คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวศิลป และ วัฒนธรรม

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / พิธีบรรพชาสามเณร เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา 2 เมษายน 2568

แชร์เนื้อหานี้

วันนี้ 1 เมษายน 2568 ณ วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง ตำบลม่วงตึ๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน มีการจัดพิธีบรรพชาสามเณร ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและความเป็นไทย ประจำปี 2568

เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา 2 เมษายน 2568

โดยมีพระราชศาสนาภิบาล เจ้าคณะจังหวัดน่าน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายบรรจง ขุนเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ครอบครัวผู้บรรพชาและพุทธศาสนิกชนเข้าร่วมพิธี
จังหวัดน่าน

โดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่าน จัดโครงการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยมและความเป็นไทย ประจำปี 2568 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา 2 เมษายน 2568

โดยจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชน ได้ศึกษา ฝึกฝน และอบรมหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้เกิดค่านิยมเป็นคนดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย มีจิตสาธารณะ และมีความกตัญญู ซึ่งจะส่งผลให้เป็นพลเมืองที่ดีมีคุณภาพ โดยมีผู้เข้าร่วมบรรพชาในครั้งนี้ จำนวน 43 คน

วันที่ 1 เมษายน 2568 สำนักงานเกษตรอำเภอเวียงสา โดยการนำของ นางสาวฐิติกาญจน์ ชะนะมาร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ รักษาราชการแทน เกษตรอำเภอเวียงสา พร้อมด้วย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร จัดเวทีวิเคราะห์ศักยภาพ 5 ด้าน ได้แก่

การลดต้นทุนการการผลิต การเพิ่มมูลค่าสินค้า การพัฒนาคุณภาพผลผลิต การตลาด และการบริหารจัดการ ให้กับสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ผักตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตามโครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเก็บข้อมูล

รวบรวมประมวลผล และวิเคราะห์ศักยภาพกลุ่ม พร้อมกันนี้ได้ประชาสัมพันธ์เร่งรัดการขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ข้าวนาปรัง, ไม้ผล, ไม้ยืนต้น และเน้นย้ำการถือปฏิบัติตามประกาศจังหวัดน่าน เรื่อง ห้ามเผาเด็ดขาดทุกพื้นที่

ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม –30 เมษายน 2568 และตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาตรการบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ภาคการเกษตร

โดยห้ามเผาในพื้นที่การเกษตรทุกกรณีตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม –31 พฤษภาคม 2568 และแจ้งเตือนให้เฝ้าระวังภัยพิบัติด้านพืช โดยมีสมาชิกแปลงใหญ่เข้าร่วมจำนวน 15 ราย ณ บ้านสถาน หมู่ที่ 1 ตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี – มท.2 ทำพิธี “พุทธาภิเษกพระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี” Landmark บึงกาฬ

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 29 มี.ค.68 เวลา 13.39 น. ที่อุทยานพระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี ถนนข้าวเม่าริมโขง ตำบลบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (เจ้าประคุณสมเด็จธงชัย)

เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายทรงศักดิ์ ทองศรี รมช.มหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในการประกอบพิธีพุทธาภิเษก พระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี โดยมีเกจิอาจารย์อธิษฐานจิตปลุกเสกวัตถุมงคล

โดยได้รับเมตตาอาทิ พระธรรมวชิรเมธี เจ้าคณะภาค1 เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร พระราชภาวนา โสภณ วิ. เจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬ เจ้าอาวาสวัดเซกาเจติยาราม พระอารามหลวง พระวชิรศาสนคุณ เจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬ(ธ) เจ้าอาวาสวัดเนินแสงทอง พระราชสารโกศล เจ้าแาวาสวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี พระครูบวรธรรมรักขิต(หลวงตาเลิศ) เจ้าอาวาวสวัดอรัญญานี

พระครูประภัสสรวีรคุณ (วีระพล ปภสฺสโร) เจ้าคณะอำเภิศรีวิไล(ธ) เจ้าอาวาสวัดสุดเขตแดนสยาม และพระเถราจารย์จำนวนมาก ร่วมประกอบพิธี โดยนายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นางแว่นฟ้า ทองศรี นายกอบจ.บึงกาฬ นายนคร ศิริปริญญานันท์ รองผวจ.บึงกาฬ นายสมหวัง อารีย์เอื้อ รองผวจ.บึงกาฬ นายสยาม เพ็งทอง สส.บึงกาฬ เขต1 หัวหน้าส่วนราชการ ภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และพุทธศาสนิกชนร่วมพิธี

“บรรยากาศการจัดพิธีพุทธาภิเษกฯ เป็นไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ โดยนายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ประธานในพิธี ได้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยและถวายแป้งเจิมแด่เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เพื่อเจิมเทียนชัย เทียนมหามงคล แล้วจุดเทียนชัย เทียนมหามงคล พระสงฆ์ 9 รูป สวดคาถาจุดเทียนชัย

