คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวร้องเรียน ร้องทุกข์

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ​ด่านศุลกากรมุกดาหารแพ้อุทธรณ์ คณะกรรมการวินิจฉัยฯ สั่งให้เปิดเผยข้อมูลการนำเข้าหิน กรวด ทราย จาก สปป.ลาว​ แก่ ‘สุเทียน’

แชร์เนื้อหานี้

ร้อยตำรวจตรี สุเทียน ทองโสม ประธานชมรมรักษ์มุกดาหาร เปิดเผยว่า คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาเศรษฐกิจและการคลัง ได้มีคำวินิจฉัยเรื่อง อุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของด่านศุลกากรมุกดาหาร เกี่ยวกับสัญญาซื้อขายและพิกัดแผนที่การดูดหิน กรวด ทราย ซึ่งตนเป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ โดยมีด่านศุลกากรมุกดาหารเป็นหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมาตนได้ทำหนังสือถึงด่านศุลกากรมุกดาหาร ขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้ประกอบการของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ที่ทำสัญญาซื้อขายหิน กรวด ทราย กับผู้ประกอบการขออนุญาตนำเข้านอกทางอนุมัติในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร แต่ด่านศุลกากรมุกดาหาร ได้ปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารโดยให้เหตุผลว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการและเป็นข้อมูลการประกอบธุรกิจการค้าในนิติสัมพันธ์ของเอกชน จึงไม่สามารถ จัดส่งข้อมูลให้กับผู้อุทธรณ์ตามที่ร้องขอได้ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ เป็นเหตุให้ตนได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของด่านศุลกากรมุกดาหาร ดังกล่าวต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งต่อมาคณะกรรมการฯ ได้รับคำขออุทธรณ์ไว้วินิจฉัย โดยมีด่านศุลกากรมุกดาหารคัดค้านว่า ข้อมูลผู้ประกอบการของ สปป.ลาวและพิกัดรูปแผนที่ของแปลงสัมปทาน ดูดทรายนั้นเป็นสิ่งที่สื่อความหมายให้รู้เรื่องราวข้อเท็จจริง ถือว่าเป็น “ข้อมูลข่าวสาร” และเป็นข้อมูล ข่าวสารเกี่ยวกับเอกชนที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมดูแลของหน่วยงานของรัฐ คือ ด่านศุลกากรมุกดาหาร จึงถือว่าเป็น “ข้อมูลข่าวสารของราชการ” และข้อมูลข่าวสารของราชการดังกล่าว ไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการ ที่หน่วยงานของรัฐต้องส่งพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาให้ประชาชนทราบ และไม่ใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการที่หน่วยงานของรัฐต้องจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ข้อมูลที่ร้องขอเป็นข้อมูลข่าวสารของราชการที่ผู้ประกอบการยื่นต่อด่านฯ เพื่อใช้ประกอบการปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการนำเข้าทรายตามปกติเท่านั้น ไม่ใช่ข้อมูลข่าวสาร ที่ผู้ประกอบการประสงค์จะให้ด่านฯ นำไปเปิดเผยได้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ร้องขอของผู้ประกอบการ สปป.ลาว จะเป็นข้อมูลเฉพาะบุคคลซึ่งเป็นผู้ขายทราย จึงถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นข้อมูล ที่เกี่ยวพันกับคู่สัญญาที่มีนิติสัมพันธ์กันระหว่างเอกชนที่เป็นคู่สัญญาเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับบุคคลอื่นใดเป็นข้อมูลที่ไม่รู้กันโดยทั่วไป เป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และเกี่ยวข้องกับธุรกิจการค้า จึงเป็นความลับทางการค้า ไม่ใช่ข้อมูลทั่วไปที่สามารถแสดงหรือเปิดเผยต่อสาธารณชนได้

