คลังเก็บหมวดหมู่: การศึกษา

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ นโยบายการพัฒนาการศึกษา “สพม.น่าน องค์กร คุณภาพ-คุณธรรม/รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2568 ณ โรงเรียนไตรประชาวิทยา อ.ปัว

แชร์เนื้อหานี้

นางนัฑวิภรณ์ จันต๊ะพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน กล่าวภายหลังเปิดการประชุมผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ครั้งที่ 5/2567 พ.ศ. 2567 ว่า การประชุมครั้งนี้ นอกจากจะเป็นการชี้แจงข้อราชการในการดำเนินงาน และติดตามผลการดำเนินงานแล้ว ยังเป็นการมอบนโยบายในการร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 โดยใช้สหวิทยาเขตเป็นฐานและเครือข่ายนิเทศ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ ตั้งเป้า “ปีทองแห่งคุณภาพ
คู่คุณธรรม” สร้างค่านิยมให้ สพม.น่าน เป็น “องค์กรแห่งคุณภาพคู่คุณภาพ ขับเคลื่อนนวัตกรรม สู่อนาคตที่ยั่งยืน” จัดการบริหารแบบมีส่วนร่วม ด้วยกระบวนการ SPARK “เชิงลุก” (LOOK) Model

S = SWOT (Look Over) มองให้ทั่วให้รอบด้านทุกมิติ
P = PLAN & PREVIEW (Look Ahead) มองไปข้างหน้า วางแผนอนาคต
A = ACTION & ACTIVE (Look Into) ลงมือปฏิบัติเชิงรุกอย่างรอบคอบ
R = REVIEW & MONITORING (Look Back) ทบทวน ปรับปรุง กำกับ ติดตาม
K = Knowledge Management (Look Up to) จัดการความรู้เพื่อพัฒนาต่อยอด ชื่นชม ยกย่อง พร้อมมอบ 5 นโยบายภายใต้ธรรมาภิบาล เพื่อให้โรงเรียน “น่าดู น่าอยู่ น่าเรียน” เป็นบ้านแห่งความสุขของครูและนักเรียน
ตามนโยบาย เรียนดี มีความสุข

  1. นโยบายด้านความปลอดภัย (Safety) ที่มี “3 เสาหลัก” ปลอดภัยทุกมิติ คือ ด้านอาคารสถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในโรงเรียน ด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติการจัดทำแผนเผชิญเหตุ และ ด้านการศึกษา ลดความเสี่ยง และการรับรู้ปรับตัวจากภัยพิบัติ พร้อมเดินหน้าสถานศึกษาปลอดภัย ด้วยหลัก 3 ป “ป้องกัน” คือ การวางแผน จัดโครงสร้างการบริหารประเมินความเสี่ยงอย่างรอบด้าน “ปลูกฝัง” คือ พัฒนาความรู้ ทักษะ เจตคติสมรรถนะด้านความปลอดภัยให้แก่ นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา และ “ปราบปราม” คือ ดำเนินการจัดการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือ เยียวยา ฟื้นฟู และดำเนินการ
    ตามขั้นตอนของกฎหมาย
  2. นโยบายด้านคุณธรรม (Morality) พัฒนาคุณธรรม ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนด้วยหลัก
    “พุทธธรรม” เพื่อให้เป็นคนดี มีความสุข เช่น อิทธิบาท 4 สังคหวัตถุ 4 พรหมวิหาร 4 ไตรสิกขา อริยสัจ 4 สัปปุริสธรรม 7 และกัลยาณมิตร 7 เป็นต้น
  3. นโยบายด้านคุณภาพ (Quality) พัฒนานักเรียนทั้งในด้านวิชาการ วิชาชีพ วิชาชีวิตและองค์กรคุณภาพ พัฒนานวัตกรรม สร้างคนดี มีความสุข
  4. นโยบายด้านโอกาส (Opportunity) ส่งเสริมการเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา (Anywhere Anytime), เฟ้นหาและช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบการศึกษา (Thailand Zero Dropout), การดูแลช่วยเหลือนักเรียน การแนะแนวการเรียนและเป้าหมายชีวิต และนักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn)
  5. นโยบายด้านประสิทธิภาพ (Efficiency) การบริหารจัดการโดยใช้พื้นที่ (สหวิทยาเขต) เป็นฐาน, การนำเทคโนโลยีดิจิทัล
    มาใช้ในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน, พัฒนาคุณภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา,
    เพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารองค์กรและผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
    “ทั้งหมดนี้เป็นความตั้งใจ เป็นนโยบายรวมทั้งจุดเน้นที่ตั้งใจจะนำมามอบให้ผู้อำนวยการสถานศึกษา ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้รับทราบและจะได้เตรียมการเพื่อร่วมกันดำเนินการขับเคลื่อนยกระดับการศึกษาของ สพม.น่าน
    ให้กลายเป็นองค์กรแห่งคุณภาพคู่คุณธรรม ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม สู่อนาคตที่ยั่งยืน” นางนัฑวิภรณ์ กล่าวปิดท้าย /บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

