คลังเก็บหมวดหมู่: กิจกรรมเพื่อสังคม

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ประชุมฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 3 โครงการจัดทำรายงาน EIA และสำรวจออกแบบถนนเลี่ยงเมืองแนวใหม่ บึงกาฬ

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 24 เมษายน 2568 ที่โรงแรมเดอะวัน อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ กรมทางหลวงชนบท โดยสำนักสำรวจและออกแบบ ได้จัด การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนครั้งที่ 3

โครงการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และสำรวจออกแบบ ถนนเลี่ยงเมืองแนวใหม่ ด่านศุลกากรบึงกาฬ – ทล.212 อ.เมือง จ.บึงกาฬ

โดยได้รับเกียรติจาก นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจังหวัดบึงกาฬ ถือเป็นเมืองเศรษฐกิจชายแดนที่มีศักยภาพสูง เป็นศูนย์กลางการค้าและการท่องเที่ยว เชื่อมโยงกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ สปป.ลาว

ซึ่งส่งผลให้การขยายตัวของเมืองและการจราจรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ กรมทางหลวงชนบท จึงได้ดำเนินโครงการออกแบบถนนเลี่ยงเมืองแนวใหม่ พร้อมศึกษาส่วนต่อขยายจาก ทล.222 ถึง ทล.212

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายการคมนาคม แก้ไขปัญหาการจราจร และ ส่งเสริมเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และคุณภาพชีวิตของประชาชน

สำหรับโครงการนี้ อยู่ในรัศมีใกล้แหล่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ จึงต้องจัดทำรายงาน EIA โดยมีบริษัทที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ได้แก่
• บริษัท เอพซิลอน จำกัด
• บริษัท อาร์มมี่เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เอ็นไวโรนเมนท์ จำกัด
• บริษัท เอเชีย แล็ป แอนด์ คอนซัลแตนท์ จำกัด

การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
นำเสนอผลการศึกษาโครงการในแต่ละด้าน
รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากประชาชน
นำข้อมูลไปประกอบการศึกษาให้เหมาะสมและตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง

รวมกันพัฒนาเมืองบึงกาฬให้เติบโตอย่างยั่งยืน
“เสียงของประชาชน คือพลังสำคัญในการขับเคลื่อนอนาคต”

ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล//บึงกาฬ 0961464326

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / พอ.สว. หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ บำบัดทุกข์บำรุงสุข แก่ประชาชน และกิจกรรมปกป้องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์

แชร์เนื้อหานี้

วันนี้( 23 เม.ย.68 ) เวลา 09.30 น. ที่องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ นายนคร ศิริปริญญานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานเปิดโครงการ ปกป้องเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ และนำหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. และโครงการจังหวัดบึงกาฬเคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และสร้างรอยยิ้มให้ประชาชน

โดยมีนายวรพันธ์ ชำนิยันต์ ปลัดจังหวัดบึงกาฬ นายประเสริฐ บินตะคุ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ หัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วย นายทวี ชิณรงค์ นายอำเภอ ฝ่ายปกครองอำเภอบึงโขงหลง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนชาวอำเภอบึงโขงหลง เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ได้รวมพลังกล่าวคำปฏิญาณถวายความจงรักภักดี แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จังหวัดบึงกาฬ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอนุญาตจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัติยราชนารี ให้เป็นจังหวัด พอ.สว. ลำดับที่ 54 ในปี พ.ศ. 2554 เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน จังหวัดบึงกาฬ

จึงได้จัดกิจกรรมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. และโครงการจังหวัดบึงกาฬคลื่อนที่ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข และสร้างรอยยิ้มให้ประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลดงบัง ตำบลดงบัง อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ

เพื่อให้ความช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลป้องกันโรค ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพอนามัย รวมถึงการนำบริการต่าง ๆ จากภาครัฐและภาคเอกชน ไปให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหา และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน ให้ได้รับบริการอย่างสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และทั่วถึง

