คลังเก็บหมวดหมู่: ข่าวศิลป และ วัฒนธรรม

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / กลุ่ม บีเจซี บิ๊กซี ทอดผ้าพระกฐิน พระราชทาน ณ วัดเซกาเจติยาราม พระอารามหลวง 1,834,991 บาท

แชร์เนื้อหานี้

กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี เป็นเจ้าภาพอัญเชิญผ้าพระกฐิน พระราชทาน ณ วัดเซกาเจติยาราม พระอารามหลวง รวมปัจจัย กฐินพระราชทาน และกฐินสามัคคี รวมทั้งพุ่มผ้าป่าฯจากสายธารศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ร่วมสมทบ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1.8 ล้านบาท พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานผ้าพระกฐิน ตามที่ บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด(มหาชน) และบริษัท บิ๊กซี ซุปเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด(มหาชน) โดย นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ขอพระราชทานเพื่อน้อมนำไปถวายยังชุมนุมสงฆ์ที่จำพรรษาถ้วนไตรมาส ณ วัดเซกาเจติยาราม พระอารามหลวง อ.เซกา จ.บึงกาฬ

โดยมี พระราชภาวนาโสภณ วิ. เจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬ เจ้าอาวาสวัดเซกาเจติยาราม พระอารามหลวง เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายจุมพฏ วรรณฉัตรศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายสัญญา โยธา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดบึงกาฬ นายนคร ศิริปริญญานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานภาคเอกชน ข้าราชการ ประชาชนทั่วไป และบุคลากรของกลุ่มบีเจซี บิ๊กซี ทั้งส่วนกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมพิธี ดังกล่าว


เมื่อเวลา 13.09 น.( 4 พฤศจิกายน 2567) ขบวนอัญเชิญพระกฐินพระราชทานพร้อมเครื่องบริวารพระกฐินเดินทางถึงบริเวณพระอารามหลวง โดย คุณอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ประธานในพิธี เดินทางมาถึงด้านหน้าพระอุโบสถ ถวายความเคารพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้นได้เปิดกรวยกระทงดอกไม้ ถวายความเคารพ และรับผ้าพระกฐินพระราชทาน วงดุริยางค์ทหารบก บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
จากนั้น โดย คุณอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน เดินเข้าสู่พระอุโบสถ วางผ้าพระกฐินที่พานแว่นฟ้า หน้าพระสงฆ์รูปที่2 จุดธูปเทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ ยืนประนมมืออุ้มประคองผ้าพระกฐินไว้

โดยหันหน้าไปทางพระประธาน กล่าวนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้าพระกฐิน เมื่อกล่าวคำถวายจบ ได้ยกประเคนถวายแด่พระสงฆ์รูปที่ได้รับฉันทานุมัติในหมู่สงฆ์ให้เป็นผู้ครองผ้าพระกฐิน คือ พระราชภาวนาโสภณ วิ. เจ้าคณะจังหวัดบึงกาฬ เจ้าอาวาส วัดเซกาเจติยาราม พระอารามหลวง ต่อจากนั้นประธานในพิธี ถวายเครื่องบริวารพระกฐินพระราชทาน แด่พระราชภาวนาโสภณ วิ. ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ถวายเครื่องไทยธรรมพระสงฆ์รูปที่ 2 แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมพิธี นำเครื่องไทยธรรม ถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ 9 รูป เป็นอันเสร็จพิธี

สำหรับ พิธีทอดผ้าพระกฐินพระราชทานในครั้งนี้ เพื่อนำเงินไปบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของพระอาราม เช่น จัดสร้างอาคารโรงเรียนพระปริยัติธรรม สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับพระภิกษุสามเณร โดยได้ยอดเงินรวม 1,834,991 บาท
ทั้งนี้ กลุ่มบีเจซี บิ๊กซี สาขาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดโรงทานให้กับประชาชนที่มาร่วมงาน มีทั้งอาหาร หวาน คาว ขนมขึ้นชื่อของแต่ละจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีประชาชนร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล//บึงกาฬ 0961464326

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / มท.1 ติดตาม ก่อสร้างโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่าน /พิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถและพิธีถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดเทพโลกอุดร

แชร์เนื้อหานี้

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล เลขานุการ รมว.มหาดไทย และโฆษกกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า วันนี้ (3 พ.ย. 67) เวลา 10.00 น. นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.มหาดไทย พร้อมด้วยนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายพงษ์นรา เย็นยิ่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก บริเวณที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นน 405 (บางส่วน) ต.ในเวียง อ.เมืองน่าน จ.น่าน โดยมีนายบัณฑูร ล่ำซำ รองประธานกรรมการมูลนิธิรักษ์ป่าน่าน ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นำชม

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า โครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านและแหล่งเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก มีเนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 11 ตารางวา แต่เดิมเป็นที่ตั้งของอาคารศาลากลางจังหวัดน่าน (หลังเก่า) ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 48 เห็นชอบประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน และเห็นชอบแผนแม่บทและผังแม่บทการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณเมืองเก่าน่าน ส่วนหนึ่งของแผนแม่บท กำหนดให้ปรับปรุงการใช้พื้นที่อาคารส่วนราชการเดิใเพื่ออนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน พัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้

ทั้งนี้ วันที่ 14 ก.ย. 66 กระทรวงมหาดไทยได้ลงนามสัญญาอนุญาตให้มูลนิธิรักษ์ป่าน่านฯ ดำเนินโครงการหอศิลปวัฒนธรรมเมืองน่านฯ ซึ่งประกอบด้วย 1. หอศิลปวัฒนธรรม 2. อาคารหอประชุมอเนกประสงค์ 3. อาคารบริการ 4. สวนพฤกษศาสตร์ และ 5. ลานกิจกรรม

เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ ภายในอาคารจะมีการจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนต้นทุนทางวัฒนธรรมต่อยอดปัญญาของบรรพชน และพื้นที่ศูนย์สร้างสรรค์ทางปัญญา NAN’S CREATIVE CENTER ได้แก่ พื้นที่เรียนรู้โดยสื่อดิจิทัล ลานเรียนรู้สำหรับเด็กเล็ก ลานกิจกรรมสัมมนา ห้องประชุมสำหรับทั้งแบบส่วนบุคคลและแบบกลุ่ม และห้องสมุดดิจิทัล

“ที่นี่จะเป็นแหล่งให้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เมืองน่านให้กับเด็ก เยาวชน ประชาชนทั่วไป ตามแนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการ สืบสาน รักษา และต่อยอดรากเหง้า ความเป็นชนชาติไทย ที่ได้รับการแบ่งเบาพระราชภาระโดยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่พระองค์ทรงมีพระกรุณาธิคุณต่อประชาชนชาวจังหวัดน่าน” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

การตรวจติดตามในครั้งนี้มีนายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นางวจิราพร อมาตยกุล นายบรรจง ขุนเพชร รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พลตรี วรเทพ บุญญะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38 พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ร่วมลงพื้นที่

จากนั้นรองนายกรัฐมนตรี และคณะเยี่ยมชม สักการะองค์พระมหาธาตุเจ้าภูเพียงแช่แห้ง ณ วัดพระธาตุแช่แห้งพระอารามหลวง อ.ภูเพียง จ.น่าน องค์พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดน่าน เป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ปีนักษัตรพระราชสมภพในหลวง รัชกาลที่ 9 ปัจจุบันมีอายุกว่า 671 ปี/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

น่าน พิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถและพิธีถวายผ้าพระกฐินประทานสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ณ วัดเทพโลกอุดร

เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ณ วัดเทพโลกอุดร บ้านมงคลนิมิต ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พลเรือเอกพิเชฐ ตานะเศรษฐเป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถ และพิธีถวายผ้าพระกฐินประทานสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก

โดยมีพระราชศานาภิบาลเจ้าคณะจังหวัดน่าน เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระสุนทรมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน พระครูสิรินันทวิทย์ เจ้าคณะอำเภอเมืองน่าน พระครูนิเทศนันทกิจ เจ้าคณะตำบลผาสิงห์ –บ่อ พระอาจารย์นิรัช จัตตสัลโล เจ้าอาวาสวัดเทพโลกอุดร พระอาจารย์สุรวงศ์ ปัญญาวโร คณะสงฆ์วัดเทพโลกอุดร ทุกรูป ผู้บริหารกลุ่มบริษัทพัทยา พล.ต.รุศมนตรี จิณเสน คุณแม่มาลัย จันทะเสน นายนพรัตน์ ถาวงศ์ นายก อบจ.น่าน นายศรีรุ่ง รัตนศิลา ประธานหอการค้าจังหวัดน่าน

พล.ท.สามารถ โพธิสระ อ.พูลศรี เกียรติกำจาย พ.ต.อ.หญิง ศิริพรรณ พูลสุข พ.อ.ดร.พงศ์ศิริ พงศ์อาริยะมงคล ทหารจาก มทบ.ที่ 38 กองพันทหารม้าที่ 10 กองพันทหารม้าที่ 15 กรมทหารม้าที่ 2 ตำรวจภูธรน่าน ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น พี่น้องประชาชนในพื้นที่จังหวัดน่านและ ทุกสารทิศ ร่วมพิธีและร่วมปวารณาถวายจตุปัจจัยเพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถหลังแรก ด้วยวัดเทพโลกอุดร ได้รับการแต่งตั้งเป็นวัดตามมติของมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจึงประกาศเรื่องการตั้งในพระพุทธศาสนา

เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีอุโบสถในการทำสังฆกรรมต่างๆของคณะสงฆ์ ดังนั้นคณะสงฆ์ คณะกรรมการและศิษยานุศิษย์วัดเทพโลกอุดร จึงได้กำหนดจัดพิธีวางศิลาฤกษ์อุโบสถและพิธีถวายผ้าพระกฐินประทานโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสมทบทุนสร้างอุโบสถหลังแรกขนาด 22X39 เมตร ซึ่งเป็นอุโบสถแบบศิลปะล้านนา เพื่อเป็นสถานที่สำหลับทำสังฆกรรมของคณะสงฆ์และสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้คงสืบไป และท้ายนี้ต้องขอขอบคุณเจ้าภาพโรงทาน ทุกท่านที่นำอาหารหวานคาวและน้ำดื่มมาร่วมโรงทานในครั้งนี้ ขอบคุณเจ้าของรถราง พนักงานขับรถรางทุกท่าน

ที่คอยรับส่งผู้มาร่วมงานทำบุญในครั้งนี้ ขออำนาจแห่งคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมทั้งอานิสงส์บุญบารมีที่ท่านได้ร่วมพิธีทำวางศิลาฤกษ์อุโบสถหลังแรกและพิธีถวายผ้าพระกฐินประทานในครั้งนี้ โปรดอำนวยอวยพรให้ท่านและครอบครัวประสพแต่ความสุข ความเจริญ ด้วยจตุพิธพรชัย คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิฎาณ ธนสารสมบัติ มีความสุข ความเจริญรุ่งเรืองและสัมฤทธิ์ผลในสิ่งอันพึงปรารถนา ทุกประการเทอญ/

