สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / งานฤดูหนาวพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในวาระ 100 ปี

เมื่อวันที่ 8 ธ.ค.67 ด้วยพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน (ค่ายพระรามหก) อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี กำหนดจัดงานฤดูหนาว พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในวาระ 100 ปี ณ สโมสรเสวกามาตย์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ทุกวันเสาร์ตลอดเดือนธันวาคม 67 โดยเริ่มวันเสาร์ที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา เป็นการแสดงกีต้าร์ Magical Melodies โดยศิลปิน ฮัคกี้ ไอเคิ้ลมานน์ (Hucky Eichelmann) มาบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และท่วงทำนองของไทยอื่นๆ

พร้อมกับการอ่านบทพระราชนิพนธ์มัทนะพาธา จากบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบดนตรี (Madanabadha Suite) โดยมีศิลปินรับเชิญ ภัทราวดี มีชูธน (ศิลปินแห่งชาติ) อานันท์ นาคคง (ศิลปินศิลปาธร) อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) โดยได้รับเกียรติจาก นางวันเพ็ญ มังศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ปฏิบัติราชการแทนผู้ว่าราชการ จ.เพชรบุรี นางสาววรรณภา เกียรติพงษา ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคกลาง

นางดวงใจ คุ้มสอาด ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานเพชรบุรี นางสาววรกานต์ ถาวร รองผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานประจวบฯ นางวาสนา ศรีกาญจนา นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวหัวหิน/ชะอำ นางเบญจมาส อ่วมสอาด ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักศึกษาและองค์กรสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด และแขกผู้มีเกียรติทั้งชาวไทยและต่างชาติจำนวนมากเข้าร่วมชมงานในครั้งนี้ โดยมีนางสาวเกล้ามาศ ยิบอินซอย ผู้อำนวยการสำนักงาน มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ให้การต้อนรับ

สำหรับกิจกรรมครั้งต่อไปในวันเสาร์ที่ 14 ธ.ค.67 เชิญชมการแสดงดนตรีจากวงดุริยางค์ราชนาวี 25 ชิ้น (วง Light Music) กองดุริยางค์ทหารเรือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ โดยการสนับสนุนของกรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ร่วมด้วยกรมการขนส่งทหารเรือ กองทัพเรือ ณ ท้องพระโรง พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน / เวลา 13.30 น. เปิดหน้าม่านโดยการแสดงลำตัดคณะลำตัดวงรากไทย โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศ จ.เพชรบุรี / เวลา 15.00 น.- 17.00 น. วงดุริยางค์ราชนาวี

วันเสาร์ที่ 21 ธ.ค.และวันอาทิตย์ที่ 22 ธ.ค.67 ชมการแสดงของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา บทเพลงจากคีตนิพนธ์ร่วมสมัย รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การแสดงเปิดโรง การขับเสภาและการอ่านทำนองเสนาะบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดย กวินภพ ทองนาค (นิสิตปริญญามหาบัณฑิต จุฬาฯ) บทเสภาสามัคคีเสวก โคลงอารัมภกถาพระนลคำหลวง มงคลสูตรคำฉันท์ สยามานุสสติ สลับกับการอธิบายที่มาและความหมายของแต่ละบทโดย รศ.ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ)

วันเสาร์ที่ 28 ธ.ค.67 ชมการแสดงของมูลนิธิหลวงประดิษฐ์ไพเราะ บทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว การแสดงเปิดโรง วงดนตรีผู้หญิงล้วนแห่งเมืองเพชรบุรี ทั้งนี้การเข้าพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน บริจาคค่าเข้าชมตามอัตราปกติ ร่วมชมการแสดงไม่มีค่าใช้จ่าย หรือสนับสนุนกิจกรรมโดยบริจาคสมทบทุนเพื่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี (ด้านดนตรีและการแสดง) มูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ตามจิตศรัทธา ติดต่อจองที่นั่งในท้องพระโรงในกล่องข้อความเพจ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน / Mrigadayavan Palace จึงขอเชิญผู้ที่สนใจและนักท่องเที่ยวมาร่วมฟังดนตรีทุกบ่ายวันเสาร์ของเดือนธันวาคม 67 แล้วมาสนับสนุนผลิตภัณฑ์จากร้านค้าพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน รายได้เพื่อการอนุรักษ์และบูรณะพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ให้คงอยู่สืบไป.