จากนั้นเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เข้านั่งปรกอธิษฐานจิต ประธานในพิธีจุดเทียนน้ำพระพุทธมนต์ เจ้าหน้าที่อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์ชุมนุมเทวดา เจริญพระพุทธมนต์ จบแล้ว ประธานในพิธีถวายใบพลูและแป้งเจิมแด่พระราชภาวนาโสภณ วิ. เพื่อเจิมใบพลู แล้วดับเทียนชัย เสร็จแล้วโปรยดอกไม้ ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ในมณฑลพิธี ประธานในพิธีและผู้ร่วมพิธีถวายจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ อนุโมทนา กรวดน้ำ-รับพร เป็นอันเสร็จพิธี”

อุทยานพระพุทธโลกนาถนาคสไชยบุรี เป็นโครงการ Landmark จ.บึงกาฬ เป็นการพัฒนาสวนสาธารณะริมแม่น้ำโขงให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและพักผ่อนหย่อนใจที่สำคัญของทั้งคนในพื้นที่และนักท่องเที่ยว มีไฮไลต์สำคัญคือ พระพุทธโลกนาถนาคาไชยบุรี เป็นพระพุทธรูปนาคปรก 9 เศียร สูง 16.09 เมตร ขนาดหน้าตักกว้าง 4.77 เมตร ประดิษฐานริมแม่น้ำโขง

ซึ่งนอกจากจะทำให้เป็นสถานที่แห่งความเลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนแล้ว ยังจะเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของจังหวัดลุ่มแม่น้ำโขง ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชม สนับสนุนเศรษฐกิจของ จ.บึงกาฬ และจังหวัดใกล้เคียงตามนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ประชาชนอีกด้วย

ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล//บึงกาฬ 0961464326

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / หลวงปู่มหาศิลา จัดงานพิธีวางศิลาฤกษ์ พระธาตุเจดีย์โนนสาวเอ้ ณ ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจันโท คนแห่ร่วมงานนับหมื่น !

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อเวลา 09.00น. วันที่ 13 มีนาคม 2568 หลวงปู่มหาศิลา สิริจันโืท ได้จัดงานพิธีวางศิลาฤกษ์ “ พระธาตุเจดีย์โนนสาวเอ้ ” ณ ธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจันโท ต.เชียงเครือ อ.เมืองกาฬสินธุ์ จ.กาฬสินธุ์

โดยมีพระเดชพระคุณ เจ้าประคุณสมเด็จพระธีรญาณมุนี กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาส วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร กทม. เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ หลวงปู่มหาศิลา สิริจันโท ท่านเจ้าคุณเทียนชัย ชยทีโป วัดเทพสรธรรมาราม จ.ปทุมธานี ท่านเจ้าคุณสุริยันต์ วัดป่าวังน้ำเย็น จ.มหาสารคาม ท่านเจ้าคุณต้อม วัดท่าสะแบง จ.ร้อนเอ็ด พร้อมคณะสงฆ์และ เกจิอาจารย์อีกจำนวนมาก

โดยมี คุณชายแจ๊ค-หม่อมราชวงศ์ โสรัจจ์ วิสุทธิ บุตรชายคนเล็กของหม่อมเจ้าหญิงสุลัภวัลเลง วิสุทธิ (สกุลเดิม สวัสดวัตน์) พระขนิษฐาของ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พร้อม
ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ และข้าราชการ ทหาร ตำรวจ หลายหมู่เหลา รวมถึงประชาชนจากทั่วสารทิศ คณะลูกศิษย์จาก ธรรมอุทยานหลวงปู่มหาศิลา และ คุณครูทับทิม วรา ที่ถือว่าเป็นคนสำคัญที่ หลวงปู่มหาศิลา ได้เลือกให้เป็นคนนำสร้าง พระธาตุเจดีย์ โนนสาวเอ้
ร่วมถึงประชาชนที่เดินทางมาร่วมงานพิธีหลายพันคน

โดยก่อนหน้านี้2 วันได้เกิดฝนตกตลอดทั้งคืนทั้งวันจนถึงวันงานพิธีช่วงเช้าเกิดฟ้าครึ้มฝนตกเป็นละออง จนช่วงเวลาทำพิธีวางศิลาฤกษ์ หลวงปู่มหาศิลา ท่านมองขึ้นไปบนท้องฟ้าพร้อมกับชี้นิ้วขึ้นไปแล้วก้มหน้าท่องอะไรบางอย่าง จากนั้นท้องฟ้าที่มืดครึ้มก็เกิดสว่างขึ้นแสงแดดเริ่มออก

พร้อมทั้งเกิดปรากฏการณ์พระอาทิตย์ทรงกรด จนทำให้ผู้ที่มาร่วมงานกล่าวคำว่าสาธุ ซึ่งหลวงปู่ศิลาก็ยิ้มและหัวเราะอย่าง อารมณ์ดีใจซึ่งทำให้เหล่าศิษย์ยานุศิษย์ที่มาร่วมงานต่างๆ