จัดประเมินสภาพการปฏิบัติงานและการออกเก็บข้อมูลเชิงลึกของครูผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2568 ณ โรงเรียนไตรประชาวิทยา อำเภอปัว

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. คณะอนุกรรมการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2568 จังหวัดน่าน ณ โรงเรียนไตรประชาวิทยา อำเภอปัว โดยมีดร.สุวรินทร์ เพ็ญธัญญการ รองศึกษาธิการจังหวัดน่าน เป็นประธานประเมิน และเก็บข้อมูลเชิงลึก
ในครั้งนี้มีบุคคล และหน่วยงานเสนอรายชื่อครู ผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี 2568

โดยเป็นครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ ครูผู้มีคุณูปการต่อการศึกษา จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย นายศุภนิตย์ สิทธิชัย โรงเรียนวรนคร (ลูกศิษย์เสนอชื่อ) นางวิมลรัตน์ ทักษิณ โรงเรียนไตรเขตประชาวิทยา (หน่วยงานเสนอชื่อ) นางวาสนา นันทเสน โรงเรียนสมาคมพยาบาลไทย (หน่วยงานเสนอ) และนางสาวมัญชรี ศรีเวียงฟ้า โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม (หน่วยงานเสนอชื่อ) เพื่อเข้ารับการคัดเลือกผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ระดับจังหวัดต่อไป โดยคณะอนุกรรมการฯ มีกำหนดการออกประเมินสภาพการปฏิบัติงานและการออกเก็บข้อมูลเชิงลึกของครูผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2568 จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2567

วันนี้เป็นการลงพื้นที่ประเมินสภาพการปฏิบัติงานและการออกเก็บข้อมูลเชิงลึกของครูผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ของนางวิมลรัตน์ ทักษิณ ซึ่งมีลูกศิษย์ คณะครู ผู้ปกครองเข้าร่วมให้ข้อมูลเชิงลึกแก่คณะอนุกรรมการเป็นจำนวนมาก

สำหรับ นางวิมลรัตน์ ทักษิณ ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนไตรประชาวิทยา ปฏิบัติการสอนมาเป็นเวลา 15 ปี ในรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ เป็นครูผู้ได้รับการยกย่องจากทั้งลูกศิษย์ คณะครู และผู้ปกครอง ทั้งด้านเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ และด้านผู้มีคุณูปการต่อการศึกษา มีความมานะพยายามในการดูแลลูกศิษย์ทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน นอกจากนี้ครูวิมลรัตน์ ยังได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย อาทิ ได้รับรางวัลหนึ่งแสนครูดี ประจำปี 2557 สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น ระดับเพชร โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2565 กระทรวงศึกษาธิการ