บุญยงค์ สดสะอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน DJ ม้าศึก/DJ ป๋วย รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ /วัดคลองกะพั้วจัดพิธีบวงสรวงพระนารายบรรทมสินประทับบนปู่อนันตนาคราช 1,000 เศียร/ท่าปลาแถลงข่าวเตรียมจัดงานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลาครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 ช่วงเทศกาลออกพรรษา “แห่ผีตลก หนึ่งเดียวในโลก

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 24 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดคลองกะพั้ว ต.บ้านโคน อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ พระอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ สีลโตโช เจ้าอาวาสวัดคลองกะพั้ว นำผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สื่อมวลชนและชาวบ้านเข้าชมการดำเนินงานก่อสร้างพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ ประทับบนปู่อนันตนาคราช 1,000 เศรียร ซึ่งอยู่ภายในบริเวณวัดคลองกะพั้ว ซึ่งมีขนาด ความกว้าง 15 เมตรลึก 2เมตร 50 เซนติเมตร ขณะนึ้การก่อสร้างไกล้จะแล้วเสร็จ และจะได้มีการประกอบพิธีบวงสรวงในวันที่ 9 ตุลาคม 2567 เวาลา 19.09 น.โดยจะมีพิธีบวงสรวงโดยพิธิกรรมจากพราห์มมและการร่ายรำถวายบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าโดยคณะพราห์มและนางรำที่เดินทางมาจากคำชโนด จ.อุดธานี

สำหรับการสร้างรูปปั้นจำลองพระนารายบรรทมสินธิ์ุ ประทับบนพ่อปู่อนันตนาคราช 1,000เศียร ซึ่งจะมีความสูงประมาณ 6 เมตรรวมฐานที่ตั้ง ประดิษสถานบริเวณภายในวัดคลองกะพั้ว เพื่อให้สาธุชนผู้มีจิตศรัทธาต่อพระนารายณ์บรรทมสินธิ์และปู่อนันตนาคราช ตลอดถึงสาธุชนทั่วไปได้เข้ามากราบไว้สักการะบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคล

พระอาจารย์ศักดิ์สิทธิ์ สีลเตโช เจ้าอาวาสวัดคลองกะพั้ว กล่าวว่า ภายหลังจากพิธีบวงสรวงองค์พระนารายบรรทมสินธ์ประทับบนพ่อปู่อนันตนาคราช 1,000 เศียร ในช่วงค่ำของวันที่ 9 ตุลาคม เสร็จสิ้น ในช่วงเช้าของวันที่ 10 ตุลาคม ก็จะได้มีพิธีในการทอดกฐินสามัคคี จากคณะศรัทธาและพุทธศาสนิกชนมาร่วมกันทอดกฐินในครั้งนี้ จึงอยากจะขอบอกบุญไปยังผู้มีจิตศรัทธาขอเชิญร่วมบุญทอดกฐินในครั้งนี้

สำหรับอานิสงส์ของการทอดกฐิน
-ทำให้เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์สินมาก ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน
-ทำให้เป็นผู้มีจิตใจแจ่มใส บริสุทธิ์ และผ่องใสอยู่เสมอ
-ทำให้เป็นผู้มีจิตใจตั้งมั่น เป็นสมาธิ และเข้าถึงธรรมได้ง่าย
ได้ชื่อว่าเป็นผู้สามารถใช้สร้างบุญกุศล ให้ติดตัวไปในภพเบื้องหน้าได้อย่างเต็มที่
-ทำให้เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่รักของคนทั่วไป
-ทำให้เป็นผู้มีชื่อเสียง เกียรติคุณ น่ายกย่องสรรเสริญ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธา น่าเคารพนับถือ
ทั้งนี้ยังเป็นการสงเคราะห์พระภิกษุที่จำพรรษา

นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

อุตรดิตถ์-อำเภอท่าปลาแถลงข่าวเตรียมจัดงานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลาครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 ช่วงเทศกาลออกพรรษา “แห่ผีตลก หนึ่งเดียวในโลก

วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่หอประชุมโรงเรียนท่าปลาประชาอุทิศ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ นายจักรพรรณ สุวรรณภักดี นายอำเภอท่าปลา นายกิตติกานต์ ทองแตง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลผาเลือด นายสุรินทร์ ปริมาณ นายกเทศมนตรีตำบลท่าปลา นายนันทสิทธิ์ โพธิ์งาม รองปลัด อบจ.อุตรดิตถ์ นางสาวภัททิรา คำอภิวงศ์รองผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานแพร่ ปฏิบัติหน้าที่ หัวหน้าศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จ.อุตรดิตถ์

พร้อมด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมของดีอำเภอท่าปลา ครั้งที่ 8 ประจำปี 2567 ชึ่งกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 4-10 พฤศจิกายน 2567 ณ ที่ว่าการอำเภอท่าปลา จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมประเพณีประจำท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ของดีอำเภอท่าปลาให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในขนและสร้างรายได้ใต้ไห้แก่ประซาชนและชุมชน เพื่อพัฒนาสินค้าและผลิตภัณฑ์ OTOP ของอำเภอท่าปลาให้มีควนภาพเพิ่มมากขึ้น.เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกร มีรายได้ จาการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มมากขึ้น โดยความร่วมมือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 9 แห่ง ,องค์กรปกครองส่วนท้องที่ทั้ง 7 ตำบล ของอำเภอท่าปลา และการสนับสนุนงบประมาณจาก