ต่างมองดูบนท้องฟ้า ในสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นต่อหน้าคนหลายพันคน
ภายหลังจากเสร็จพิธีวางศิลาฤกษ์ คุณจารุณี จอมทรักษ์ พร้อมทีมงานธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา ศิริจันโท ได้น้อมถวาย ทองคำแท่ง น้ำหนัก 20 บาท แด่หลวงปู่ศิลา พร้อมถวายทองคำแท่งน้ำหนัก 10 บาท ถวายแด่พระอาจารย์สุริยันต์ โฆสปัญโญ เจ้าอาวาสวัดป่าวังน้ำเย็น จ. มหาสารคาม และน้อมถวายทองคำแท่งน้ำหนัก 10 บาท แด่ พระอาจารย์ต้อม วัดท่าสะแบง จ.ร้อยเอ็ด

จากนั้นท่านเจ้าประคุณ สมเด็จ พระธีรญาณมุนี หลวงปู่ศิลา และพระเกจิอาจารย์ รวมถึงข้าราชการทุกหมู่เหล่า ได้ร่วมกันปลูกต้นไม้มงคล หลังจากนั้นท้องฟ้าที่มืดครึ้มก้อนเมฆก็จางหายไปแสงแดดกลับมาสว่างจ้าเหมือนเดิม

โดยในการสร้าง พระธาตุเจดีย์ โนนสาวเอ้ หลวงปู่มหาศิลา ได้บอกไว้ว่าต้องให้ครูทับทิม หรือ คุณครูทับทิม วรา ทำถึงจะสำเร็จ
สำหรับท่านใดที่สนใจจะร่วมบุญเพื่อสร้างพระธาตุเจดีย์ โนนสาวเอ้ และปรับภูมิทัศน์ภายในธรรมะอุทยานหลวงปู่มหาศิลาสามารถร่วมบุญได้ที่บัญชี

ธนาคารกรุงไทย
หมายเลขบัญชี 404-357378-2
ชื่อบัญชี : มูลนิธิธรรมอุทยานหลวงปู่ศิลา สิริจันโท เพื่อสร้างพระธาตุเจดีย์และปรับภูมิทัศน์

( บัญชีนี้ บัญชีเดียว เท่านั้น )

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ผู้ว่าแพร่ เปิดวัดมิ่งเมือง วัดเจ้าแม่เจ้าหลวงครั้งแรกในรอบ 70 ปี

แชร์เนื้อหานี้

บวงสรวง นมัสการพระบรมธาตุเจดีย์มิ่งเมือง หลวงพ่อพุทธมิ่งขวัญเมือง พ่อเมืองแพร่นำศรัทธาร่วมห่มผ้าองค์พระบรมธาตุ พุทธศาสนิกชนได้ชมความสวยงามปฏิมากรรมยุคเจ้าหลวงองค์สุดท้ายเมืองแพร่

วัดมิ่งเมือง ตั้งอยู่บริเวณสะดือเมืองหรือใจกลางเมืองแพร่ สร้างโดยแม่เจ้าหลวง หรือแม่เจ้าบัวไหล เทพวงศ์ ชายาคนที่ 2 ของเจ้าพิริยเทพวงษ์ อดีตเจ้าผู้ครองเมืองแพร่ และแม่เจ้าบัวไหลยังเป็นย่าของนายโชติ แพร่พันธุ์ หรือ “ยาขอบ” นักเขียนนวนิยายชื่อดังของเมืองไทย

จึงนับว่าวัดมิ่งเมืองมีความสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของเมืองแพร่อย่างยิ่ง แต่วัดมิ่งเมืองถือเป็นวัดขนาดเล็กอยู่ติดกับวัดพระบาท ปี พ.ศ.2492 ทางราชการจึงได้ยุบรวมเป็นวัดพระบาทมิ่งเมือง ในปี พ.ศ.2498 ยกฐานะเป็นพระอารามหลวง จนปัจจุบัน 70 ปีแล้วที่วัดมิ่งเมืองไม่มีกิจกรรมทางศาสนา

ล่าสุดเวลา 15.50 น.วันที่ 16 มีนาคม 2568 นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ เป็นประธานในพิธีบวงสรวงพระบรมธาตุเจดีย์มิ่งเมืองและนมัสการหลวงพ่อพุทธมิ่งขวัญเมือง พร้อมทั้งเปิดให้ประชาชนร่วมสักการะระหว่างวันที่ 16-23 มีนาคมนี้ ควบคู่ไปกับงานหอการค้าแฟร์ สร้างบรรยากาศครึกครื้นและร่วมกันรำลึกถึงประวัติท้องถิ่นเมืองแพร่ไปพร้อมๆ กัน

ธีรพงษ์ ธงออน/แพร่
061-595-5297
ทีมข่าวบกรายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / โครงการวิทยาลัยป้องกันกิเลส (วปก.) รุ่นที่ 29 วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร

แชร์เนื้อหานี้

โครงการวิทยาลัยป้องกันกิเลส (วปก.) รุ่นที่ 29 จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2554 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานพระพุทธศาสนา ส่งเสริมคุณธรรมในชีวิตประจำวัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่เข้าร่วมการอุปสมบท ทั้งนี้ยังเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ โครงการนี้ได้ดำเนินการมาแล้วกว่า 29 รุ่น ซึ่งในรุ่นนี้ มีผู้เข้าร่วมอุปสมบท 59 รูป แบ่งเป็นคนไทย 58 รูป และชาวต่างชาติ 1 รูป จากประเทศเมียนมา โดยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่รุ่นที่ 1 ถึงรุ่นที่ 29 มีผู้เข้าร่วมอุปสมบทมากกว่า 5,000 รูป

โครงการ วปก. ก่อตั้งขึ้นโดย สมเด็จพระธีรญาณมุนี (วรชาโย) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ในการถวายเป็นพุทธบูชาและพระราชกุศล เพื่อสร้างบุคลากรที่เปี่ยมด้วยคุณธรรม จริยธรรม และจิตสำนึกต่อสังคม โดยการบวชถือเป็นการบำเพ็ญบุญที่ทรงคุณค่า อันจะนำไปสู่ความสงบสุขและความเจริญของประเทศชาติ

ในปีนี้ได้รับความเมตตาจาก พระธรรมวชิรปาโมกข์ (ธนู วรธนุ ป.ธ.๔) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ และ พระศรีวิศาลคุณ (จีรพันธ์ วรญาโณ ป.ธ.๗) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เป็นพระกรรมวาจาจารย์และผู้ดูแลโครงการเดินทางไปประเทศอินเดีย โดยโครงการได้รับการสนับสนุนจากศิษยานุศิษย์ คณะสหธรรมิก และผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมาก ซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้โครงการเติบโตและได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องทุกปี

กำหนดการเดินทางปฏิบัติธรรม และเยี่ยมชม 4 พุทธสังเวชนียสถาน วันที่ 5: กรุงเทพฯ – เจดีย์พุทธคยา (ประเทศอินเดีย)
วันที่ 6: ร่วมทำบุญมหาทานผ้าป่า และเยี่ยมชมพุทธรูปหินโบราณ ณ พุทธคยา
วันที่ 7: เยี่ยมชมสถูปบ้านบิดานางสุชาดา สถานที่ถวายข้าวมธุปายาส
วันที่ 8: เดินทางไปยังเขาคิชฌกูฏ และวัดเวฬุวัน ณ เมืองราชคฤห์
วันที่ 9: เยี่ยมชมกูฎาคารศาลา ปาวาลเจดีย์ เมืองไวสาลี
วันที่ 10: เดินทางไปยังสาลวโนทยาน กุสินารา สถานที่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
วันที่ 11: เดินทางสู่ลุมพินี ประเทศเนปาล สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า
วันที่ 12: เยี่ยมชมวัดพระเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี
วันที่ 13: เยี่ยมชมสารนาถ เมืองพาราณสี สถานที่แสดงปฐมเทศนา
วันที่ 14: พักปฏิบัติธรรม ณ เมืองพาราณสี
วันที่ 15: เดินทางกลับมายังเจดีย์พุทธคยา
วันที่ 16: ออกเดินทางกลับประเทศไทย
วันที่ 17:

  • ช่วงเช้า: พิธีตักบาตรพระใหม่ นำโดย สมเด็จพระธีรญาณมุนี ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
  • ช่วงเที่ยง: พิธีฉลองพระใหม่ และลาสิกขาบท
  • การเดินทางครั้งนี้ถือเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้เข้าร่วมในการศึกษาและซึมซับหลักธรรมคำสอนจากสังเวชนียสถานทั้ง 4 อันเป็นสถานที่สำคัญในพระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นการเสริมสร้างความศรัทธาและปัญญาในการดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร “ร่วมกันสืบทอดพระพุทธศาสนา สร้างคุณค่าทางจิตใจให้สังคมไทย”

โดย: พระคุณวํโว ธนพงศ์ งานรุ่งเรือง วปก29

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / มูลนิธิพุทธภูมิธรรม และกัลยาณมิตร ร่วมสงเสด็จ พระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) /พลเอก ปิยพงศ์ กลิ่นพันธ์ุ นำพลังบุญ บูรณะอุโบสถวัดศรีกะอาง จ.นครนายก

แชร์เนื้อหานี้

พลเอก ปิยพงศ์ กลิ่นพันธ์ุ นำพลังบุญ บูรณะอุโบสถวัดศรีกะอาง จ.นครนายก วัดสำคัญประดิษฐาน “พระพุทธพิชิตมาร” พระพุทธรูปสำคัญที่ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 ทรงประทานพระนาม 15 ก.พ.68 พลเอกปิยพงศ์ กลิ่นพันธ์ุ , ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 12 , ประธานมูลนิธิพุทธภูมิธรรม และกัลยาณมิตร ร่วมพลังบุญทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อสมทบทุนบูรณะอุโบสถวัดศรีกะอาง จ.นครนายก ยอดปัจจัยร่วมบุญกว่า 6 แสนบาท