นายนิพล ทองเก่า นายนิพล ทองเก่า ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 0909944781

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ /กีฬา ต้านยาเสพติด ประจำปี 2567 นายวัฒนา ช่างเหลา อบจ.ขอนแก่น ประธาน ส่งเสริมสุขภาพปลูกจิต รัก สามัคคี ในท้องถิ่น

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2567 เวลาประมาณ 10.00 น.นายวัฒนา ช่างเหลา นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น ให้เกียรติเป็นประธานโครงการการแข่งขันกีฬาเยาวชน ประชาชน ต้านยาเสพติดประจำปี 2567

และประธานได้พบปะคณะที่คอยต้อนรับซึ่งประกอบด้วยนายสิงหภณ ดีนาง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 6 ขอนแก่น นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน คณะแม่บ้านและนักกีฬา ประธานได้มอบของที่ระลึกให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหัน

เจ้าของโครงการเพื่อเป็นกำลังใจ โดยมีนายนิโรจน์ แพ่งศรีสาร นายกองค์การบริหารส่วนตำบลโนนหัน กล่าวรายงานรายละเอียดและวัตถุประสงค์ การกีฬาทำให้เยาวชน ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคภัย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลยาเสพติด

ปลูกจิตสำนึกให้เกินความรักความสามัคคีในหมู่คณะการแข่งขันแบ่งออกเป็น5ประเภทได้แก่ฟุตบอลชาย ตะกร้อชาย วอลเลย์หญิง-ชายและเปตองทีมผสมหญิง-ชาย การแข่งขันระหว่าง 8-9 ธันวาคม 2567 ณ.สนามโรงเรียนหนองม่วงประชานุกูล ตำบลโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / รพ.โคกสำโรงจัดกิจกรรม “สิงห์คูยาง Running ครั้งที่ 3 เพื่อซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ ดูแลผู้ป่วย

วันที่ 8 ธันวาคม 2567 เวลา 05.30 น. ณ วัดสิงห์คูยาง อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี ว่าที่ร้อยตรีทรงพล แป้นแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี เป็นประธานในพิธีเปิด “สิงห์คูยาง Running ครั้งที่ 3 วิ่งเพื่อโรงพยาบาล”

โดยมี นายนุสิทธิ์ ชัยประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโคกสำโรง นายเจตน์พงศ์ โชคสวัสดิ์วรกุล นายอำเภอโคกสำโรง นายนรินทร์ คลังผา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลพบุรี เขต 4 พ.ต.อ.อภิชาติ ทองแพ ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรโคกสำโรง พ.ต.ท.เสริญราษฎร์ แก้วปนทอง สว.อก.สภ.โคกสำโรง พ.ต.ท.องอาจ เนียมศรีเพชร สวป.สภ.โคกสำโรง นางสมฤดี ชมญาติ

ประธานมูลนิธิหลวงปู่บุญตา นางอารีย์ ฤกษ์สภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานลพบุรี นายเชาว์ งามรัตนกาญจน์ กรรมการบริหาร รพ.โคกสำโรง และนายปรีชา กิจรัตนกาญจน์ ที่ปรึกษา รพ.โคกสำโรง พร้อมด้วยประชาชน เยาวชน นักกีฬา หน่วยราชการ และบุคลากรทางการแพทย์ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เป็นจำนวน 1,350 คน เข้าร่วม

สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนสร้างศูนย์ฟอกไต โรงพยาบาลโคกสำโรงเพิ่มศักยภาพในการดูแลผู้ป่วย ให้ได้รับการรักษาที่มีคุณภาพและยกระดับคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชนด้วยการออกกำลังกาย รวมถึงเป็นการสร้างความสามัคคีและการมีส่วนร่วมของชุมชน

โดยการวิ่งในครั้งนี้ แบ่งการวิ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ระยะทาง 3 กิโลเมตร, 5 กิโลเมตร, 10 กิโลเมตร และ23 กิโลเมตร โเดยได้รับความร่วมมือ และการสนับสนุนจากเจ้าคณะอำเภอโคกสำโรง คณะกรรมการมูลนิธิหลวงปู่บุญตาประชารวมใจ, คณะกรรมการพัฒนาโรงพยาบาลโคกสำโรง และทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะ วัดสิงห์คูยาง ที่เอื้อเฟื้อสถานที่จัดงาน

ว่าที่ร้อยตรีทรงพล แป้นแก้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี กล่าวว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีความหมายอย่างยิ่ง เพราะนอกจากจะเป็นโอกาส ให้ประชาชนได้ร่วมกันออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงแล้ว ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการระดมทุนเพื่อสร้างศูนย์ฟอกไต โรงพยาบาลโคกสำโรง

ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ป่วย ทำให้ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการรักษาอย่างมีคุณภาพ และยังเป็นการแสดงออกถึงความสามัคคี และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ช่วยเหลือสังคมโดยรวมอีกด้วย

สนอง แท่นสูงเนิน ผอ
.ศูนย์ข่าวฯ ประจำจังหวัดลพบุรี อนุกรรมการสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์จังหวัดลพบุรี รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / องคมนตรี ติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เชียงราย

วันนี้( 7 ธ.ค. 67) นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพื้นที่ภาคเหนือ และคณะ ลงพื้นที่ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำขุ่นอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยมีนายวัชระ เสือดี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) กรมชลประทาน พร้อมด้วย

นายนพดล น้อยไพโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 2 นายทวีชัย โค้วตระกูล ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงราย และผู้เกี่ยวข้อง ร่วมลงพื้นที่และสรุปผลการดำเนินงาน โครงการพัฒนาดอยตุง (คพต.ชร.) จังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 มีจุดประสงค์เพื่อการพัฒนาที่สมบูรณ์แบบต่อเนื่องอย่างมีระบบ ด้วยความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงาน

โดยในส่วนของกรมชลประทาน รับผิดชอบด้านการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภคให้กับศูนย์บริหารโครงการพัฒนาดอยตุง และพื้นที่เป้าหมายทั้งหมด ต่อมาที่ประชุม คพต.ชร.ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2533 ให้มีการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎรบ้านห้วยน้ำขุ่น พร้อมกับมอบให้กรมชลประทานจัดหาน้ำให้กับชาวบ้านห้วยน้ำขุ่น (พื้นที่จัดสรรใหม่) จำนวน 47 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ ปี2533) กรมชลประทาน

ได้ก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กปิดกั้นลำห้วยน้ำช้าง บริเวณบ้านห้วยน้ำขุ่น หมู่ที่ 17 ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง แล้วเสร็จเมื่อปี 2534 เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภคของราษฎร และสนับสนุนพื้นที่การเกษตรภาคครัวเรือน ในพื้นที่บ้านห้วยน้ำขุ่น 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่บ้าน ห้วยน้ำขุ่น หมู่ที่1 หมู่ที่17 และหมู่ที่18 รวม 1,255 ครัวเรือน ราษฎรประมาณ 3,463 คน และยังสนับสนุนพื้นที่เกษตรภาคครัวเรือนได้กว่า 100 ไร่

ในการนี้ องคมนตรี ได้มอบให้โครงการชลประทานเชียงราย สำนักงานชลประทานที่ 2 หาแนวทางในการเพิ่มศักยภาพการกักเก็บน้ำ อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำขุ่นให้สูงขึ้น เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำให้กับชุมชนโดยรอบ ซึ่งจะทำให้ราษฎรมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน…