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุตรดิตถ์และองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าเชื่อนสิริกิติ์ เพื่อให้การสืบสานวัฒนธรรมประเพณีของดีอำเภอท่าปลาที่เป็นขบวนวัฒนธรรมประจำถิ่นที่มีความโดดเด่นแต่ละท้องถิ่น ในงานมีการจัดบูธวัฒนธรรมแต่ละท้องถิ่น ลานวัฒนธรรม การจัดเวทีเสวนาภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้านอำเภอท่าปลา การจัดบูธผ้าทอมือ จกด้วยขนเม่น “มรดกล้ำค่าของคนท่าปลาลายงูเหลือม” การจัดเดินแบบผ้าทอท่าปลาในลานวัฒนธรรมท่าปลา ประเพณีแห่มีตลกอำเภอทำปลา ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมากว่าสองร้อยปี สภาวัฒนธรรมได้ขอนำเสนอผีตลก ชาวทำปลามีการละเล่น 2 แบบ คือ คนท่าปลาเดิม ขาวตำบลท่าแฝก เรียกประเพณีแห่ฝีขน นำมาละเล่นในการแห่นาดไปในชุมชน

เพื่อไปขอกราบลากับผู้อาวุโสโนชุมชน มีการแต่งผีตลก นำวิธีแห่ฝีตลกมาใช้ในช่วงเทศการออกพรรษา คือก่อนออกพรรษา ชาวอำเภอปลาจะเข้าในป่าเพื่อตัดไม้ไผ่มาจักเป็นตอก เพื่อมาสานเป็นหัวผีลกและประดับประดาตกแต่งหัวผีให้น่ากลัว รวมถึงขอใช้ผ้าเหลืองพระเก่ามาทำหัวผีตลก การดำเนินการทำหัวก่อนออกพรรษา 1วัน จะมีขบวนแห่หัวผีตลก

วิธีปฏิบัติของคนที่จะสวมหัวผีก็จะนำหมากคำพลูใบ และไข่ต้ม 1 ฟอง เข้าไปอัญเชิญผีมาเข้าเพื่อแห่ไปในหมู่บ้านเพื่อ ชาวบ้านเห็นขบวนแห่ผีตลก จะช่วยกัน ตัดต้นกลัวย ต้นอ้อย ตันข่า ต้นกุ๊ก ตันดอกไม้มากองไว้ที่หน้าบ้านข้างทางเพื่อคณะกรรมการที่ไปร่วมขบวนแห่เก็บเอามาที่วัดเพื่อนำมาประดับประดาศาลาการเปรียญให้เป็นป่าหิมพานต์และเทศน์มหาชาติ

ชมขบวนรถแห่ทั้ง 9 ขบวน 7 ตำบล ได้ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ในวันที่ 8 พย.นี้ และเพลิดเพลินไปกับขบวนผีตลก ชมการประกวดนางงามวัฒนธรรม การประกวดร้องเพลงไทยลูกทุ่ง การแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (แสง สี เสียง)

และอย่าลืมเลือกซื้อสินค้าชุมชน อาหารท้องถิ่น ของฝากสินค้า OTOP ติดไม้ติดมือกลับบ้านด้วย.

นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

​สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / กฐินน้ำบูชาพญานาค สืบสานประเพณีลุ่มน้ำโขง/เทนนิสเชื่อมความสัมพันธ์ 2 ฝั่งโขง ไทย-ลาว มุกดาหาร​-สะหวันนะเขต ครั้งที่ 37

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2567 เวลา 12.00 น. นายไกร เอี่ยมจุฬา รองผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร รับมอบหมายจาก ผวจ.มุกดาหาร ให้เป็นประธานในพิธีทำบุญกฐินน้ำบูชาพญานาค ครั้งที่ 17 โดยความร่วมมือของ ภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดมุกดาหาร

ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดมุกดาหาร องค์การบริหารส่วนจังหวัดมุกดาหาร เทศบาลเมืองมุกดาหาร ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครพนม โดยมีบริษัทห้างร้านเอกชน ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาในองค์พญานาค

และนักท่องเที่ยวเข้าร่วมพิธี บริเวณใต้สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร – สะหวันนะเขต
หลังจากพิธีบวงสรวงเสร็จสิ้น ได้มีการนำเครื่องบวงสรวงถวายใส่กระทงขนาดใหญ่เพื่อลอยลงแม่น้ำโขงเพื่อเป็นการบูชาองค์ปู่พญาอนันตนาคราช เพื่อความเป็นสิริมงคล เป็นอันเสร็จพิธี

สำหรับประเพณีกฐินน้ำบูชาพญานาค จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงเทศกาลออกพรรษา เป็นการแสดงความกตัญญูต่อแม่น้ำคงคา และบูชาองค์พญานาค นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

เผยแพร่ประเพณีอันดีงามนำพาผู้คนมาสัมผัสความงดงามของธรรมชาติและวัฒนธรรมริมฝั่งโขง ขณะเดียวกันมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยว บริเวณสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 และไหว้พญานาค บริเวณที่จัดงานและทำให้เห็นถึงพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ของชาวจังหวัดมุกดาหารด้วย

ศูนย์ข่าวมุกดาหาร

เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777​

มุกดาหาร​ -​ เทนนิสเชื่อมความสัมพันธ์ 2 ฝั่งโขง ไทย-ลาว มุกดาหาร​-สะหวันนะเขต ครั้งที่ 37