ได้รับรางวัลเสมา ป.ป.ส. ประเภทผลงานดีเด่น รักษามาตรฐานระดับเพชรปีที่ 1 โครงการสถานศึกษาสีขาว ปลอดยาเสพติดและอบายมุข ปีการศึกษา 2566 กระทรวงศึกษาธิการ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับชาติ รางวัลเหรียญทอง ครูผู้สอนยอดเยี่ยมระดับประถมศึกษา ผู้ปฏิบัติงานดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับประถมศึกษา ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน โครงการประกวดหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ครั้งที่ 11 ประจำปีการศึกษา 2564

รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ระดับภาคเหนือ รางวัลเหรียญทอง ครูผู้สอนยอดเยี่ยมระดับประถมศึกษา กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนโครงการประกวดหน่วยงานและผู้มีผลงานดีเด่นที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์ ครั้งที่ 12 ประจำปีการศึกษา 2565-2566 เป็นต้น/ข่าว/กัมปนาท พอจิต/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สื่อรัฐทีวี สื่อรัฐนิวส์ / คัดเลือกครู ได้รับพระราชทาน ครั้งที่ 6 ปี 2568 โรงเรียนบ้านปรางค์อ.ปัวจ.น่าน

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.00 น. คณะอนุกรรมการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2568 จังหวัดน่าน ณ โรงเรียนบ้านปรางค์ อำเภอปัว โดยมีดร.สุวรินทร์ เพ็ญธัญญการ รองศึกษาธิการจังหวัดน่าน เป็นประธานประเมิน และเก็บข้อมูลเชิงลึก

ในครั้งนี้มีบุคคล และหน่วยงานเสนอรายชื่อครู ผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี 2568 โดยเป็นครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ ครูผู้มีคุณูปการต่อการศึกษา จำนวน 4 ราย ประกอบด้วย นายศุภนิตย์ สิทธิชัย โรงเรียนวรนคร (ลูกศิษย์เสนอชื่อ) นางวิมลรัตน์ ทักษิณ โรงเรียนไตรเขตประชาวิทยา (หน่วยงานเสนอชื่อ)

นางวาสนา นันทเสน โรงเรียนสมาคมพยาบาลไทย (หน่วยงานเสนอ) และนางสาวมัญชรี ศรีเวียงฟ้า โรงเรียนตาลชุมพิทยาคม (หน่วยงานเสนอชื่อ) เพื่อเข้ารับการคัดเลือกผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ระดับจังหวัดต่อไป โดยคณะอนุกรรมการฯ มีกำหนดการออกประเมินสภาพการปฏิบัติงานและการออกเก็บข้อมูลเชิงลึกของครูผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ปี พ.ศ. 2568 จังหวัดน่าน ระหว่างวันที่ 4-8 พฤศจิกายน 2567

วันนี้เป็นการลงพื้นที่ประเมินสภาพการปฏิบัติงานและการออกเก็บข้อมูลเชิงลึกของครูผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกครูผู้สมควรได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ครั้งที่ 6 ของนายศุภนิตย์ สิทธิชัย (ลูกศิษย์เสนอชื่อ) โรงเรียนบ้านปรางค์ (โดยได้รับการเสนอชื่อขณะปฏิบัติหน้าที่ ณ โรงเรียนวรนคร อ.ปัว) ซึ่งมีลูกศิษย์ คณะครู ผู้ปกครองเข้าร่วมให้ข้อมูลเชิงลึกแก่คณะอนุกรรมการเป็นจำนวนมาก

สำหรับ นายศุภนิตย์ สิทธิชัย ครูวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านปรางค์ ปฏิบัติการสอนมาเป็นเวลา 17 ปี ในรายวิชาศิลปะ เป็นครูผู้ได้รับการยกย่องจากทั้งลูกศิษย์ คณะครู และผู้ปกครอง ทั้งด้านเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิตลูกศิษย์ และด้านผู้มีคุณูปการต่อการศึกษา มีความมานะพยายามในการดูแลลูกศิษย์ทั้งในชั้นเรียน และนอกชั้นเรียน สามารถนำพาลูกศิษย์เข้าร่วมการแข่งขันด้านศิลปะ จนสามารถคว้ารางวัลทั้งระดับภาคและระดับประเทศหลายรายการ นอกจากนี้ครูศุภนิตย์ ยัง