ต่อมา คณะกรรมการวินิจฉัยฯ ได้พิจารณาคำอุทธรณ์ คำชี้แจงด้วยวาจาของผู้อุทธรณ์ รวมทั้งคำชี้แจงและเหตุผลในการปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของด่านศุลกากรมุกดาหาร และเอกสารที่เกี่ยวข้องแล้ว มีความเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารในใบยั่งยืนซึ่งมีรายละเอียด ชื่อบริษัท ผู้ขาย ข้อกฎหมาย พื้นที่และเนื้อที่ที่ใช้ในการดูด หิน กรวด และทรายใน สปป.ลาว กำหนดระยะเวลาในการดูด หิน กรวด และทรายในพื้นที่ สปป.ลาว ย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับ ผู้ประกอบการจาก สปป.ลาว แต่อย่างใด สำหรับประเด็นที่ด่านศุลกากรมุกดาหารอ้างว่า ข้อมูลสัญญาซื้อขายและข้อมูลใบยั่งยืนมีลักษณะเป็นความลับทางการค้านั้น เห็นว่ารายละเอียดของสัญญาซื้อขายหิน กรวด ทราย และ ข้อมูลใบยั่งยืนของผู้ประกอบการ สปป.ลาว ที่ทำสัญญาซื้อขายกับ ผู้ประกอบการไทย ประกอบด้วยชื่อบริษัทผู้ขาย ข้อกฎหมาย พื้นที่และเนื้อที่ที่ใช้ในการดูดหิน กรวด และทรายใน สปป.ลาว กำหนดระยะเวลาในการดูดหิน กรวด และทรายในพื้นที่ สปป. ลาว ซึ่งข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมิใช่ข้อมูลทางการค้าเกี่ยวกับสูตร รูปแบบงาน ที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ เทคนิค หรือกรรมวิธี อันจะถือได้ว่าเป็นข้อมูลความลับทางการค้าแต่อย่างใด จึงมิใช่ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น ข้ออ้างที่ว่าข้อมูลข่าวสารดังกล่าวเป็นความลับทางการค้าจึงไม่อาจรับฟังได้

ประกอบกับ ผู้อุทธรณ์เป็นประธานชมรมรักษ์มุกดาหาร และหัวหน้าศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์สาขาพรรคเสรีรวมไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต ๑ จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งได้รับเรื่องการร้องเรียนร้องทุกข์จากชาวบ้าน ข้าราชการ ในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร ย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับทราบข้อมูลข้อเท็จจริงเพื่อใช้ในการปกป้อง ผลกระทบต่อชุมชนชาวประมง เส้นทางคมนาคม และสิ่งแวดล้อมในจังหวัดมุกดาหาร และ การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารดังกล่าวจะแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและตรวจสอบได้อันจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ของด่านศุลกากรมุกดาหาร ดังนั้น เมื่อพิเคราะห์ถึงการปฏิบัติ หน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะและประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้อง ประกอบการแล้ว เห็นว่าข้อมูลสัญญาซื้อขาย หินกรวด ทราย ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการ ของ สปป.ลาว เปิดเผยให้ผู้อุทธรณ์ทราบได้

ฉะนั้น อาศัยอำนาจตาม มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540 คณะกรรมการวินิจฉัยฯ จึงวินิจฉัยให้ด่านศุลกากรมุกดาหารเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสัญญา ซื้อขาย หิน กรวด ทราย ระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการของ สปป.ลาว จำนวน 11 สัญญา และใบยั่งยืนที่ใช้ประกอบการยื่นคำขออนุญาตนำเข้านอกทางอนุมัติ จำนวน 5 ฉบับ พร้อมทั้งให้สำเนาที่มีคำรับรองถูกต้องแก่ผู้อุทธรณ์ “ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวข้างต้นจะนำไปเป็นพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับเจ้าของท่าทรายที่ลักลอบดูดกรวดและทรายในแม่น้ำโขง และเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตลอดจนหน่วยงานของรัฐที่ไม่โปร่งใสปฏิบัติหน้าที่โดยขัดต่อประมวลจริยธรรม ต่อไป” ร้อยตำรวจตรี สุเทียนกล่าว