โดยมีกิจกรรม เช่น การมอบสิ่งของ เครื่องอุปโภค บริโภค และทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส การออกหน่วยบริการแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. หน่วยบริการของส่วนราชการ/หน่วยงานราชการ และภาคเอกชน การออกเยี่ยมและมอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงและฐานะยากจนในพื้นที่

นายประเสริฐ บินตะคุ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ ในนามของหัวหน้าชุดหน่วยแพทย์ พอ.สว. กล่าวว่า การปฏิบัติงานของหน่วยแพทย์ในวันนี้ เป็นการออกหน่วยแพทย์ พอ.สว. เพื่อให้บริการประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ ที่ห่างไกลสถานบริการสาธารณสุข ได้เข้าถึงบริการทางการแพทย์ โดยให้บริการ ด้านการรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค บริการทันตกรรม และการแพทย์แผนไทย

การเข้าถึงบริการสาธารณสุข ประชาชนในพื้นที่ตำบลดงบัง และหมู่บ้านใกล้เคียงเมื่อมีการเจ็บป่วย จะเดินทางไปรับบริการที่โรงพยาบาลบึงโขงหลง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงบัง ปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่ของประชาชน พบว่า ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง ไข้หวัด โรคเบาหวาน โรคผิวหนัง ปัญหาสุขภาพช่องปาก และฟัน เป็นต้น ซึ่งการออกปฏิบัติงานครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ตลอดจนประชาชนสนใจรับบริการตรวจรักษาโรคทั่วไป 49 ราย

บริการทันตกรรม 32 ราย บริการแพทย์แผนไทย 24 ราย และกายภาพบำบัด 16 ราย รวมผู้รับบริการทั้งหมด 121 ราย และมีเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง 2 ราย ประชาชนทุกคน มีความซาบซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณ ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่ทรงมีพระเมตตาให้ปวงประชามีสุขภาพดี ทรงห่วงใยในทุกข์สุขของราษฎร โดยทรงจัดให้มีหน่วยแพทย์ พอ.สว.ไปบำบัดความทุกข์จากโรคภัยและดูแลสุขภาพของประชาชน ในท้องถิ่นทุรกันดาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ยังมีการจำหน่าย สินค้า OTOP สินค้าการเกษตรจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคในราคาที่เป็นธรรมอีกด้วย

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / รมว.กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเปิดการท่องเที่ยวสมโภชศาลหลักเมืองปรางค์กู่และเฉลิมฉลองวันสถาปนาอำเภอปรางค์กู่

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2568 ณ ศาลหลักเมืองปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ นายสรวงศ์ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยว กิจกรรมสมโภชศาลหลักเมืองปรางค์กู่และเฉลิมฉลองวันสถาปนาอำเภอปรางค์กู่ ในระหว่างวันที่ 18-24 เมษายน 2568 โดยมีนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และนายสุวรรณ เนตรเนติกุล นายอำเภอปรางค์กู่ นำหัวหน้าส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการอำเภอปรางค์กู่ ผู้บริหาร อปท. ผู้บริหารสถานศึกษา ข้าราชการและประชาชนในพื้นที่อำเภอปรางค์กู่ ร่วมให้การต้อนรับและเปิดโครงการในครั้งนี้

นายสุวรรณ เนตรเนติกุล นายอำเภอปรางค์กู่ กล่าวว่า ศาลหลักเมืองปรางค์กู่ ทำการก่อสร้างเมื่อปี 2559 โดยความเห็นชอบของกรมการอำเภอปรางค์กู่ ได้จัดหางบประมาณในการก่อสร้าง บนที่ดินเนื้อที่ จำนวน 2 งาน 24 ตารางวา บริเวณสามแยกไฟแดงของอำเภอปรางค์กู่ และทำการก่อสร้างสำเร็จเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 ตรงกับวันแรม 11 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล ใช้เวลา 4 ปี ในระหว่างการก่อสร้าง ได้มีการประกอบพิธีต่างๆเพื่อความเป็นสิริมงคล ยึดถือตามฤกษ์อันเป็นมงคล และเกิดความอัศจรรย์อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งผู้ร่วมพิธี และสาธุขนผู้ผ่านไปมา ได้สัมผัสรับรู้ถึงความศักดิ์สิทธิ์ในการประกอบพิธี ดังนี้ คือวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดในขณะประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดในขณะประกอบพิธียกเสา ยกเสาโท