ในการนี้ มูลนิธิพุทธภูมิธรรม ร่วมพลังบุญทอดผ้าป่า 7 หมื่นบาท ถวายเป็นพุทธบูชา เป็นพลังบุญเพื่อพระพุทธศาสนาสามารถร่วมบุญ ซ่อมแซมกระเบื้องหลังคาอุโบสถ และซ่อมแซมถังเก็บน้ำ วัดศรีกะอาง เพิ่มเติมได้ที่
ธนาคารกรุงไทย , เลขบัญชี 212 068 9946 , วัดศรีกะอาง (เปลี่ยนหลังคาโบสถ์และซ่อมแซมถังน้ำ)

**ประวัติ ความสำคัญ แผนงาน ของวัดศรีกะอาง *ประวัติ วัดศรีกะอางตั้งอยู่ที่ อ.บ้านนา จ.นครนายก ก่อตั้งเมื่อ ปีพุทธศักราช 2515 โดยมีเจ้าอาวาสรูปแรก คือ
หลวงปู่จำรัส อินทรกำแหง (ฉายา ฐิติจาโค) ซึ่งท่านดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2515 – 2536 ในระหว่างปีพุทธศักราช 2522 – 2536 ได้มีการก่อสร้างพระพุทธชินราชจำลอง ความสูง 30 เมตร, ก่อสร้างพระพุทธรูปจำลอง 3 พี่น้อง, ก่อสร้างพระสีวลี, ศาลาไม้, กุฏิบูรพาจารย์ และเสนาสนะอื่น ๆ ในช่วงต่อมา ระหว่างปีพุทธศักราช 2536 – 2566 มีพระครูวรญาณโสภณ (หลวงพ่ออาทร) เป็นเจ้าอาวาส โดยได้มีการก่อสร้างอุโบสถขึ้นในปี 2540 (ยังไม่ได้ฝังลูกนิมิตจนถึงปัจจุบัน) ก่อสร้างถนนเส้นทางในวัด และบันไดทางขึ้นพระพุทธชินราช โดยในระหว่างนี้ทางวัดได้รับวิสุงคามสีมาเรียบร้อยแล้ว ตามทะเบียนเลขที่วิสูงคามสีมา ในปัจจุบันตั้งแต่ พุทธศักราช 2566 – 2568 มีพระมหาฆโณทัย โฆสคุโณ เป็นเจ้าอาวาส

*ความสำคัญ ของวัดศรีกะอางและพระพุทธรูปมีความสำคัญ กล่าวคือ เป็นพระพุทธชินราชที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามว่า “พระสัมพุทธะสักยะมุนีโลกนาถ” มีพระพุทธรูปพระประธาน ในพระอุโบสถปางสะดุ้งมาร ได้รับพระราชทานพระนามจาก สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า “พระพุทธพิชิตมาร” โดยบริเวณผ้าทิพย์หน้าพระพุทธรูปได้รับพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ ญสส. ประดิษฐานไว้

นอกจากนี้ยังได้พระราชทานพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย ไว้ในอุโบสถด้วย และความสำคัญอีกประการหนึ่งคือ วัดศรีกะอางนี้ เป็นวัดธรรมยุติกนิกายตั้งแต่เริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน โดยในอดีตที่ผ่านมา วัดนี้เคยเป็นที่พำนักของ พ่อแม่ครูอาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ หรือพระกรรมฐานสาย พระอาจารย์ มัน ภูริทัตเถระ ได้เดินทางธุดงค์มาพักค้างแรมเจริญสมนธรรม อาทิเช่น หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาป้อง จ.เชียงใหม่ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาละวัน จ.นครราชสีมาหลวงพ่อวิริยังค์ จ.กรุงเทพฯ และอีกหลายรูป

*แผนงาน ของวัดที่สำคัญ กล่าวคือ การอบรมสั่งสอนสาธุชนของหมู่บ้านโดยรอบวัดและประชาชนโดยทั่วไปให้หันมาสนใจในธรรมะและคำสั่งสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการรักษาศีล ฟังธรรม ปฏิบัติธรรม นอกจากนี้ยังมีการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะ ที่ถูกสร้าง ขึ้นมาเป็นเวลานานมีสภาพชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้ ตามปกติ เช่น การซ่อมแซมเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาพระอุโบสถที่ชำรุดแตกหักทำให้น้ำรั่วซึมลงมา การปรับปรุงซ่อมแชมถังเก็บน้ำซีเมนต์ การปรับปรุงแหล่งต้นน้ำ เพื่อให้กักเก็บน้ำได้ยาวนาน รวมไปถึงการสวดถอนและการเตรียมการฝังลูกนิมิตในอนาคตอันใกล้