ศูนย์ข่าวมุกดาหาร

ภาพ​/ข่าว​ เด​วิท​ ​โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777​

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / พลอากาศเอก ชัยนาท ผลกิจ รองผบ.ทหารอากาศ มอบเครื่องอุปโภคบริโภค ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 พลอากาศเอก ชัยนาท ผลกิจ รองผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานฝ่ายฆราวาสให้การต้อนรับพระเดชพระคุณพระพรหมวชิรมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม

และร่วมมอบสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชนผู้ประสบอุทกภัย ณ ศาลาเอนกประสงค์ องค์การบริหารส่วนตำบลรางจระเข้ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยสิ่งของประกอบด้วย ข้าวสาร จำนวน 800 ถุง พร้อมน้ำดื่ม จำนวน 800 แพ็ค

สำหรับพื้นที่ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยเป็นประจำทุกปี ซึ่งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้ดำเนินการช่วยเหลือมาโดยตลอด

โดยในปีนี้ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพอากาศ ได้สนับสนุนเรือท้องแบน พร้อมเครื่องยนต์สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภัยในพื้นที่ดังกล่าว

กองทัพอากาศ

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ชาวบ้านร้องขอ อยากให้ที่ดินป่าช้า สาธารณะประโยชน์ เป็นของวัด การรังวัดป่าโคกศิลา กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ปักธงชัย ไม่รับรอง อ้างกรรมสิทธ์

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567 กลุ่มชาวบ้าน ออกมาร้องทุกข์ การรังวัด ของเจ้าหน้าที่รังวัด บริเวณติดป่าช้า สาธารณะประโยชน์ วัดป่าโคกศิลา ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา กลุ่มชาวบ้านเล่าว่า อยากให้ที่สาธารณะประโยชน์ตรงนี้ เป็นของวัด เพราะพื้นที่ตรงนี้เป็นป่าช้ามานานหลายสิบปีแล้ว ด้านนายอักษรย่อ (น)นามสมมุติ ผู้อ้างกรรมสิทธ์ ซึ่งนำเจ้าหน้าที่มารังวัด เล่าว่า ผมมีโฉนดนำมาแสดง ถูกต้อง และได้เสียภาษีตามกฎหมาย

พระสมชาย สร้อยฉิมพลี เจ้าอาวาส วัดโคกศิลา เล่าว่า เดิมทีนายอักษรย่อ(น) นามสมมุติ เจ้าของที่ มีที่ดินติดกับวัด 39 ไร่ ขายไปแล้ว 30 ไร่ เหลืออีก 9 ไร่ ซึ่งติดกับป่าช้าวัด จึงเป็นที่มาของการอ้างกรรมสิทธิ์ มารังวัดในครั้งนี้ ทั้งนี้ นายชุมพล หาญตะคุ กำนัน ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย กล่าวว่า เจ้าของที่ มีโฉนดนำมาแสดง

แต่การออกโฉนดให้เมื่อหลายสิบปีก่อน ออกให้ได้อย่างไร ทั้งๆที่ ยังเป็นพื้นที่พิพาท และหมุดที่ปักไว้ก็ไม่มีตามโฉนดตามที่เจ้าของที่นำมาแสดงเป็นหลักฐาน และการที่ เจ้าของที่ นำเจ้าหน้าที่มารังวัด ก็ไม่ได้แจ้งกำนันไว้ล่วงหน้า การรังวัดในครั้งนี้ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และ อบต. ต.ธงชัยเหนือ อ.ปักธงชัย ไม่รับรอง รอกระบวนการพิสูจน์ ต่อไป

กันตินันท์ เรืองประโคน / รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / จนท.ทุกฝ่าย ร่วมแก้ปัญหาชาวบ้านหัวดง อ.โคกสำโรง จ.ลพบุรี