วันที่ 26 พฤษภาคม 2565 เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดในขณะประกอบพิธียกช่อฟ้า และวันที่ 19 กรกฎาคม2566 เกิดพระอาทิตย์ทรงกลดในขณะประกอบพิธียกเสาหลักเมืองขึ้นประดิษฐาน ซึ่งความอัศจรรย์ดังกล่าว ถือเป็นนิมิตหมายอันดีที่เทวดาฟ้าดินได้รับรู้ถึงความสามัคคีศัทธาของชาวอำเภอปรางค์กู่
นายอำเภอปรางค์กู่ กล่าวต่อไปว่า อำเภอปรางค์กู่ ก่อนปีพุทธศักราช 2481 เป็นเพียงส่วมหนึ่งของอำเภอท้วยเหนือ จังหวัดขุขันธ์ ในเดือนธันวาคม 2502 กระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบให้ตั้งชื่อกิ่งอำเภอปรางค์กู่ โดยเหตุที่มีกู่เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลกู่ และอนุมัติให้ตั้งกิ่งอำเภอปรางค์กู่ ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2504 เป็นต้นไป ประกอบด้วย ตำลพิมาย ตำบลสมอ ตำบลกู่ และตำบลหนลหนองเชียงทูน มีเนื้อที่สำหรับที่ราชการ ประมาณ 3.32 ตารางกิโลเมตร ต่อมา ได้มีพระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอปรางค์กู่

เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2506 และในปีนี้ เป็นปีที่ครบรอบ 62 ปี อำเภอปรางค์กู่ โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนอาทิเช่น คณะสงฆ์ ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสถาบันการศึกษา สภาวัฒนธรรมอำเภอ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าชน ชาวอำเภอปรางค์กู่ จึงได้กำหนดจัดงานสมโภชศาลหลักเมืองปรางค์กู่และเฉลิมฉลองวันสถาปนาอำเภอปรางค์กู่ ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในระดับอำเภอเป็นการสนองนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Soft power) ให้เกิดการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับอำเภอ ให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายสินค้าของชุมชน

เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้เกิดสูงสุดและเพื่อสร้างความรักความสามัคคีของชาวอำเภอปรางค์กู่ ซึ่งในงานมีการจัดแสดงบูธนิทรรศการของดีบ้านฉัน การประกวดด้านการปศุสัตว์ ด้านการเกษตร ด้านงานฝีมือ และความสามารถด้านดนตรีและการร้องเพลงของเยาวชน อีกทั้งยังมีการประกวดการทำเมนูอาหารพื้นถิ่น เพื่อรักษาอัตลักษณ์ด้านการทำอาหารแบบดังเดิมให้คงอยู่ต่อไป และอำเภอปรางค์กู่ มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ปราสาทปรางค์กู่ ตั้งอยู่ที่บ้านกู่ หมู่ที่ 1 ตำบลกู่ อยู่ห่างจากอำเภอปรางค์กู่ ไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 5 กิโลเมตร และปราสาททามจาน หรือปราสาททินบ้านสมอ หมู่ที่ 12 ตำบลสมอ อยู่ห่างจากอำเภอไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 8 ก็โลมตร

ภาพ/ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์

filter: 0; fileterIntensity: 0.0; filterMask: 0; captureOrientation: 0; algolist: 0; multi-frame: 0; brp_mask:0; brp_del_th:null; brp_del_sen:null; delta:null; bokeh:0; module: photo;hw-remosaic: false;touch: (0.71753937, 0.51388377);sceneMode: 2621440;cct_value: 0;AI_Scene: (-1, -1);aec_lux: 0.0;aec_lux_index: 0;HdrStatus: auto;albedo: ;confidence: ;motionLevel: 0;weatherinfo: null;temperature: 49;