ได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย อาทิ เป็นผู้เข้าร่วมเผยแพร่การจัดการเรียนรู้ Active Learning กิจกรรม 129 สุดยอด Best Practice
การจัดการเรียนรู้ Active Learning ของสพฐ. ปีการศึกษา 2564 จากการทำโครงการวาดน่านบ้านฉัน ได้รับรางวัลระดับเหรียญทองรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ระดับภาคเหนือ รางวัลทรงคุณค่า สพฐ. (OBEC AWARDS) ครั้งที่ 12
ปีการศึกษา 2565 – 2566เป็นตัวแทนเข้าร่วมประกวดระดับชาติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโรงเรียนวรนคร

ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาคเหนือ การแข่งขันสร้างสรรค์จินตนาการผ่านศิลปะ “กล้าใหม่…ใฝ่รู้” ธนาคารไทยพาณิชย์ ปีการศึกษา 2566 ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติหนึ่งแสนครูดี เป็นผู้จัดกิจกรรมศิลปะเพื่อสังคม ถนนศิลปะปัว เป็นต้น/ข่าว/ กัมปนาท พอจิต/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / มท.1 ติดตาม ก่อสร้างโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน /พิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถและพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเทพโลกอุดร

แชร์เนื้อหานี้

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (3 พ.ย. 67) เวลา 10.00 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย พร้อมด้วยนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายพงษ์นรา เย็นยิ่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก บริเวณที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นน 405 (บางส่วน) ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน โดยมีนายบัณฑูร ล่ำซำ รองประธานกรรมการมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำชม

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า โครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก มีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา แต่เดิมเป็นที่ตั้งของอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 48 เห็นชอบประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน และเห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน ส่วนหนึ่งของแผนแม่บท กำหนดให้ปรับปรุงการใช้พื้นที่อาคารส่วนราชการเดิใเพื่ออนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้

ทั้งนี้ วันที่ 14 ก.ย. 66 กระทรวงมหาดไทยได้ลงนามสัญญาอนุญาตให้มูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ ดำเนินโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านฯ ซึ่งประกอบด้วย 1. หอศิลปวัฒนธรรม 2. อาคารหอประชุมอเนกประสงค์ 3. อาคารบริการ 4. สวนพฤกษศาสตร์ และ 5. ลานกิจกรรม

เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ภายในอาคารจะมีการจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนต้นทุนทางวัฒนธรรมต่อยอดปัญญาของบรรพชน และพื้นที่ศูนย์สร้างสรรค์ทางปัญญา NAN’S CREATIVE CENTER ได้แก่ พื้นที่เรียนรู้โดยสื่อดิจิทัล ลานเรียนรู้สำหรับเด็กเล็ก ลานกิจกรรมสัมมนา ห้องประชุมสำหรับทั้งแบบส่วนบุคคลและแบบกลุ่ม และห้องสมุดดิจิทัล

“ที่นี่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เมืองน่านให้กับเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป ตามแนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการ สืบสาน รักษา และต่อยอดรากเหง้า ความเป็นชนชาติไทย ที่ได้รับการแบ่งเบาพระราชภาระโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวจังหวัดน่าน” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

การตรวจติดตามในครั้งนี้มีนายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นางวจิราพร อมาตยกุล นายบรรจง ขุนเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พลตรี วรเทพ บุญญะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38 พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมลงพื้นที่

จากนั้นรองนายกรัฐมนตรี และคณะเยี่ยมชม สักการะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ณ วัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง อ.ภูเพียง จ.น่าน องค์พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดน่าน เป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ปีนักษัตรพระราชสมภพในหลวง รัชกาลที่ 9 ปัจจุบันมีอายุกว่า 671 ปี/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