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2567นายรังสิฐ ลือพาณิชย์กุลประธานชมรมกีฬาเทนนิสจังหวัดมุกดาหาร นำนักกีฬา เทนนิสจังหวัดมุกดาหาร รุ่นทั่วไป​ และรุ่นอาวุโส จำนวน 40 คน​ ข้ามไปเล่นกีฬาเทนนิสมิตรภาพเชื่อมความสัมพันธ์ไทย-ลาว​ ที่เมืองไกสอนพรมวิหาร แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว โดยได้รับการอนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกในการเดินทางจากทางท่านวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร และหน่วยงานต่างๆ อาทิ ตรวจคนเข้าเมืองมุกดาหาร ศุลกากรมุกดาหาร แขวงการทางมุกดาหาร ในการนี้

ท่านกิลือไช จันโท ประธานสหพันธ์กีฬาเทนนิส แขวงสะหวันนะเขต นำคณะกรรมการและนักกีฬาให้การต้อนรับ พร้อมกล่าวชื่นชมยินดีในมิตรภาพของนักกีฬาทั้งสองประเทศที่มีมาช้านาน ซึ่งการจัดการแข่งขันครั้งนี้จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 37 แล้ว จัดแข่งขันกีฬากันปีละ 2 ครั้ง สลับกันเป็นเจ้าภาพ หลังจากการแข่งขันเสร็จแล้ว นักกีฬาทั้งสองประเทศร่วมรับประทานอาหาร​ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ในกีฬาเทนนิส
ก่อนจะเดินทางกลับ

ศูนย์ข่าวมุกดาหาร

ภาพ/ข่าว​ กำพล​ ศรีมณีพันธ์
เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777​

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / “อนุทิน” ชื่นชม อนุรักษ์พุทธศิลป์ไทยยิ่งใหญ่ ! สถาบันพระปกเกล้า จัดมหกรรมประกวดอนุรักษ์พระบูชา-พระเครื่อง

แชร์เนื้อหานี้

โดยมี นายวิทวัส ชัยภาคภูมิ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ดร.ถวิลวดี บุรีกุล รองเลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า นายณัฐพงศ์ รอดมี ผู้ช่วยเลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า นายศุภณัฐ เพิ่มพูนวิวัฒน์ ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า พลเอก นักรบ บุญบัวทอง ประธานดำเนินงาน นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายพรพจน์ เพ็ญพาส อธิบดีกรมที่ดิน พระปลัดสุรเชษฐ์ สุรเชฏฺโฐ เจ้าอาวาสวัดโตนด นายพิศาล เตชะวิภาค (ต้อย เมืองนนท์)อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารสมาคมพระเครื่อง พระบูชาไทย คณะนักศึกษา หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสันติสุข (สสสส.) รุ่น 1-14 สถาบันพระปกเกล้า ตลอดจน แขกผู้มีเกียรติร่วมในงานอย่างคับคั่ง

นายอนุทิน กล่าวว่า สถาบันพระปกเกล้า ถือเป็นเสาหลักของภูมิปัญญาทางการเมืองของประเทศไทย เป็นเรื่องน่าชื่นชม ที่ทางสถาบันฯ ได้จัดกิจกรรม “มหกรรมการประกวดการอนุรักษ์พระบูชา พระเครื่อง” ขึ้น เพื่อหารายได้สนับสนุนโครงการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ในฐานะที่ตนเป็นนักการเมือง ทำงานการเมืองมาเกินครึ่งของชีวิตการทำงานแล้ว ก็ดีใจที่การเมืองภาคพลเมืองจะได้รับการสนับสนุน เพราะนั่นหมายถึง การมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพของประชาชนต่อไป อันจะนำมาซึ่งการพัฒนาทางการเมืองและการบริหารประเทศอย่างยั่งยืน

“การที่ทุกท่านมาร่วมงานมหกรรมประกวดพระเครื่องฯครั้งนี้ ขอยืนยันว่าเหนือฟ้ายังมีฟ้า เพราะไม่มีพระเครื่ององค์ใดที่เป็นแชมป์ตลอดไป แต่อยู่ที่ใจของเรา หากเราคิดว่าพระองค์ใด ถูกใจ หรือถูกโฉลกกับเรา พระองค์นั้นคือองค์ที่สวยที่สุด มีมูลค่ามากที่สุด หรืออาจจะประเมินค่าไม่ได้” รมว.มหาดไทย กล่าว

นายอนุทิน กล่าวเพิ่มว่า ขอให้ทุกคนใช้โอกาสนี้ในการชื่นชมพุทธศิลป์ ศิลปะของไทย ที่ล้วนแล้วแต่มีคุณค่า มีความเป็นสิริมงคล และได้ร่วมกันถ่ายทอดมรดกวัฒนธรรมทางพุทธศาสนา อันเป็นที่พึ่งทางใจ
การมีพระเครื่องอยู่ที่คอ อย่างน้อยจะทำให้เรายับยั้ง และมีจิตสำนึกที่ดี ในการจะทำสิ่งที่สุ่มเสี่ยง หรือปฏิบัติสิ่งที่ไม่ดี

ด้าน พลเอกนักรบ บุญบัวทอง ประธานคณะกรรมการจัดงาน กล่าวว่า กิจกรรมที่จัดขึ้นครั้งนี้ เพื่อนำรายได้สนับสนุน โครงการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ของสถาบันพระปกเกล้า เพื่อเป็นการสนับสนุนการอบรมให้ความรู้ประชาธิปไตย แก่ภาคพลเมืองเยาวชนทั่วประเทศ