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ร่วมพิธีสูมาการวะดำน้ำดำหัวขอพรจาก ผู้ว่าราชการ จ.น่าน ในพิธีสงกรานต์ 2568

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 19 เมษายน 2568 จังหวัดน่านได้จัด พิธีสูมาการวะรดน้ำดำหัวขอพรจาก ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เนื่องในประเพณีสงกรานต์ ประจำปี 2568

ที่บริเวณสนามหญ้าหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน โดยมี นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วย นางเหมือนใจ วงศ์ใหญ่ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดน่าน นายนิวัฒน์ งามธุระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน,

นายบรรจง ขุนเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน, นางวิไลวรรณ บุดาสา รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน หัวหน้าส่วนราชการ, ทหาร, ตำรวจ,

ตัวแทนภาคเอกชน, พ่อค้า และประชาชนชาวน่าน รวมถึงสื่อมวลชนจังหวัดน่าน เข้าร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนาน

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการแสดงขับซอจากศิลปินพื้นบ้าน ขบวนกลองยาวจากสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน

และกลุ่มสตรีเทศบาลเมืองน่าน การจัดซุ้มอาหารจากหน่วยงานต่าง ๆ/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / เปิด “มหกรรมเทศกาลอาหารลุ่มน้ำโขง” ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่นรับ นทท. ช่วงสงกรานต์ และ ชมรมศิษย์เก่า มุกดาหารรุ่น 24 จัดกิจกรรม สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรครูบาอาจารย์ในวันสงกรานต์

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2568​ จังหวัดมุกดาหารยกระดับ Soft Power เพื่อให้สอดรับกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดมุกดาหารที่ว่า “เมืองการค้าทันสมัย เกษตรคุณภาพสูง ท่องเที่ยวชายโขง เชื่อมโยงสู่สากล”

ประกอบกับเป็นห้วงเวลาช่วงเทศกาลสงกรานต์ จังหวัดมุกดาหารจึงได้ขานรับนโยบาย Soft Power ผลักดันอาหาร ชูอัตลักษณ์ท้องถิ่น ด้วยการจัดงาน “มหกรรมเทศกาลอาหารลุ่มน้ำโขง” (Mekhong Food Festival) และ งานมหาสงกรานต์ 2568 ขึ้นในระหว่างวันที่ 13–15 เมษายน​นี้

ที่บริเวณจวนผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร (หลังเก่า) อ.เมืองมุกดาหาร จ.มุกดาหาร รวบรวมร้านค้าร้านอาหารปลอดภัย ของคนเมืองมุก มากกว่า 50 ร้านค้า รวมถึงการแข่งขันประกวด ทำอาหาร รวม 52 ตำบล 52 ทีม

กับการประกวดหมูหัน การประกวดส้มตำลีลา และการประกวด สำรับอาหารจากปลาแม่น้ำโขง รวมเงินรางวัล กว่า 72,000 บาท พร้อมการจัดงานแบบบูรณาการสุดยิ่งใหญ่ ” เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์​ Muk-Savan Fun & Fin Festival “

นายวรญาณ​ บุญณราช เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “มหกรรมเทศกาลอาหารลุ่มน้ำโขง” (Mekhong Food Festival) ประจำปี 2568 พร้อมขานรับนโยบาย Soft Power หนึ่งในนั้นคือด้านอาหารที่ทางจังหวัดมุกดาหาร มีความหลากหลาย และมีของดีประจำเมืองมากมาย เช่นหมูหันขึ้นชื่อ

สำหรับอาหารปลาน้ำโขง ส้มตำเลิศรส และอื่นๆอีกมากมาย ที่เป็นอัตลักษณ์ประจำเมืองมุกดาหาร อีกทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่งดงาม รวมทั้งแหล่งรวมศรัทธามนต์ขลังพญานาค 3 พิภพ