น่าน พิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถและพิธีถวายผ้าพระกฐินประทานสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ณ วัดเทพโลกอุดร

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดเทพโลกอุดร บ้านมงคลนิมิต ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พลเรือเอกพิเชฐ ตานะเศรษฐเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถ และพิธีถวายผ้าพระกฐินประทานสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก

โดยมีพระราชศานาภิบาลเจ้าคณะจังหวัดน่าน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระสุนทรมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน พระครูสิรินันทวิทย์ เจ้าคณะอำเภอเมืองน่าน พระครูนิเทศนันทกิจ เจ้าคณะตำบลผาสิงห์ –บ่อ พระอาจารย์นิรัช จัตตสัลโล เจ้าอาวาสวัดเทพโลกอุดร พระอาจารย์สุรวงศ์ ปัญญาวโร คณะสงฆ์วัดเทพโลกอุดร ทุกรูป ผู้บริหารกลุ่มบริษัทพัทยา พล.ต.รุศมนตรี จิณเสน คุณแม่มาลัย จันทะเสน นายนพรัตน์ ถาวงศ์ นายก อบจ.น่าน นายศรีรุ่ง รัตนศิลา ประธานหอการค้าจังหวัดน่าน

พล.ท.สามารถ โพธิสระ อ.พูลศรี เกียรติกำจาย พ.ต.อ.หญิง ศิริพรรณ พูลสุข พ.อ.ดร.พงศ์ศิริ พงศ์อาริยะมงคล ทหารจาก มทบ.ที่ 38 กองพันทหารม้าที่ 10 กองพันทหารม้าที่ 15 กรมทหารม้าที่ 2 ตำรวจภูธรน่าน ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดน่านและ ทุกสารทิศ ร่วมพิธีและร่วมปวารณาถวายจตุปัจจัยเพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถหลังแรก ด้วยวัดเทพโลกอุดร ได้รับการแต่งตั้งเป็นวัดตามมติของมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจึงประกาศเรื่องการตั้งในพระพุทธศาสนา

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีอุโบสถในการทำสังฆกรรมต่างๆของคณะสงฆ์ ดังนั้นคณะสงฆ์ คณะกรรมการและศิษยานุศิษย์วัดเทพโลกอุดร จึงได้กำหนดจัดพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถและพิธีถวายผ้าพระกฐินประทานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถหลังแรกขนาด 22X39 เมตร ซึ่งเป็นอุโบสถแบบศิลปะล้านนา เพื่อเป็นสถานที่สำหลับทำสังฆกรรมของคณะสงฆ์และสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้คงสืบไป และท้ายนี้ต้องขอขอบคุณเจ้าภาพโรงทาน ทุกท่านที่นำอาหารหวานคาวและน้ำดื่มมาร่วมโรงทานในครั้งนี้ ขอบคุณเจ้าของรถราง พนักงานขับรถรางทุกท่าน

ที่คอยรับส่งผู้มาร่วมงานทำบุญในครั้งนี้ ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมทั้งอานิสงส์บุญบารมีที่ท่านได้ร่วมพิธีทำวางศิลาฤกษ์อุโบสถหลังแรกและพิธีถวายผ้าพระกฐินประทานในครั้งนี้ โปรดอำนวยอวยพรให้ท่านและครอบครัวประสพแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิฎาณ ธนสารสมบัติ มีความสุข ความเจริญรุ่งเรืองและสัมฤทธิ์ผลในสิ่งอันพึงปรารถนา ทุกประการเทอญ/

บุญยงค์ สดสะอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน DJ ม้าศึก/DJ ป๋วย รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ผอ.สคร.9 นครราชสีมาแนะวิธีการป้องกันอุบัติเหตุเมื่อเดินทางไปทอดกฐิน