สำหรับกิจกรรมประกวดอนุรักษ์พระบูชา พระเครื่องฯ ดำเนินการขึ้นระหว่าง วันที่ 5-6 ตุลาคม โดยมีรางวัลประเภทโต๊ะต่างๆ 78 รางวัล และมี รางวัลชนะเลิศ 3 รางวัล ได้แก่รางวัลชนะเลิศคะแนนรวมสูงสุด รางวัลชนะเลิศคะแนนรวมพระยอดนิยม และรางวัลชนะเลิศคะแนนรวมพระทั่วไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากพิธีเปิดงาน รมว.มหาดไทย นำคณะผู้จัดงาน เดินเยี่ยมชมบูธการจัดแสดงพระเครื่องพระบูชาที่มาจากทั่วประเทศ พร้อมเดินทักทายพ่อค้าแม่ค้าตลาดนัดพระอีกด้วย

“สว.อังกูร” ผนึกกำลัง 20 องค์กร แบ่งปันความสุข รวมพลังฟื้นฟูสวัสดิภาพสัตว์ที่ประสบภัยน้ำท่วมภาคเหนือ

เวลา 10.00 น.วันที่ 7 ตุลาคม 2567 ที่วิทยาลัยการตำรวจ พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง สมาชิกวุฒิสภา พร้อมด้วย พล.ต.ท.วัฒนา ยี่จิน ผบช.ศ. และ รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร อุปนายกสมาคมป้องกันกาทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย นายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ 20 องค์กรเครือข่าย ร่วมปล่อยคาราวานรถสิ่งของ อาหาร เวชภัณฑ์ วัคซีนที่จำเป็นต่อสัตว์ ในโครงการช่วยเหลือประชาชนและฟื้นฟูสวัสดิภาพสัตว์ หลังประสบอุทกภัยในพื้นที่ จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย ส่งไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งใหญ่

พล.ต.ต.อังกูร คล้ายคลึง เปิดเผยว่า อุทกภัยที่เกิดครั้งนี้ ส่งผลให้คนและสัตว์ได้รับความเดือดร้อนทุกข์ยาก ลำบากค่อการใช้ชีวิตตามปกติ ด้วยความห่วงใย จึงได้หารือคณะทำงาน โดยเฉพาะสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย (TSPCA) ในการให้ความช่วยเหลือผผุ้ประสบภัยทั้งสรรพสัตว์น้อยใหญ่ที่เดิอดร้อน จึงนำมาซึ่งการร่วมกับองค์กรเครือข่ายต่างๆเพื่อเยียวยาฟื้นฟูสวัสดิภาพสัตว์หลังประสบอุทกภัย เป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายซื้อยา อาหาร และเวชภัณฑ์ในการดูแลสัตว์ ป้องกันโรคที่จะเกิดจากสัตว์ รวมถึงเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจที่ดีให้กับพี่น้องผู้ประสบภัยด้วย

ด้านนายพืชผล น้อยนาฝาย ปศุสัตว์จังหวัดเชียงราย กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนกรมปศุสัตว์ ขอบพระคุณทุกท่าน ทุกองค์กร ทุกเครือข่าย ที่ระดมสิ่งของเครื่องใช้ อาหาร เวชภัณฑ์ต่างๆส่งไปช่วยเหลือสัตว์และพี่น้องชาวเชียงใหม่ เชียงราย ที่ได้รับผลกระทบ คุณประโยชน์ครั้งนี้ เป็นการช่วยเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างมีเมตตาธรรม ให้โลกใบนี้มีความรัก ความสงบสุขร่วมเย็น

สื่อรัฐทีวี – สื่อรัฐนิวส์ / ลูกสะตอ แห่ชิงเปรต สารทเดือนสิบ คนใต้ชลบุรี แน่นวัดหนองใหญ่ / พัทยาเตรียมจัดพิธี “นวราตรี” วันแห่งชัยชนะ 9 วัน 9 คืน

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 29 ก.ย.67 มีรายงานว่า สมาคมชาวใต้ชลบุรี โดย นายสมคิด อุ่นเรือน นายกสมาคมชาวใต้ชลบุรี ได้จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นชาวภาคใต้ งานบุญสารทเดือนสิบ ประจำปี 2567 ซึ่งได้รับเกียรติจากนายสมสิน ทิพย์มณี ประธานที่ปรึกษาสมาคมชาวใต้ชลบุรี ให้เกียรติร่วมงานท่ามกลางพี่น้องชาวใต้ในเมืองพัทยาและจังหวัดชลบุรีที่เข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง

ด้วยสมาคมชาวได้ชลบุรี ได้ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามัคคี สร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและประชาชนทั่วไป อีกทั้งเพื่อรักษาและเผยแพร่วัฒนธรรมขนบธรรมเนียม รวมถึงปลูกฝังคุณธรรมร่วมกัน และมีส่วนร่วมจัดกิจกรรมบำเพ็ญกุศลและละสาธารณะประโยชน์ให้สังคมตลอดมา

ในปีนี้ ทางสมาคมชาวใต้ได้กำหนดการจัดงานบุญสารทเดือนสิบขึ้น ซึ่งถือเป็นครั้งที่ 42 เพื่อเปิดโอกาสให้พี่น้องชาวใต้ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดใกล้เคียงที่ไม่สามารถจะเดินทางกลับ
ภูมิลำเมาได้ร่วมประกอบงามบุญในครั้งนี้โดยทั่วกัน โดยมุ่งเน้นรูปแบบการจัดงานให้เหมือนกับประเพณีทางภาคใต้ที่ได้ดำเนินงานเฉกเช่นเป็นประจำทุกปี