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 น. ที่บริเวณลานวัดหัวดง หมู่ที่5 ตำบลคลองเกตุ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ได้มีประชาชนมากกว่าหนึ่งร้อยคนรวมตัวเรียกร้อง ขอความเป็นธรรม จากกรณีชาวบ้านกับผู้นำหมู่บ้าน ต่างมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน เดือนร้อนถึงหน่วยงานรัฐ คณะสงฆ์ภายในอำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ต้องเดินทางแก้ไขปัญหาของชาวบ้านหัวดง

นายเจตน์พงศ์ โชคสวัสดิ์วรกุล นายอำเภอโคกสำโรง เจ้าหน้าที่สาธารณะสุข ฝ่าย อส. นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเกตุ และกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเดินทางเพื่อดูแลความสงบเรียบร้อยในการที่ประชาชนได้ออกมาหาขอสรุปร่วมกันความทราบถึงพระครูภัทรปัญญาวุธ (พระครูเภก) เจ้าคณะอำเภอโคกสำโรง ได้มอบหมายให้เจ้าคณะตำบลคลองเกตุ เขต2 รวมถึงพระสังฆาธิการเดินทางถึงบริเวณวัดหัวดง ที่ชาวบ้านได้รวมตัวกันอยู่ประมาณ
180 คน

โดยสาเหตุ เริ่มจากผู้นำหมู่บ้าน จะนำน้ำ จากลำคลองที่พัดไหลผ่าน ต้องการจะระบายน้ำเข้าบริเวณสระน้ำภายในวัดหัวดง เผื่อไว้ใช้น้ำรดต้นไม้ยามฤดูแล้ง รวมถึงจัดงานลอยกระทงที่จะมาถึงนี้ และจะปรับปรุงภูมิทัศน์รอบๆสระให้สะอาดเช่นแต่เก่าก่อน และเมื่อมีเหตุเกิดอัคคีภัยก็ไม่ต้องเดินทางไปรับน้ำจากที่อื่นๆที่ไกลออกไป เนื่องจากปัจจุบันนี้สระน้ำดังกล่าวเริ่มมีวัชพืชขึ้นภายในสระ และมองดูไม่สะอาดตา จึงจะปรับปรุงสระให้ดียิ่งๆขึ้นและกลับมาใช้ได้ในยามจำเป็นที่ต้องการใช้น้ำ

แต่มีชาวบ้านบางส่วนที่ออกมาแสดงความคิดเห็นไม่เห็นด้วยกับการที่จะนำน้ำดังกล่าวเข้ามาเก็บในสระเก็บไว้   โดยมีข้ออ้างว่าน้ำสกปรกมากเกินไป ไม่สะอาดเพียงพอที่จะนำน้ำมาเข้าไว้ในสระน้ำดังกล่าว   ทางฝ่ายนายอำเภอโคกสำโรง และเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขอำเภอโคกสำโรง ผู้ที่เกี่ยวข้องและคณะสงฆ์อำเภอโคกสำโรง ได้เดินตรวจสภาพบริเวณสระน้ำ รวมถึงน้ำที่จะนำเข้ามาไว้ในสระภายในวัดหัวดง
โดยในที่ประชุมสรุปผลออกมาได้ว่า ต้องให้ฝ่ายสาธารณะสุขออกมาวัดค่าของน้ำ ที่อยู่ภายในสระ กับน้ำที่จะนำเข้ามาได้มาตรฐานความสะอาดพอๆกันหรือไม่ และให้ฝ่ายปกครอง คณะกรรมการวัด รวมถึงชาวบ้านหัวดงทุกท่าน รอผลภายใน 1 สัปดาห์ แล้วค่อยนำน้ำเข้าภายในสระ โดยจะต้องมีขั้นตอนกรองน้ำที่ถูกต้องตามระบบการกรองน้ำเข้าสระ ทุกฝ่ายจึงตกลงเห็นชอบตามมติที่ออกมา และสุดท้ายได้มีการแต่งตั้งไวยาวัจกรวัดกัวดง ขึ้นมา 2 ท่าน รวมถึงคณะกรรมการ 18 ท่าน พร้อมทั้งผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อีก อีก 3 ท่านเป็นโดยตำแหน่งหน้าที่ จากนั้นชาวบ้านจึงได้แยกย้ายกันกลับ
สนอง แท่นสูงเนิน
ผอ.ศูนย์ข่าวฯ ประจำจังหวัดลพบุรี นายงาน