สมจิตรแสงบันลังค์รายงาน

รายการ.วิธีธรรม.วิธีไทย เทปนี้ออกอากาศ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 เวลา 06.00 น. – 06.30 น. ในงานทอดกฐินสามัคคี วัดสุดเขตแดนสยาม จ.บึงกาฬ 13-14 พฤศจิกายน 2567 และ วัดนาทิการาม จ.ชุมพร 28-29 ตุลาคม 2567 โดยมี ดร.ฉวีวรรณ คำพา เป็นประทานทอดทั้งสองวัด

รายการ.วิธีธรรม.วิธีไทย เทปนี้ออกอากาศ เมื่อวันอาทิตย์ ที่ 24 พฤศจิกายน 2567 เวลา 06.00 น. – 06.30 น. ในงานทอดกฐินสามัคคี วัดสุดเขตแดนสยาม จ.บึงกาฬ 13-14 พฤศจิกายน 2567 และ วัดนาทิการาม จ.ชุมพร 28-29 ตุลาคม 2567 โดยมี ดร.ฉวีวรรณ คำพา เป็นประทานทอดทั้งสองวัด

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ผอ.ทางหลวง นำสื่อขึ้นสะพาน 2 พิสูจน์ยังแข็งแรง แจงรอยต่อห่างมากเพราะหน้าหนาวบวกรถเยอะ

เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2567​ นายเกรียงศักดิ์ ตันปิยะกุล ผู้อำนวยการแขวงทางหลวงมุกดาหาร ได้นำคณะสื่อมวลชนขึ้นไปบนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 2 (มุกดาหาร-สะหวันนะเขต)

เพื่อไปดูระยะห่างของรอยต่อพื้นสะพาน (Expansion Joint) สืบเนื่องจากก่อนหน้านี้สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวว่า ได้รับการร้องเรียนจากผู้ขับยานพาหนะว่าเมื่อแล่นขึ้นไปถึงบริเวณกึ่งกลางสะพาน จะรู้สึกเหมือนกับว่าสะพานเคลื่อนไหวโยกไปมาได้ และจะรับรู้ถึงการสั่นสะเทือนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อมีรถบรรทุกวิ่งผ่าน

ขณะที่เมื่อมายืนสังเกตดูสะพานจากบริเวณเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำโขง ก็พบว่าบริเวณกึ่งกลางสะพานช่วงที่เป็นรอยต่อพื้นสะพาน (Expansion Joint) มีการแยกตัวระหว่างพื้นสะพานทั้ง 2 ข้าง ห่างกันมากผิดปกติ จนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน

ทำให้ประชาชนทั้งชาวไทยและลาวที่ใช้ต้องสะพานดังกล่าวในการสัญจรไปมารู้สึกหวาดผวา เกรงว่าจะเกิดอันตราย และหากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดผลกระทบต่อโครงสร้างของสะพานอันอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงขึ้นได้ จึงได้นำสื่อมวลชนขึ้นมาดูสภาพของสะพานเพื่อให้เห็นและรับทราบข้อเท็จจริง

นายเกรียงศักดิ์ กล่าวว่า ปัจจุบันสะพานยังมีสภาพมั่นคงแข็งแรง ส่วนรอยต่อพื้นสะพานที่เห็นว่ามีระยะห่างมากนั้น ก็เนื่องมาจากช่วงนี้เป็นฤดูหนาวอากาศเย็นจึงทำให้สะพานรอยต่อของสะพานมีความห่างมาก โดยมีสาเหตุมาจาก 2 ส่วน คือ ส่วนหนึ่งมาจากปริมาณของรถยนต์ที่วิ่งขึ้นมาบนสะพานมีจำนวนมาก

