรมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน(ชรบ.) โดยได้รับการสนับสนุนวิทยากร/ครูฝึก จากกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 8 ค่ายมหาศักดิพลเสพ เจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรชุมแพ

และเจ้าหน้าที่กองอาสารักษาดินแดนอำเภอชุมแพ ที่ 6 ในการฝึกอบรมจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและป้องกันปราบปรามยาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2568 ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2586 ณ หอประชุมอำเภอชุมแพ

ซึ่งมีประชาชนที่ได้รับการคัดเลือกให้เข้าอบรมฯ จำนวน 180 คน จาก 6 ตำบล ได้แก่ 1) ตำบลนาเพียง 2) ตำบลโนนหัน 3) ตำบลนาหนองทุ่ม 4) ตำบลวังหินลาด 5) หนองเขียด ในกิจกรรมได้มีการฝึกอบรมให้ความรู้ ดังนี้

  1. ฝึกบุคคลท่ามือเปล่า ท่าทำความเคารพ ระเบียบแถว ฝึกการใช้อาวุธปืนลูกซอง การดูแลรักษาอาวุธปืน 2.ฝึกการค้นบุคคล ค้นรถจักรยานยนต์/รถยนต์ การตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด/ด่านชุมชน การเข้าแล้วระงับเหตุบุคคลคุ้มคลั่ง
    3.การฝึกปฏิบัติในการตั้งจุดตรวจจุดสกัด/ด่านชุมชน การออกลาดตระเวนพื้นที่ หาข่าว เพื่อเป็นการเสริมความรู้ ทักษะ ให้แก่ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือผู้ใหญ่บ้าน /ชุดปฏิบัติการตำบล และเจ้าพนักงานตามกฎหมาย ในการดูแลความสงบเรียบร้อย การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้านชุมชนให้มีประสิทธิภาพสร้างความอุ่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่

ดังคำกล่าว “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข”นางสาวอ้อยใจ คำบุญเรือง นายอำเภอชุมแพ ได้มอบหมาย นายสมคิด ชำนิกุล ปลัดอำเภอหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง กล่าวปิด
โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2568 กิจกรรมฝึกอบรมจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ชรบ.) เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ณ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

วินสื่อรัฐทีวี/สื่อรัฐนิวส์/ศูนย์ข่าวจังหวัดขอนแก่น

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / รมต.ศึกษาธิการ มอบอุปกรณ์ กีฬา ทุนการศึกษา ถุงยังชีพ โรงเรียนบ้านชาด อุบลฯ

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2568 ที่โรงเรียนบ้านชาด ผอ.เด่นชัย สุขแสวงผอ.โรงเรียนบ้านชาดได้ต้อนรับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ว่าที่พันตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ ท่านเชิดศักดิ์ โภคกุลกานนท์ ที่ปรึกษารมต.ศึกษาธิการ ,

ท่านจีรพงษ์ แข็งแรง รองผอ. สพป.อบ.3 , หัวหน้าส่วนราชการจากจังหวัดและอำเภอ สาธาณสุขอำเภอศรีเมืองใหม่และโรงเรียนบ้านชาด ทุกหน่วยงานทั้งระดับตำบล อำเภอและจังหวัดที่มาช่วยเตรียมสถานที่ ทำให้งานเรียบร้อยดี

ทั้งนี้ได้มามอบอุปกรณ์กีฬา3 ชุด -ทุนนักเรียน 20 ทุน -ถุงยังชีพ 40 ชุด -ปลูกต้นไม้ 14 ต้น -บริการทันตกรรม,ตรวจโรจ ผู้รับบริการ 350 คน -บริการตัดผมฟรี ,แจกกล้าไม้และบริการจัดนิทรรศการ 40 หน่วยงานจากจังหวัดและอำเภอ ศรีเมืองใหม่ – ภาพ : ข่าว กิตติศักดิ์ ประดับศรี รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / เริ่มแล้วจัดอย่างยิ่งใหญ่งานหมากม่วงหมากปรางของดีศรีสวรรคโลก จ.สุโขทัย / สุโขทัยซับน้ำตา ปชช.ที่เกิดภัยพิบัติดินสไลด์บ้านพัง

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อเวลา17.30น.ของวันที่26มีนาคม2568.ณ.ปะรำพิธี ถนนหน้าทางเข้าที่ว่าการอำเภอสวรรคโลกจังหวัดสุโขทัย นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย และ นาย เอนก วิทยาพิรุณทอง นายอำเภอสวรรคโลกพร้อมหัวหน้าส่วนราชการ แขกผู้มีเกียรติได้นั่งชมขบวนประเพณีและวัฒนธรรมขบวนรถที่ตกแต่งประดับประดาไปพืชพันธุ์ธัญญาหารผลไม้ในท้องถิ่นและสาวงามธิดาชาวสวน

พร้อมการแสดงร่ายรำการละเล่นประเพณีวัฒธรรมด้วยรวม10กว่าขบวนที่แห่โชว์ผ่านตลาดเทศบาลเมืองสวรรคโลกจากนั้น ทางผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้มาเป็นประธานพิธีเปิดงาน หมากม่วงหมากปรางของดีศรีสวรรคโลก ประจำปี2568