ค้าน ! ขึ้นค่าแรง 400 บาท พร้อมกันทั่วประเทศ 17 สภาองค์การนายจ้าง ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นค่าแรง 400 บาท

แชร์เนื้อหานี้


เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน 2567 ดร.เนาวรัตน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย (สภา2) ร่วมกับสภาองค์การนายจ้างอีก 16 สภา ประชุมหารือประเด็นปัญหาต่างๆ แสดงจุดยืนร่วมกัน คัดค้านการขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ ที่จะให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 ต.ค. 2567 เตรียมยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและปลัดกระทรวงแรงาน ข้อเสนอแนะที่รัฐต้องคำนึงถึง รัฐควรคำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจและความพร้อมที่แตกต่างกัน การพิจารณานโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประจำปี ตามหลักกฎหมาย ซึ่งบัญญัติไว้ใน ม. 87 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 คณะกรรมการค่าจ้าง (ไตรภาคี) ต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่นด้วย ต้องคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนความสามารถของประเภทธุรกิจ โดยผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน หากการปรับอัตราค่าจ้างที่สูงเกินกว่าความเป็นจริง จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการลงทุนในประเทศไทย ทำให้เกิดความไม่มั่นใจถึงต้นทุนของการทำธุรกิจและนโยบายภาครัฐ ถึงแม้ว่าการปรับค่าจ้าง จะใช้บังคับ เฉพาะโรงงานที่สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ก็ยังไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกันเพราะยังขาดหลักการพิจารณาที่เหมาะสม สภาองค์นายจ้าง จึงได้ร่วมกันลงนามคัดค้านและเสนอแนะ เพื่อให้กระทรวงแรงงานได้รับ ทราบและแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สภาองค์การนายจ้างเห็นร่วมกัน เพื่อนำเสนอต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
และท่านปลัดกระทรวงแรงงาน โดยมีรายนามประกอบด้วย

  1. สภาองค์การนายจ้างแห่งประเทศไทย (สภา 1)
  2. สภาองค์การนายจ้างสภาอุตสาหกรรมเอ็สเอ็มอี แห่งประเทศไทย (สภา3)
  3. สภาองค์การนายจ้างผู้ค้าและบริการเครื่องอุปโภคบริโภค (สภา4)
  4. สภาองค์การนายจ้างแห่งชาติ (สภา 5)
  5. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจไทย (สภา 6)
  6. สภาองค์การนายจ้างไทยสากล (สภา 7)
  7. สภาองค์การนายจ้างการเกษตร ธุรกิจ อุตสาหกรรมไทย (สภา 8)
  8. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจ การค้าและบริการไทย (สภา 9)
  9. สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าไทย (สภา 10)
  10. สภาองค์การนายจ้างไทย (สภา 11)
  11. สภาองค์การนายจ้าง ธุรกิจ และอุตสาหกรรมแห่งชาติ (สภา12)
  12. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจอุตสาหการไทย (สภา13)
  13. สภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย (สภา 14)
  14. สภาองค์การนายจ้างบริการไทย (สภา 15)
  15. สภาองค์การนายจ้างธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยว-ภาค 8 (สภา 16)
  16. สภาองค์การนายจ้างเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (สภา 17)

สภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย #สภาองค์การนายจ้าง #กระทรวงแรงงาน #นายจ้าง #ขึ้นค่าแรง400บาท