ส่วนที่สองมาจากการออกแบบทางวิศวกรรมให้สะพานสามารถยืดหดตัวตามอุณหภูมิโดยเมื่ออากาศเย็นอุณหภูมิต่ำก็จะหดตัวและถ้าอากาศร้อนอุณหภูมิสูงก็จะยืดตัว จึงทำให้ในช่วงฤดูหนาวนี้ประชาชนจะพบว่ารอยต่อของสะพานมีความห่างมาก แต่ก็ยังคงสามารถใช้งานได้ตามปกติ

ทั้งนี้ มาตรฐานของอัตราการยืดหดของรอยต่อพื้นสะพาน (Expansion Joint) ทั้งสองด้านอยู่ที่ 100-150 มิลลิเมตร หรือถ้าวัดจากด้านใดด้านหนึ่งก็คือด้านละ 5 – 7.5 เซนติเมตร (50-750 มิลลิเมตร) บอกด้วยระยะห่างจากส่วนหัว 1 นิ้วหรือประมาณ 2.5 เซ็นติเมตร

กระทรวงคมนาคม #กรมทางหลวง #หน่วยบำรุงรักษาสะพานมิตรภาพไทยลาวแห่งที่2 #จังหวัดมุกดาหาร #รถบรรทุกหนัก #แขวงทางหลวงมุกดาหาร

ภาพ​/ข่าว​ เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777​

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ม.ราชภัฏอุดรธานี และ บึงกาฬ จัดงาน “H.M. Song: ดนตรีในสวนอว.บรรเลงเพลงของพ่อ” น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ คล้ายวันพระราชสมภพ ร.9

เมื่อเวลา 17.00 น.วันที่ 5 ธ.ค.ที่ เรือนบึงกาญจน์ ไชยบุรี (จวนผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ หลังเก่า ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองบึงกาฬ) อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ นายนคร ศิริปริญญานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “H.M. Song: ดนตรีในสวน อว. บรรเลงเพลงของพ่อ” โดยถือเป็นกิจกรรมที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ วิทยาลัยนวัตกรรมแห่งบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และจังหวัดบึงกาฬ

ร่วมกันจัดขึ้นเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเทิดพระเกียรติในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมราชบพิตร โดยมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมจาก สาขาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ จากสาขาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

ดร.เอกราช ดีนาง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รักษาการคณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมท้องถิ่น บึงกาฬ กล่าวว่า ด้วยในวันที่ 5 ธันวาคม เป็นคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อแสดงออกซึ่งความจงรักภักดี และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

จึงได้จัดงาน “ดนตรีในสวน : H.M. Song อว. บรรเลงเพลงของพ่อ” เพื่อแสดงดนตรีบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และการแสดงศิลปวัฒนธรรม ที่สะท้อนถึงความร่มเย็นของแผ่นดินไทย ภายใต้พระบารมี โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ จะขอสืบสานพระราชปณิธานด้วยความจงรักภักดี สร้างสรรค์คุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ และประชาชนสืบไป

ขณะที่ นายนคร ศิริปริญญานันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวว่า สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการจัดกิจกรรมทางดนตรี เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตที่ดีให้กับประชาชนในจังหวัดบึงกาฬ และกิจกรรม Buengkan Craft : สืบศิลป์ ถิ่นอีสาน ณ เรือนบึงกาญจน์ไชยบุรี ซึ่งเป็นกิจกรรมด้านงานศิลปะและวัฒนธรรม ได้แก่ กิจกรรมการเพนซ์เสื้อน้องวันวาฬ ด้วยสีน้ำยางพารา, กิจกรรมการทำพวงกุญแจ และที่รองแก้ว จากไม้ยางพารา รวมถึงกิจกรรมการทำอาหาร “รสชาติ…. ที่หายไป” ของจังหวัดบึงกาฬ โดยใช้พื้นที่เรือนบึงกาญจน์ ไชยบุรีแห่งนี้

ในการจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อประชาสัมพันธ์พื้นที่พบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้แห่งใหม่ของจังหวัดบึงกาฬ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชน หรือประชาชนในพื้นที่ สามารถมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมด้านศิลปะและวัฒนธรรม หรือกิจกรรมพัฒนาทักษะต่าง ๆ รวมถึงกิจกรรมนันทนาการที่สร้างสรรค์ ซึ่งส่งผลให้เด็ก และเยาวชนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สุดท้ายนี้