ภายในกิจกรรมปีนี้ไฮไลท์ที่น่าสนใจคือการแข่งขันปีนเสาน้ำมัน และพิธีชิงเปรต เป็นประเพณีของภาคใต้ที่ทำกันในวันสารทเดือนสิบ เป็นประเพณีเมืองมนุษย์ 15 วัน โดยมาในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ซึ่งถือว่าเป็นวัน “รับเปรต” หรือ วันสารทเล็ก ลูกหลานต้องเตรียมขนมมาเลี้ยงดูให้อิ่มหมีพีมันและฝากกลับเมืองเปรต ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 นั้นคือวัน ” ส่งเปรต ” กลับคืนเมือง เรียกกันว่า วันสารทใหญ่

กระตุ้นท่องเที่ยวมูเตลู! พัทยาเตรียมจัดพิธี “นวราตรี” วันแห่งชัยชนะ 9 วัน 9 คืน

 วันที่ 29 ก.ย.67 มีรายงานว่า ผู้สื่อข่าวแขนงต่างๆ เข้าร่วมงานแถลงข่าวเตรียมจัดงานพิธีนวราตรี และงานแห่ประเพณี เนื่องในวันแห่งชัยชนะ ประจำปี 2567 โดยเทวาลัยมหากาลีอวตารจักรวาลชนนี ร่วมกับสมาคมอินเดียชลบุรี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 ทั้งนี้ ในพิธีแถลงข่าวมี นางอำพร แก้วแสง ผู้ก่อตั้งเทวาลัยมหากาลีอวตารจักรวาลชนนี พร้อมด้วย ดร.ดีโอ กูมาร์ ซิงค์ นายกสมาคมอินเดียชลบุรี, นายนเรช จันเดอร์ รองนายกสมาคมอินเดียชลบุรี, นายปราชาญ บาตต์ อุปนายกสมาคมอินเดียชลบุรี และนายเซเรช นักธุรกิจคุชราฏ พัทยา ร่วมพิธี สำหรับพิธีนวราตรี และงานแห่ประเพณี เนื่องในวันแห่งชัยชนะ ประจำปี 2567 ถือเป็นการจัดขึ้นครั้งแรกของเทวาลัยมหากาลีอวตาร จักรวาลชนนี โดยร่วมกับคณะกรรมการสมาคมอินเดียชลบุรี เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองสักการะบูชา และสรรเสริญแห่งองค์พระแม่ทุรคา โดยไฮไลท์ของงานจะมีขึ้นในวันที่ 8 ต.ค. 67 - มีพิธีสวดโซฮา อารตีถวายพระแม่ โดยพราหมณ์คณะบารมี เริ่มตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้นไป ส่วนวันที่ 9 ต.ค. 67 - ช่วงเช้าพราหมณ์ทำพิธีสวดถวายและอารตีไฟถวายพระแม่ หลังจากเสร็จพิธี ช่วงเวลา 16.00 น. จะมีการตั้งขบวนแห่องค์พระแม่และองค์เทพ จากเทวาลัยเคลื่อนขบวนไปยังถนนพัทยาสายสอง มุ่งหน้าลงสู่ถนนเลียบชายหาด วงเวียนปลาโลมา ซึ่งจะมีจุดพักให้ผู้มีจิตศรัทธาได้สักการะบูชา 4 จุด ประกอบด้วย ร้านอาหารอินเดีย Indigo ถนนพัทยา สาย 2 ร้านอาหารอินเดีย Rasoi ถนนพระตำหนัก ร้านอาหารอินเดีย Mumbai se ถนนพัทนา สาย 2 และร้านอาหารอินเดีย Peshwa ถนนเลียบชายหาด หลังจากนี้นั้นขบวนจะกลับมาที่เทวาลัยและเริ่มพิธีในเวลา 19.00น.

และในวันที่ 10 ต.ค. 67 ช่วงเวลา 19.00 น.พราหมณ์ทำพิธีสวดถวายพระแม่ การแสดงการร่ายรำ หรือที่เรียกว่า เต้นดานเดีย วัฒนธรรมจากประเทศอินเดีย ทั้งนี้ขอมห้ผู้มีจิตศรัทธาในองค์พระแม่ทุก ๆพระองค์ มาร่วมงานนวราตรีตลอด 9 วัน 9 คืน ณ เทวาลัยมหากาลีอวตารจักรวาลชนนี

สำหรับนวราตรี คืออีกหนึ่งเทศกาลสำคัญทางศาสนาของชาวฮินดูทั่วโลก เป็นวันเฉลิมฉลองชัยชนะขององค์พระแม่ทุรกาที่ปราบอสูรได้สำเร็จ หลังจากต่อสู้กันมาเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน (นวราตรี) และยังเป็นการฉลององค์พระแม่ทุรกา ทั้ง 9 องค์ จะเป็นวันที่ทุกคนจะไม่ทานเนื้อสัตว์ ไม่ดื่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ปฏิบัติตัวที่ผิดศีล ทั้งนี้ภายในพิธีจะมีการจัดเต้นดานเดีย วัฒนธรรรมจากประเทศอินเดียที่ได้รับความนิยมในอินเดีย ในจังหวัดคุชราฏ และการในครั้วสมาคมคุชราฏ พัทยา ก็ได้สนับสนุนเต้นดานเดีย อีกทั้งภายในงานจะมีโรงทานอาหารอาหารมังสวิรัติไทยและอินเดีย ให้บริการผู้ร่วมงาน จึงขอเชิญชวนผู้ศรัทธาเข้าร่วมงาน ระหว่างวันที่ 3-11 ตุลาคม 2567 ณ เทวาลัยมหากาลีอวตารจักรวาลชนนี เมืองพัทยา จ.ชลบุรี