ซึ่งจังหวัดมุกดาหาร เป็นพื้นที่ติดริมแม่น้ำโขงที่มีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับพญานาคที่เกี่ยวพันกับแม่น้ำโขงมาอย่างช้านาน ด้วยความพร้อมพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการของจังหวัดมุกดาหาร

จึงผลักดันให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวในภูมิภาค และที่สำคัญได้มีสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 2 ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะเชื่อมโยงไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

และประเทศเวียดนาม เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมด้านเศรษฐกิจ การสร้างรายได้และกระจายรายได้สู่ชุมชน ให้มีความอยู่ดีกินดีต่อไป

มหกรรมเทศกาลอาหารลุ่มน้ำโขง #จังหวัดมุกดาหาร

ภาพ​/ข่าว​ เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777

ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียนมุกดาหารรุ่น 24 จัดกิจกรรม สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรครูบาอาจารย์ในวันสงกรานต์

ณ ร้านอาหารริเวอร์วิว นายปรีดา​ ชุติพร ประธานชมรม ศิษย์เก่าโรงเรียนมุกดาหาร รุ่น 24 คณะกรรมการ และ พระอาจารย์ประชุม สำนักสงฆ์ส่างโดน แจกวัตถุมงคลและของดี ผู้มาร่วมงาน

จัดกิจกรรม สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรครูบาอาจารย์ ที่เคยสั่งสอนมาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นนักเรียนมัธยมปลาย และไปศึกษาต่อ จนจบการศึกษาออกมาทำงาน บางคนก็เป็นครู ตำรวจ ทหาร และรับราชการในหน่วยงานต่างๆ

จึงรู้สึกสำนึกในบุญคุณครูบาอาจารย์ที่เคยสั่งสอนมา จึงจัดกิจกรรมรดน้ำขอพรเนื่องในวันสงกรานต์เป็นประเพณีโบราณที่สืบทอดต่อกันมา โดยลูกศิษย์แต่ละคนมอบมาลัยกร รดน้ำขอพร ครูอาจารย์

เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว และถวายอาหารพระเพล ณ วัดศรีบุญเรือง อำเภอเมือง​ จังหวัดมุกดาหาร เสร็จ กิจกรรมรับประทานอาหารร่วมกัน ที่จัดขึ้น โดยมีน้ำเป็นสัญลักษณ์ของความชุ่มชื่นเย็นฉ่ำ เด็กๆ รดน้ำผู้ใหญ่​เพื่อแสดงความรำลึก ความกตัญญูกตเวทิตา และผู้ใหญ่ก็จะให้พรกลับไป

นายสมบูรณ์ พรหมสุ้ย ตัวแทนครูอาจารย์กล่าว ให้พรอันประเสริฐใดๆ ในหล้าโลก ขอจงมีแก่ลูกศิษย์ทุกคน ทั้งตัวแทนและคนที่ไม่ได้มาในวันนี้ ขอให้ทุกหนทางที่ก้าวเดินไป ราบรื่น สุข สมหวัง สมดังใจปรารถทุกๆ ประการ และทุกๆ คนเทอญ​ ภาพ​/ข่าว​ เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / สงกรานต์ ขนทรายเข้าวัด-ปักตุงทำบุญปีใหม่เพื่อเสริมสิริมงคลในช่วงปี๋ใหม่เมือง วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อ.เมืองน่าน

แชร์เนื้อหานี้

จังหวัดน่าน สงกรานต์เริ่มแล้ว ประชาชน นักท่องเที่ยว ขนทรายเข้าวัด-ปักตุงทำบุญปีใหม่เมือง บรรยากาศเทศกาลสงกรานต์ที่จังหวัดน่านเริ่มคึกคัก วัดหลายแห่งเตรียมความพร้อมต้อนรับประชาชน และนักท่องเที่ยว ร่วมทำบุญเสริมสิริมงคลในช่วงปี๋ใหม่เมือง อย่างที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร อ.เมืองน่าน