ในนามตัวแทนของจังหวัดบึงกาฬ ขอขอบคุณมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ที่เข้ามาปรับปรุง ซ่อมแชม และพลิกฟื้นพื้นที่เรือนบึงกาญจน์ ไชยบุรีแห่งนี้ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง และยังเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่เปิดโอกาลให้ทุกคนได้เข้ามาพัฒนาทักษะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน.
ณฐพรหม อิทธิพัทธ์พล //บึงกาฬ 0961464326

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ /พิธีเปิดการแข่งขันกีฬาสี นันทบุรีเกมส์ รร.นันทบุรีวิทยา ในพระบรมราชานุเคราะห์ /เปิดงาน Nan Coffee’s Day 2025 ตอกย้ำคุณภาพของกาแฟน่าน

เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๖๗ ณ สนามกีฬาโรงเรียนนันทบุรีวิทยาในพระบรมราชานุเคราะห์ ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน นางสาวอัญรินทร์ ฉัตรโชติวรกิตติ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนนันทบุรีวิทยา ในพระบรมราชานุเคราะห์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ต่อดร.พัทธนันท์ พิพิชธนวงศ์ รองผอ.สพม.น่าน ประธานในพิธีเปิดการแข่งแข่งกีฬาสี ต้านภัยยาเสพติด “นันทบุรีเกมส์” โรงเรียนนันทบุรีวิทยา ในพระบรมราชานุคราะห์ ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
๑. เพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง
๒. เพื่อให้นักเรียนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และห่างไกลยาเสพติด
๙. เพื่อฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี มีน้ำใจใจเป็นนักกีฬา รู้แพ้ รู้ขนะ รู้อภัย มีความเป็น ประชาธิปไตย
๔. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการทำงานเป็นหมู่คณะ ทำงานร่วนร่วมกับผู้อื่นได้
๕. เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคลากรภาคีเครือข่าย 4 หน่วยงาน

การจัดกิจกรรมแข่งขันกีฬาสีประกอบด้วย คณะครูและนักเรียนสี ๔ สี คือ สีน้ำเงิน สีเหลือง สีแดงและ สีม่วง กีฬาที่จัดการแข่งขัน ได้แก่ กีฬาฟุตบอล วอลเลย์บอล เซปัคตะกร้อ และ เปตอง และการแข่งขันกีฬาเปตองเชื่อมสัมพันธ์ ภาคีเครือข่าย ๔ หน่วยงาน ประกอบด้วย
๑. คณะกรรมการสถานศึกษา
๒. มทบ. ๓๘
๓. สพม. น่าน
๔. โรงเรียนนันทบุรีวิทยา ในพระบรมราชานุเคราะห์

ในการจัดการแข่งขันกีฬาสีต้านภัยยาเสพติดนันทบรีเกมส์ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากว่าที่ ร.ต.สมเดช อภิชยกุล ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา นายราเชนทร์ กาบคำ นายบุญยงค์ สดสอาด คณะกรรมการสถานศึกษา ร.ร.นันทบุรีวิทยาในพระบรมราชานุเคราะห์

นายธีระพล ปะโปตินัง(โค้ชเต้ย)ร้านT 20 และคุณวัชรินทร์ สมจิต(โค้ชแต้ม)ผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอลโรงเรียนนันทบุรีวิทยาในพระบรมราชานุเคราะห์ พ.ท.นิรุต พรมมินทร์ ผบ.หน่วยฝึกทหาร นศท.มทบ.38 พร้อมกำลังพล คณะครูและบุคลากรโรงเรียนนันทบุรีวิทยาร่วมพิธีเปิด/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

เปิดงาน Nan Coffee’s Day 2025 ตอกย้ำคุณภาพของกาแฟน่าน สร้างมูลค่าเพิ่มพัฒนากาแฟน่านสู่ตลาดสากล