ณ.เวทีกลางหน้าที่ว่าการ ำเภอสวรรคโลกโดยมีนายอำเภอสวรรคโลกได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงานในครั้งนี้ พร้อมหัวหน้าส่วนงานและประชาชนได้ร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้.อนึ่งการจัดงานหมากม่วงหมากปรางของดีศรีสวรรคโลกได้จัดขึ้นประจำทุกปี

โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่23มีนาคมถึง31มีนาคม2568เป็นการจัดงานเพื่อที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเม็ดเงินไหลเวียนในอำเภอสวรรคโลกจากการค้าขายพืชผักผลไม้โดยมีผลไม้ที่ขึ้นชื่อประจำจังหวัดคือมะม่วง มะปราง มะยงชิด ละมุดเป็นต้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนต่อยอดเพิ่มรายได้เงินให้กับประชาชนเกษตรกรในพื้นที่ทั้งนี้ทางอำเภอก็ได้ประชาสัมพันธ์

โฆษณาการจัดงานผ่านสื่อฯ.ชักชวนนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมงานด้วยโดยภายในงานได้จัดเป็นบูชสำหรับค้าขายสินค้าทางการเกษตรผลไม้และบูชสินค้าผลิตภัณฑ์โอทอปสินค้าพื้นเมืองพร้อมบูชสินค้าอาหารพื้นเมืองขึ้นชื่อของเมืองอร่อยของดีศรีสวรรคโลกมาให้จับจ่ายซื้อขายภายในงานโดยมีเวทีกลางที่จัดไว้เพื่อการแสดงมากมาย

การประกวดธิดาชาวสวนและการแสดงจากประชาชนเจ้าหน้าที่จากท้องที่ท้องถิ่นและเยาวชนมาแสดงความสามารถในการร้องเพลงพร้อมเหล่าศิลปินนักร้อง ที่จัดมาแสดงในทุกๆค่ำคืนด้วย.
กิตติ พรดวงจันทร์ สุโขทัย ภาพ/ข่าว

จังหวัดสุโขทัยซับน้ำตา ปชช.ที่เกิดภัยพิบัติดินสไลด์บ้านพัง

เมื่อเช้า13.30น.ของวันที่27มีนาคม2568ณ.บ้านไม่มีเลขที่หมู่ที่4 ตำบลคลองกระจง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ได้มี การมอบบ้าน มอบเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ของจังหวัดสุโขทัย โดยนาย นพฤทธิ์ ศิริโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย

ได้มอบหมายให้ นาย ภูริวัจน์ โชตินพรัตน์ ปลัดจังหวัดสุโขทัย มาเป็นประธานพิธีมอบบ้านและเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัยผู้เสียชีวิต2รายทั้งนี้ นาย เอนก วิทยาพิรุณทอง นายอำเภอสวรรคโลกได้กล่าวรายงานสถานการณ์ที่เกิดเหตุและการดำเนินการ การเข้าช่วยเหลือ ทั้งนี้ นาย มนตรี ยี่โถ กำนันตำบลคลองกระจงและอีกตำแหน่ง (ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลคลองกระจง)

ได้กล่าวต้อนรับและกล่าวขอบคุณทั้งนี้ได้มอบเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย ของ สำนักนายกรัฐมนตรี(กรณีเสียชีวิต2ราย)ผู้รับนาย ชัยวัฒน์ กำทองคือบุตรของผู้เสียชีวิตและมอบบ้านผู้ประสบภัยทั้ง2หลัง หลังที่1นางสาว เอมิกา ค้าไม้2นาย ภานุมาศ บำเหน็จ โดยทั้งนี้ได้มีหลายหน่วยงานในจังหวัดสุโขทัยทั้งหน่วยงานท้องที่ ท้องถิ่นองค์กร ปภ. พช.พม. กาชาดก็ได้ร่วมมือกันเข้าช่วยเหลือและ

เข้าร่วมพิธีมอบบ้านในครั้งนี้ด้วย อนึ่งเมื่อวันที่8ตุลาคม2567ที่ผ่านมาได้เกิดเหตุดินสไลด์ทำให้บ้านพังเสียหาย2หลังและดินได้ทับผู้ประสบเหตุจมอยู่ใต้พื้นดิน3คนเจ้าหน้าที่อส.และกู้ภัยได้เข้าช่วยเหลือขึ้นมาได้ครั้งแรก2คนแต่เสียชีวิต1คนและได้เข้าค้นหาผู้เสียชีวิตอีก1ศพเพราะถูกดินสไลด์ทับไว้ทั้งนี้ทางจังหวัดสุโขทัยได้เข้าเยียวยาช่วยเหลือมอบเงินกองทุนผู้เสียชีวิตและก่อสร้างบ้านแล้วเสร็จจึงได้มอบให้ต่อไป
กิตติ พรดวงจันทร์ สุโขทัย ภาพ/ข่าว