ขอเชิญชวน พุทธศาสนิกชน ร่วมพลังบุญ และ ขออนุโมทนาบุญมา ณ โอกาสนี้ ครับ อานิสงส์การสร้างโบสถ์ https://www.sarakuntho.org/ มูลนิธิพุทธภูมิธรรม นำโดยอาจารย์วิจักษณ์ สองจันทร์ ประธานมูลนิธิฯ นำนมัสการพระธาตุพนมจำลอง (พระธาตุเจดีย์สิริมงคลนวรัตน์) ถวายบุญกุศลแด่ทุกภพภูมิ เปิดมงคลบวงสรวงฯ ณ วัดสระแก้ว จังหวัดขอนแก่น ในพลังบุญ เปิดงานนมัสการพระธาตุ และทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนสร้างกำแพงแก้วและซุ้มประตูวัด เป็นมหามงคลเพื่อแผ่นดิน ขอให้ทุกท่านมีส่วนในผลบุญ รับมงคลบารมีนี้ ให้เจริญสุข เจริญทรัพย์ เจริญอำนาจบารมี เจริญธรรม ตราบถึง พระนิพพาน…

มูลนิธิพุทธภูมิธรรม และกัลยาณมิตร ร่วมสงเสด็จ พระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) และ ปฏิบัติบูชา สวดมนต์อธิษฐานจิตถวายเป็นพุทธบูชา เป็นพลังบุญเพื่อแผ่นดิน ในพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) กลับคืนสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อ 15 ก.พ.2568

หลังจากได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 4 ธ.ค.2567 จนถึงวันที่ 14 ก.พ.2568 รวมระยะเวลา 73 วัน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 และเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 50 ปี แห่งความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน

ขณะที่ยอดจำนวนประชาชนเข้ากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) หลังจากประดิษฐานเป็นการชั่วคราวในประเทศไทย จนถึงการอัญเชิญกลับสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งสิ้น 2,993,737 คน

ขอร่วมอนุโมทนาบุญและส่งพลังบุญนี้ ให้แด่กัลยาณมิตรทุกท่าน เจริญสุข เจริญธรรม ตราบถึง มรรค ผล นิพพาน เทอญ…

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / พิธีหล่อองค์หลวงปู่ดู่ ยืน อันตรายาปิ-พระจักรพรรดิ์กินบ่เซี่ยง บรรยายธรรมโดย หลวงตาม้า วัดถ้ำเมืองนะ

แชร์เนื้อหานี้

      วันที่ 9  กุมภาพันธ์ 2568  ที่บริษัท อาร์ที  อะกริเทค จำกัด ตำบลห้วยขวาง  อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม  ได้จัดพิธีเททองหล่อองค์หลวงปู่ดู่ ยืน อันตรายาปิ (ปิดอันตราย)  สูง 21  เมตร  ส่วนมือขวาและมือซ้าย  และหล่อองค์พระจักรพรรดิ์กินบ่เซี่ยง  จำนวน 4  องค์ (ขนาด 30  นิ้ว  2  องค์  และ  20  นิ้ว  2  องค์)  โดยมีหลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ) เป็นองค์ประธานในพิธี  พร้อมรับฟังบรรยายธรรมโดยหลวงตาม้า  โดยมีสาธุชนที่มีจิตศรัทธาเข้าร่วมในครั้งนี้หลาย พันคน  รายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่ายถวายองค์หลวงตาม้า

      สำหรับพิธีเริ่มเวลา  17.00 น.  โดยผู้บริหารบริษัท อาร์ที  อะกริเทค จำกัด พร้อมด้วยแขกผู้เกียรติ  จุดธุปเทียนหน้าเครื่องบรวงสรวง  หลังจากนั้น  เป็นการเริ่มเททองหล่อองค์หลวงปู่ดู่  ยืน อันตรายาปิ (ปิดอันตราย)  สูง 21  เมตร ส่วนมือขวาและมือซ้าย  ต่อด้วยเป็นการหล่อองค์พระจักรพรรดิ์กินบ่เซี่ยง  ขนาด 30  นิ้ว  2  องค์  และ  20  นิ้ว  2  องค์  ตามลำดับ

      หลังจากนั้นเวลาประมาณ  18.00 น. หลวงตาม้า  วัดถ้ำเมืองนะ นำสวดบทจักรพรรดิ์  และมอบของที่ระลึกแด่ผู้มาร่วมงาน  ต่อด้วยหลวงตาบรรยายธรรมพร้อมตอบข้อซักถามของสาธุชน และนำสวดบทพระจักรพรรดิ์ รอบ2ทุ่มครึ่ง  เป็นอันเสร็จสิ้นพิธีในครั้งนี้

      นอกจากนี้  ทางบริษัทฯ  ได้จัดเตรียมโรงทานอาหารและเครื่องดื่มไว้ต้อนรับเหล่าผู้มาร่วมงาน  พร้อมแจกของที่ระลึกประกอบด้วยประคำ  ผ้ายันต์  และเงินขวัญถุง  ไว้เป็นที่ระลึกแด่ผู้มาร่วมงานในครั้งนี้อีกด้วย