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 ณ สคร.9 นครราชสีมา โดย นายแพทย์ทวีชัย วิษณุโยธิน ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา จัด
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายสื่อมวลชนในเขตสุขภาพที่ 9 ด้านการสื่อสารความเสี่ยงเรื่องโรคและภัยสุขภาพ ปี 2568 กล่าวในที่ประชุมว่า

ช่วงนี้เป็นช่วงที่ประชาชนเดินทางไปทอดกฐิน และเกิดอุบัติเหตุหลายครั้ง สถานการณ์อุบัติเหตุในเขตสุขภาพที่ 9 ในช่วงเทศกาลออกพรรษานี้ ประชาชนมักเดินทางไปทำบุญทอดกฐินตามวัดต่างๆ ที่ตนเองมีความเลื่อมใสศรัทธา ในต่างจังหวัด ซึ่งรูปแบบการเดินทางที่นิยมคือ ใช้รถบัสโดยสาร ซึ่งเหมาะกับการเดินทางเป็นหมู่คณะ ที่ผ่านมา มีอุบัติเหตุจากการเดินทางไปทอดกฐินเกิดขึ้นหลายครั้ง ทำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียชีวิต

ในส่วนของเขตสุขภาพที่ 9 ในปี 2566 ที่ผ่านมาพบว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน สูงสุดอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มากถึง 769 ราย รองลงมาคือจังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และชัยภูมิ ตามลำดับ ส่วนใหญ่พบมากที่สุดคือในเพศชาย ช่วงกลุ่มอายุ 15-19 ปี และพบการเสียชีวิตจากรถจักรยานยนต์ โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงมากที่สุดคือ การไม่สวมหมวกนิรภัย

วิธีการในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเดินทางไปทำบุญทอดกฐินสคร.9 มีข้อแนะนำประชาชนในการเดินทางไกลเป็นหมู่คณะ
โดยวางแผนและศึกษาเส้นทางก่อนออกเดินทาง และวิธีเช่าเหมารถโดยสารไม่ประจำทาง เพื่อการเดินทางไปทำบุญทอดกฐินที่ปลอดภัย ดังนี้
การคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งและพนักงานขับรถ
1.เลือกบริษัทที่เป็นนิติบุคคล ทำประกันภัยภาคบังคับและภาคสมัครใจ ผ่านการตรวจสอบสภาพรถและต่อภาษี
2.เลือกใช้รถแบบชั้นเดียว ไม่ควรใช้รถแบบ 2 ชั้น โดยเฉพาะทางภูเขาลาดชัน

3.ควรมีเข็มขัดนิรภัยทุกที่นั่งและใช้การได้
4.เบาะที่นั่งยึดติดตั้งแข็งแรง ไม่ควรเลือกรถที่มีการดัดแปลง
ที่นั่ง เพื่อให้ได้พื้นที่นั่งมากขึ้น
5.มีอุปกรณ์นิรภัยติดตั้งบนรถ เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น
6.ต้องไม่บรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่ง
7.พนักงานขับรถควรมีใบอนุญาตขับขี่ประเภท 2 สามารถขับรถส่วนบุคคลหรือรถสาธารณะได้

สคร.9 นครราชสีมา มีความห่วงใยประชาชนในช่วงทำบุญทอดกฐินนี้ และขอให้คณะเดินทาง สังเกตความปลอดภัยในรถ เช่น มองหาทางเข้าออก ประตูฉุกเฉิน และสังเกตุอากัปกิริยาของพนักงานขับรถว่ามีการดื่มสุรา พักผ่อนไม่เพียงพอ หรืออยู่ในสภาพที่พร้อมขับขี่หรือไม่ ที่สำคัญผู้โดยสารตั้งคาดเข็มขัดนิรภัยขนะเดินทางตลอดเวลา เพื่อให้เกิดความปลอดภัย และอิ่มใจได้บุญ

กันตินันท์ เรืองประโคน นครราชสีมา รายงาน/ 061-768-8210