ที่ข่วงน้อย เทศบาลเมืองน่าน นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดงาน Nan Coffee’s Day 2025 กิจกรรมส่งเสริมและขยายช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์กาแฟ และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจังหวัดน่าน ตอกย้ำคุณภาพของกาแฟน่าน เชื่อมโยงการผลิตและบริการ สร้างมูลค่าเพิ่มพัฒนากาแฟน่านสู่ตลาดสากล หนุนสร้างรายได้ที่มั่นคงแก่ธุรกิจกาแฟจังหวัดน่านทั้งระบบอย่างยั่งยืน โดยมีหัวหน้าส่วนราชการ นักท่องเที่ยวผู้ชื่อชอบกาแฟเข้าร่วมกิจกรรม”กาแฟ” นับได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่มีอนาคตอีกๆชนิดหนึ่ง โดยจังหวัดน่านเป็นแหล่งผลิตกาแฟที่สำคัญของประเทศไทย

เนื่องจากมีลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เหมาะสำหรับการเพาะปลูกกาแฟ ซึ่งจังหวัดน่านมีพื้นที่ปลูกกาแฟ จำนวน 13,448 ไร่ มีเกษตรกรผู้ปลูก จำนวน 1,533 ราย มีแหล่งผลิตสำคัญอยู่ที่อำเภอท่าวังผา สองแคว บ่อเกลือ แม่จริม ทุ่งช้าง และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ โดยสายพันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์อาราบิกา รองลงมา คือ พันธุ์โรบัสต้า และสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งเกษตรกรจะปลูกแซมในสวนไม้ผล ไม้ยืนต้น และพื้นที่ป่าชุมชนต้นน้ำ ปัจจุบันการปลูกกาแฟในจังหวัดน่าน ได้รับความสนใจจากทั้งเกษตรกรและผู้ประกอบการธุรกิจกาแฟ

โดยมีการสร้างเครือข่ายการผลิตกาแฟภายในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มรายได้ไห้แก่ชุมชน และส่งเสริมการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ด้านการพัฒนาคุณภาพกาแฟน่าน ที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาคุณภาพให้เป็นกาแฟ ในระดับพรีเมียม ทำให้ได้รับ รางวัลชนะเลิศจากการประกวดสุดยอดเมล็ดกาแฟพิเศษไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนการประกวดของ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และเวทีของสมาคมระดับประเทศและนานาชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563-2567 ถือเป็นความภาคภูมิใจของเกษตรกรจังหวัดน่านและชาวจังหวัดน่าน และยังเป็นการตอกย้ำในเรื่องคุณภาพของกาแฟน่านเป็นอย่างดี

ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับการตลาดของผลิตภัณฑ์กาแฟในจังหวัดน่าน โดยเฉพาะกาแฟที่ผลิตในท้องถิ่น ซึ่งมีคุณภาพสูงและได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมกาแฟในท้องถิ่นให้เติบโต และขยายตลาดให้กว้างขวางขึ้น จังหวัดน่านจึงได้มอบหมายให้ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดน่านกิจกรรมส่งเสริมและขยายช่องทางตลาดผลิตภัณฑ์กาแฟและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ จุดเด่นกาแฟและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องของจังหวัดน่าน

ให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมและเพิ่มช่องทางการตลาด ให้กับผู้ประกอบการกาแฟและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องของจังหวัดน่าน เพื่อส่งเสริมเกษตรตรกร – ผู้ผลิต – ผู้จำหน่าย – ผู้ประกอบการ ผลิตภัณฑ์กาแฟและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง สามารถต่อยอดในการขยายช่องทางการตลาดให้เพิ่มมากขึ้น และเกิดแรงจูงใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนให้สามารถแข่งขันในตลาดเป้าหมายได้มากขึ้น/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สือรัฐ ทีวี บก.เอกสิทธ์ หมวดทอง