ได้ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน จัดกิจกรรมสรงน้ำพระ บูชาตุง ข่วงสะหรีปี๋ใหม่เมืองน่าน จัดทำเจดีย์ทรายโดยใช้ไม้ไผ่สานมาขดให้เป็นวงกลม เพื่อให้ประชาชนชาวน่าน พุทธศาสนิกชน และนักท่องเที่ยว ได้ขนทรายมาใส่ให้เต็มเป็นชั้น ๆ และปักตุง 12 ราศี และสรงน้ำพระพุทธรูป

เพื่อเป็นสิริมงคล ซึ่งเป็นหนึ่งในประเพณีที่ชาวเหนือ ชาวล้านนายึดถือกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยมีความเชื่อว่าการปักตุงจะเป็นการช่วยเหลือญาติที่อยู่ในภพภูมิชั้นที่ต่ำกว่า ให้สามารถเกาะชายตุงขึ้นมาชั้นภพภูมิที่ดีกว่า ส่วนการขนทรายเข้าวัด เป็นการนำทรายมาทดแทนส่วนที่ติดเท้าออกไปจากวัด

เพื่อให้วัดได้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างต่างๆ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดและปฏิบัติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หรือ ปี๋ใหม่เมือง นายโยธิน ทับทิมทอง ผอ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานน่าน กล่าวว่า ประเพณีสงกรานต์หรือปี๋ใหม่เมืองชาวเหนือ ได้รับความสนใจจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ สามารถสะท้อนอัตลักษณ์

ประเพณี และวัฒนธรรมไทยสู่สายตาสากล อีกทั้งยังเป็นหนึ่งใน Soft Power ที่รัฐบาลไทยต้องการนำเสนอสู่สายตานักท่องเที่ยวทั่วโลก หลังจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียน สงกรานต์ในประเทศไทย เป็นมรดกโลกวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 เป็นประเพณีที่ทรงคุณค่าที่ขอเชิญชวนชาวไทยทุกท่านร่วมกันอนุรักษ์รักษาไว้

สำหรับจังหวัดน่านจัดงานมหาสงกรานต์ยิ่งใหญ่ “น่าน นันทบุรี สุขสะหรีปี๋ใหม่เมือง 2568 ตั้งแต่วันที่ 11 -16 เมษายน 2568 ทั้งภาครัฐและเอกชนได้จัดกิจกรรมหลากหลาย เพื่อเป็นการสืบสานงานประเพณีและวัฒนธรรมของไทย และกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยว และการกระจายตัวของการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในช่วงเทศกาลสงกรานต์ มาสัมผัสกับมนต์เสน่ห์ของเพณีสงกรานต์

ที่ยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเหนือต่างๆ มากมาย อาทิเช่น การทำบุญไหว้พระสรงน้ำพระพุทธรูปศักดิ์สิกดิ์สิทธิ์, การปักตุงก่อเจดีย์ทรายเสริมสิริมงคล ,พิธีสงเคราะห์สะตวงหลวงเมืองน่าน ชมขบวนน้ำสรงพระราชทานฯ สรงน้ำพระหลักเมืองน่าน และขบวนแห่พระเจ้าแวดเวียงน่าน ขบวนนางสงกรานต์ ชมการแสดงตีกลองปูจา กลองแอว ประชันจิสะโป็ก กิจกรรมเล่นน้ำสงกรานต์การแสดงดนตรี ของเยาวชนจังหวัดน่าน และการแสดงมินิคอนเสิร์ต ที่ถนนข้าวแต๋น

จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวทุกท่านร่วมกิจกรรมต่างๆ ในบรรยากาศที่เต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ของชาวเหนือ ความสนุกสนาน ตื่นตาตื่นใจจากการแสดงดนตรีสด ดนตรีพื้นบ้าน ได้เติมเต็มความสุขและผ่อนคลาย ในช่วงประเพณีสงกรานต์ ปี๋ใหม่เมืองนี้/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / เริ่มแล้ว.ประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารดี ดนตรีสนุก เมืองสวรรคโลก (หวันโลก Food & Fun) ประจำปี 2568