สื่อรัฐทีวี – สื่อรัฐนิวส์ / แห่เปรต”สืบสานประเพณีสารทเดือน 10 คึกคัก ขอพร “ศพไม่เน่าไม่เปื่อยเหลือแต่กระดูกในโลงแก้ว”

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 29 กันยายน 2567 ประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ร่วมกันสืบสานประเพณีสารทเดือน 10 หรืองานแห่เปรตจัดขึ้นโดยวัดดอยสวรรค์ (วัดเขาไก่เขี่ย) อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ โดยขบวนแห่เริ่ม ณ บริเวณด้านหน้า สภ.วังกะพี้ อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์

มีพระครูประจักษ์กิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดดอยสวรรค์ (เขาไก่เขี่ย) ต.วังแดง อ.ตรอน จ.อุตรดิตถ์ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์นำพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ออกรับบิณฑบาตไปตามถนนสายวังกะพี้ – ตรอนระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร และมีขบวนแห่พระพุทธรูปจำลอง เทวดา นางฟ้า เปรต กระหัง อสูรกาย และขบวนมหรสพ เช่น ลิเก มวยการกุศล ซึ่งตลอด 2 ข้างทาง มีประชาชนมารอใส่บาตรข้าวสาร อาหารแห้ง และปัจจัย เป็นจำนวนมากเมื่อขบวนแห่เปรตมาถึงยังวัดดอยสวรรค์ เป็นที่เรียบร้อย ได้มีการประกอบพิธีอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

พระครูประจักษ์กิตติคุณ กล่าวว่า วัดดอยสวรรค์ (เขาไก่เขี่ย) จัดงานประเพณีสารทเดือนสิบ หรืองานแห่เปรต เป็นประจำทุกปีต่อเนื่องมากว่า 20 ปี เพื่อรักษาประเพณี สืบทอดพระพุทธศาสนา มีการจำลองนรก สวรรค์ และเมืองมนุษย์ เพื่อสอนให้คนเกรงกลัวต่อบาป หันมาทำความดีตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา และให้ชาวพุทธได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ ซึ่งจากการจัดงานมาอย่างต่อเนื่อง ได้รับความสนใจจากประชาชนเข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็จะได้อนุรักษ์สืบสานประเพณีนึ้ไว้ต่อไป

ภายหลังจากเสร็จพิธี ผู้สื่อข่าวได้สังเกตุเห็นมีประชาชนบางกลุ่มได้เข้าไปกราบขอพรโครงกระดูกที่บรรจุภายในโลงแก้ว สอบถามชาวบ้านจึงทราบว่า โครงกระดูกดังกล่าวเป็นศพของนายประกอบ นาคลัดดา ซึ่งเป็นบิดาของพระครูประจักษ์กิตติคุณ เจ้าอาวาสวัดดอยสวรรค์ (เขาไก่เขี่ย) เสียชีวิตไปเมื่อปี 2545 ด้วยวัยชรา ก่อนหน้าจะเสียชีวิตนายประกอบ ได้มาถือศิล ปฏิบัติธรรมนุ่งขาวห่มขาวอยู่ที่วัดดอยสวรรค์แห่งนี้ เมื่อเสียชีวิตลงศพกลับไม่เน่าไม่เปื่อย แต่จะเหี่ยวแห้งไปตามการเวลา จนเหลือแต่โครงกระดูกที่มีสภาพที่สมบูรณ์อยู่เท่าทุกวันนี้

นาคา คะเลิศรัมย์/ รายงาน

สื่อรัฐทีวี/สื่อรัฐนิวส์ – ​พ่อเมืองมุกดาหาร เปิดงานฉลอง 42 ปี สานอดีต ปัจจุบัน อนาคต

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2567​ นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานในพิธี บวงสรวงสักการะศาลหลักเมืองมุกดาหาร และถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่หน้าศาลากลางจังหวัดมุกดาหาร เนื่องในโอกาสครบรอบ 42 ปี การตั้งจังหวัดมุกดาหาร พร้อมกับเปิดงาน 42 ปี “มุกดาหาร สานอดีต ปัจจุบัน อนาคต” โดยมีนางรำจากทั้ง 7 อำเภอในจังหวัดมุกดาหาร และเทศบาลเมืองมุกดาหาร แสดงรำเฉลิมฉลอง 42 ปี ด้วย

จากนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหารได้เดินทางไปเป็นประธานเปิดกิจกรรมร้อยเรียงอดีต ปัจจุบัน อนาคต จังหวัดมุกดาหาร การเสวนาในประเด็นจังหวัดมุกดาหารอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เปิดรับฟังความคิดเห็นและมุมมองจากทุกภาคส่วนถึงทิศทางการพัฒนาจังหวัดมุกดาหาร การจัดแสดงนิทรรศการงาน 42 ปี ที่หอประชุม 250 ปีจังหวัดมุกดาหาร

ทั้งนี้ มุกดาหารเป็นจังหวัดชายแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้รับการจัดตั้งเป็นจังหวัดมุกดาหารเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2525 เป็นจังหวัดที่ 73 ของประเทศไทย ประกอบด้วย 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองมุกดาหาร อำเภอคำชะอี อำเภอนิคมคำสร้อย อำเภอดอนตาล อำเภอดงหลวง อำเภอหว้านใหญ่ และอำเภอหนองสูง มีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 เชื่อมกับแขวงสะหวันนะเขต ซึ่งเป็นแขวงใหญ่อันดับสองรองจากนครหลวงเวียงจันทน์ ทั้งยังเป็นจังหวัดที่อยู่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East West Economic Corridor : EWEC) ด้วย

ศูนย์ข่าว​มุกดาหาร

ภาพ​/ข่าว​ เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777​