สมคิด พรมมี ผู้สื่อข่าว นครฐม

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ประเพณี”กินวอ”ชาวเขาเผ่าลาหู่ บ้านดอยปู่ไข่บ้านดู่เต้นรำเฉลิมฉลองสนุกสนานท่ามกลางความหนาวเย็น

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อเวลา17.30น.วันที่27ม.ค2568 ที่ผ่านมาท่ามกลางลมหนาวเย็น ที่ผัดแผ่ลงมาจากประเทศจีน ณ ลานพิธีใจกลางหมู่บ้านบ้านดอยปู่ไข่ จังหวังหวัดชียงราย นายพัฒนพงษ์ โพธิ์เกตุ นายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลบ้านดู่เป็นประธานพิธีเปิดงานประเพณีกินวอ ของชาวเขาเผ่าลาหู่บ้านดอยปู่ไข่ บ้านบริวารบ้านหัวฝาย หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย ประจำปี 2568

จัดโดยสภาวัฒนธรรมตำบลบ้านดู่ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านดู่ ระหว่างวันที่ 27 มกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีคณะผู้บริหารเทศบาลตำบลบ้านดู่ ปลัดเทศบาล และฝ่ายปกครอง เทศบาลตำบลบ้านดู่ เข้าร่วมงานประเพณี มีการแสดงเต้นรำของเยาวชนเผ่าลาหู่บ้านดอยปู่ไข่ และประเพณีเต้น”จะคึ” รอบต้นวอ ของหนุ่มสาว และเยาวชน ชาติพันธ์ุลาหู่ ที่แต่งตัวสวยสดงดงามเนื่องในประเพณีสำคัญประจำปี ทุกปีและการกินวอ

จะดำเนินไป7-9 วัน ซึ่งจะออกประเพณีกินวอ ตามประเพณีสืบทอดกันมาของชาวเขาเผ่าลาหู่ ลาหูดำ ลาหู่ฯลฯมีการทำข้าวปุกงาอันแสนอร่อยเลี้ยงแขกเหรื่อที่มาร่วมงานท่ามกลางลมนาวครังนี้ด้วย สำหรับในวันดังกล่าวยังมีแขกที่ไดรับเชิญร่วมพิธีตลอดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขึ้นไปพักที่รีสอร์ทตากอากาศบ้านดอยปู่ไข่ เข้าร่วมเต้นจะคึรอบต้นวอที่ชาวเขาเผ่าลาหู่

ร่วมกันจัดทำขึ้นอย่างสนุกสนาน บ้านดอยปู่ไข่ตั้งอยู่สันเขา หรือดอยแปดซุง ดอยเสือขบม้า นับว่าเป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลาหู่หรือมูเซอร์แดง ประวัติตั้งแต่ปีพศ. 2510 ได้อพยพมาจากพม่า และปีพ.ศ2535ได้แยกออกไปอยู่ในตำบลนางแลบางส่วนมีผู้นำก่อตั้งชื่อหมู่บ้านนามว่าปู่ไข่ เป็นชาวเขาเผ่าเดียวในตำบลบ้านดู่ เป็นบ้านบริวารของบ้านหัวฝายหมู่ที่ 13 ตำบลบ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย

มีประมาณ 40หลังคาเรือน มีความสูงจากระดับเหนือน้ำทะเลประมาณ450-580 ฟุต บนสันเขาเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยนางแล-ดอยยาว ดอยพระบาท เป็นป่าต้นน้ำโป่งพระบาทดอยแถบนี้มีการค้นพบร่องรอยรอยเท้า ไดโนเสาร์เก่าแก่ อายุนับพันปี มีป่าที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นมุมสูงสามารถ

มองทิวทัศน์เมืองเชียงรายได้ชัดเจน โดยเฉพาะสนามบินนานาชาติแม่ฟ้าหลวง ยามค่ำคืน มีแสงไฟยามค่ำคืนที่สวยงามเหมือนดาวบนดิน ในอนาคตสามารถบูมเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ ใกล้เมืองเชียงรายได้อนึ่งขณะเดียวกันพี่น้องชาติพันธ์ุเผ่าอื่นๆก็อยู่ในช่วงประเพณีกินวอแต่ละเผ่าอีกด้วยเช่นกัน.

ธนกฤต วรรมณี ทีมงานข่าวเชียงรายรายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ /รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน มอบผ้าห่มกันหนาวให้นายกสมาคมสื่อมวลชนจ.น่าน

แชร์เนื้อหานี้

น่าน เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2568 ณ วัดมิ่งเมือง ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พระสุนทรมุนี(หลวงพ่อเสน่ห์) รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน เจ้าอาวาสวัดมิ่งเมืองได้เมตตามอบผ้าห่มกันหนาวจำนวน 10 ผืนให้กับนายบุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่านเพื่อนำไปมอบต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ยากไร้