แชร์เนื้อหานี้


เมื่อเวลา 19.00 น.ของวันที่11เมษายน2568 ณ. บริเวณสวนสุขภาพเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เขตเทศบาลเมืองสวรรคโลกตรงข้ามที่ว่าการอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย

นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานในพิธีเปิดงานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารดี ดนตรีสนุก เมืองสวรรคโลก (หวันโลก Food & Fun) ประจำปี 2568

โดยมี พลเอก สวัสดิ์ ทัศนา สมาชิกวุฒิสภา นางนงลักษณ์ ก้านเขียว สมาชิกวุฒิสภา นางสาวสรินรัตน์ เกิดสกุลรุ่งโรจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย นายสมลักษ์ ยกน้อยวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย

นายสมเจตน์ ลิมปะพันธุ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายเอนก วิทยาพิรุณทอง นายอำเภอสวรรคโลก หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น

บุคลากรเทศบาลเมืองสวรรคโลก และประชาชนเข้าร่วมในพิธี ในการนี้ นายชาตรีวัฏฐ์ อินทร์บุหรั่น ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเมืองสวรรรคโลก กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดงาน

งานประเพณีสงกรานต์และเทศกาลอาหารดี ดนตรีสนุก เมืองสวรรคโลก (หวันโลก Food & Fun) ประจำปี 2568 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-15 เมษายน 2568 เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ

ในการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของท้องถิ่น รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในอำเภอสวรรคโลก บรรยากาศภายในงานเป็นไปอย่างคึกคัก

มีประชาชนชาวสวรรคโลกและพื้นที่ใกล้เคียงให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก รวมถึงผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาเพื่อพบปะครอบครัวและท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ทั้งนี้ภายในงานได้จัดเป็นซุ้มขายอาหารและจัดโต๊ะทานอาหารไว้บริการประชาชนที่เข้ามาเที่ยวชมงานชมการแสดงบนเวทีในทุกค่ำคืนอีกด้วย
กิตติ พรดวงจันทร์ สุโขทัย ภาพ/ข่าว

สื่อรัฐทีวี/มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ มอบอาหารกล่องให้ทีมกู้ภัย และอาสาสมัครจากหน่วยงานต่างๆ

แชร์เนื้อหานี้

10 เมษายน 2568 : 15.30-16.30 น. สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย ร.ต.ท.ดร.มนัส โนนุช ประธานสภาสังคมสงเคราะห์ฯ/ประธานมูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์,พ.ต.ศิริชัย ทรัพย์ศิริ กรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์ฯ/นายกสมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล,ทีมงาน พร้อมเจ้าหน้าที่มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ : ลงพื้นที่มอบอาหารกล่องให้กับหน่วยงานทีมกู้ภัย และอาสาสมัครจากหน่วยงานต่างๆ ที่ได้มาร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยตึก สตง.ถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์มูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์สมาคมคนพิการทางการเคลื่อนไหวสากล

ทหารผ่านศึกบัตรชั้นที่1

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / จัดพิธีสรงน้ำพระราชทาน พระพุทธมหามุนี หรือ หลวงพ่อโต พระคู่เมืองศรีสะเกษ

แชร์เนื้อหานี้

วันนี้ (10 เม.ย. 68) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานน้ำสรง เพื่อเชิญไปสรงพระพุทธมหามุนี (หลวงพ่อโต) ในงานนมัสการและสรงน้ำหลวงพ่อโต “บูชาพระใหญ่ ไหว์ตรุษสงกรานต์ สนานธรรมราช” ประจำปี 2568 ณ วัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ

ระหว่างวันที่ 10 – 16 เมษายน 2568 เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้นมัสการและสรงน้ำหลวงพ่อโต เป็นการรักษาไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ ความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม ตลอดจนเป็นการสร้างความสามัคคีของชุมชน วัด และส่วนราชการ

โดยมี พระพรหมวชิรดม เจ้าคณะภาค 10 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ มีนายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานฝ่ายฆาราวาส นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม นายธาตรี สิริรุ่งวนิจ รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และพุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมในพิธีเป็นเจ้านวนมาก

พระพุทธมหามุนี หรือ หลวงพ่อโต เป็นพระนามของพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ที่ชาวบ้านชาวเมืองศรีสะเกษและพุทธบริษัททั่วไปเรียกขานจนติดปากถึงทุกวันนี้ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ปางมารวิชัย ศิลปะแบบนครจำปาสัก สกุลช่างเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก สร้างเมื่อราวปี พ.ศ. 2328 สร้างด้วยก่ออิฐฉาบปูน

หรือหล่อด้วยปูน หรือแกะสลักหิน ยังสันนิษฐานไม่ถนัดนัก มีขนาดตั้งแต่รากฐานถึงยอดพระเมาลีสูง 6.85 เมตร หน้าตักกว้าง 3.5 เมตร เฉพาะพระพาหา (แขน) ไม่สามารถจะโอบรอบได้ พุทธลักษณะงดงามตามยุคสมัย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารวัดมหาพุทธารามหลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการเคารพ สักการะบูชา และยกย่องเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษ มาตั้งแต่สมัยเมืองศรีนครเขต จนถึงปัจจุบัน มีอายุราว 240 ปี (พ.ศ.2568)

ภาพ)ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / แถลงข่าว แห่นาคมหาโหด หนึ่งในพิธีกรรมที่แปลกที่สุดแห่งเดียวในภาคอีสาน

แชร์เนื้อหานี้

พิธีจัดแถลงข่าวแห่นาคมหาโหดหนึ่งในพิธีกรรมที่แปลกที่สุดแห่งเดียวในภาคอีสาน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความศรัทธาอันแรงกล้าที่มีต่อการบวชซึ่งเอกลักษณ์อันลือชื่อแห่งบ้านโนนเสลาและสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นมายาวนาน โดยนายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เป็นประธาน

เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 เวลาประมาณ 16.00 น.นายบัลลังก์ ไวทย์ศิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วยนายวรศิษย์ พุฒจีบ นายอำเภอภูเขียว พ.ต.อ.สมิต นันท์นฤมิตร ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรภูเขียว

นายวิษณุ ชัยมีเขียว นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองตูม น.ส.วรวรรณ ปราณีตพลกรัง รองผู้อำนวยการ ททท.นครราชสีมา นายศักดิ์สิทธิ์ สิงหรา ณ อยุธยา ผอ.รพ.สต.โนนเสลาและนางธิดารัตน์ อากรตน ประชาสัมพันธ์จังหวัดชัยภูมิ

ร่วมกันจัดแถลงข่าวประเพณีแห่นาคมหาโหดซึ่งเป็นพิธีกรรมเก่าแก่ซึ่งสืบทอดกันมายาวนาน การแห่นาคของหมู่บ้านโนนเสลาเป็นการทดสอบกำลังใจ ความอดทนสุขภาพร่างกายของนาคก่อนเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์

โดยนาคจะนั่งบนแคร่ไม้ไผ่ซึ่งมีเพื่อนฝูงแบกหามแคร่ไปตามถนนในหมู่บ้าน ระหว่างทางจะมีการโยนนาคขึ้นลงเป็นระยะอย่างรุนแรงเป็นที่น่าหวาดเสียวและเป็นการฝึกจิตใจของนาคให้แข็งแกร่งพร้อมจะละทิ้งทางโลก

เพื่อเข้าสู่เพศสมณะและเป็นการโปรโมทแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ กำหนดงานระหว่าง 1-2 พฤษภาคม 2568 ณ.วัดตาแขก บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

ภาพ/ข่าว กบชุมแพ