เนื่องด้วยสภาพภูมิอากาศในพื้นที่จังหวัดน่าน ในช่วงฤดูหนาวมีอุณหภูมิต่ำสภาพอากาศหนาวเย็น ทำให้ประชาชนต้องดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจัดหาเครื่องแต่งกายและผ้าห่ม เพื่อรักษาความอบอุ่นแก่ร่างกาย และป้องกันการเจ็บป่วยเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งทางสมาคมสื่อมวลชนจงหวัดน่าน ได้เล็งเห็นถึง ข้อจำกัดของประชาชนในพื้นที่ตำบลไชยสถาน และ ในพื้นที่จังหวัดน่าน บางกลุ่มเช่น ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ ผู้ต้อยโอกาส และ ผู้ป่วยติดเตียง ที่ขาดแคลนอุปกรณ์ผ้าห่มกันหนาวหรือทุนทรัพย์ในการจัดหาเครื่องแต่งกาย ผ้าห่มกันหนาว ในการนี้สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่านขอขอบพระคุณท่านพระสุนทรมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดน่านเป็นอย่างสูงที่ให้ความอนุเคราะห์เมตามอบผ้าห่มกันหนาวจำนวน 10 ผืนมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ และทางสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน จะนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ยากไร้ต่อไป

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ลั่นฆ้องชัย แต่งไทยเทิดพระเกียรติฯ ในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช’ ครั้งที่ 37 ประจำปี 2568

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 15 มกราคม 2568 เวลา 08.00 น. นายปรัชญา เปปะตัง รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี พร้อมด้วย ว่าที่ร้อยตรี ทรงพล แป้นแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี นายประยูร ศิริวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี หัวหน้าส่วนราชการ ทหาร ตำรวจ ภาครัฐ และ ภาคเอกชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน จำนวน กว่า 3,500 คน ได้เข้าร่วมกิจกรรม รณรงค์แต่งไทย “นุ่งโจง ห่มสไบ แต่งไทยทั้งเมือง”

ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมการจัดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประจำปี 2568 ด้วยการ แต่งไทยย้อนยุค สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และ ชุดไทยประยุกต์ อย่างสวยสดงดงาม ปรับเป็นรูปขบวน โดยมีหน่วยงาน สถานศึกษา เข้าร่วมประกวดขบวนรณรงค์แต่งไทย จำนวน 8 ขบวน ประเภทสวยงาม จำนวน 4 ขบวน และประเภทความคิดสร้างสรรค์ จำนวน 4 ขบวน ออกเดินรณรงค์แต่งไทย

จากบริเวณลานเอนกประสงค์ สวนราชานุสรณ์ ตามท้องถนน ผ่านโบราณสถาน และจุดต่างๆ ในเขตตลาดชุมชนรอบตัวเมืองลพบุรี ระยะทางรวมกว่า 3 กิโลเมตร เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ งานที่ภาคภูมิใจและยิ่งใหญ่ที่สุดของชาวจังหวัดลพบุรี คือ งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งที่ 37 ประจำปี 2568

โดยได้เชิญชวนชาวลพบุรี พร้อมใจแต่งไทยกันทั้งเมือง ตลอดระยะเวลา 1 เดือน เพื่อเป็นการเสริมสร้างบรรยากาศของความเป็นไทย และร่วมกันแสดงออก ถึงการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ในการต้อนรับนักท่องเที่ยว ในช่วงของการจัดงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ซึ่งจะมีขึ้นระหว่าง วันที่ 14-23 กุมภาพันธ์ 2568 ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ อำเภอเมืองลพบุรี เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ องค์บูรพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

โดยเฉพาะสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงคุณูปการอเนกอนันต์ ต่อเมืองลพบุรี สำหรับกิจกรรมดังกล่าว นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์ และส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ และความเป็นชาติไทยแล้ว ยังถือเป็นการรวมพลังชาวลพบุรี ในการแต่งไทยทั้งเมือง เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนารายณ์มหาราช รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย เป็นการแสดงออก ซึ่งความร่วมมือกันระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน องค์กรต่างๆ และประชาชนในจังหวัดลพบุรี เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ

สำหรับงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในปีนี้พบกับความยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี 2568 ชมขบวนแห่ประวัติศาสตร์ รำบวงสรวง สวนนารายณ์นฤมิต ตำรับโอสถพระนารายณ์ ทหารวังเปลี่ยนเวร การแสดงละครลิง กิจกรรมแต่งชุดไทยจดทะเบียนสมรส หมากรุกคน ตลาดย้อนยุค ลานวัฒนธรรมและอาหารพื้นบ้าน

การแสดงศิลปวัฒนธรรม ซาโม่น “ตลาดมอญเมืองละโว้” ชิม ช้อป สินค้าโอทอปของดีจังหวัดลพบุรี สัมผัสการแสดง แสง สี เสียง ประวัติศาสตร์จินตนาการที่ปรับเปลี่ยนใหม่ ที่ยิ่งใหญ่ สุดอลังการ ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเปิดให้ชมฟรีอีกด้วย

สนอง แท่นสูงเนิน
ผอ.ศูนนย์ข่าวฯ / ประชาสัมพันธ์จังหวัดลพบุรี ภาพ/ข่าว