นายกพัทยาโชว์เจ๋ง! นำทีมเปิดตัวสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ – ตรวจวัดค่าระดับเสียง ชนิดเคลื่อนย้าย Trailer Mobile เฝ้าระวังสภาพปัญหามลพิษทางอากาศยกระดับความห่วงใยนักท่องเที่ยว
ช่วงเย็นวันที่ 2 พ.ย. 67 นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา นายภูมิพิพัฒน์ กมลนาถ เลขานุการนายกเมืองพัทยา พร้อมรองนายกเมืองพัทยา สมาชิกสภาเมืองพัทยา และผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่ริมชายหาดพัทยา เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ – ตรวจวัดค่าระดับเสียง ชนิดเคลื่อนย้าย Trailer Mobile เพื่อเฝ้าระวังสภาพปัญหามลพิษทางอากาศ
นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา ให้ข้อมูลว่า ในปัจจุบันสถานการณ์มลพิษทางอากาศนับเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ ของประเทศโดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ และมีปริมาณสูงมากในอากาศจนดูคล้ายกับมีหมอกหรือควันลอยอยู่ในอากาศตลอดเวลา การรับสัมผัส PM2.5 ในระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อด้านสุขภาพของประชาชนและอาจนำไปสู่สาเหตุการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ ปอด ผิวหนัง และกระแสเลือดได้
เมืองพัทยาได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เพื่อเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบสภาพปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น อันเห็นได้ชัดเจนจากการประกาศนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่งคั่งภายใต้การมุ่งสู่เมืองท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม ผู้บริหารเมืองพัทยาจึงได้อนุมัติงบประมาณสำหรับดำเนินการจ้างเหมาตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อเฝ้าระวังและติดตามตรวจสอบสภาพปัญหามลพิษทางอากาศ ด้วยวิธีตามมาตรฐานของค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI)
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของเมืองพัทยา จำนวน 1 สถานี ตั้งอยู่บริเวณถนนสุขุมวิท แยกพัทยากลาง ซึ่งอาจไม่ครอบคลุมพื้นที่เมืองพัทยาด้วยเป็นสถานีแบบติดตั้งถาวร หากเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤตมีปรากฏการณ์ Smog ประชาชนในพื้นที่เมืองพัทยาเกิดความวิตกกังวลและอาจมีผลกระทบต่อสุขภาพและการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันรวมถึงการท่องเที่ยว เพื่อเป็นการเฝ้าระวังสถานการณ์และคลายความวิตกกังวลให้ประชาชนและนักท่องเที่ยว
เมืองพัทยาจึงมีนโยบายเพิ่มสถานีตรวจวัดอากาศ เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ในเมืองพัทยา ด้วยสถานีตรวจวัดอากาศชนิดเคลื่อนย้าย Trailer Mobile จำนวน 1 สถานี ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยจะเคลื่อนย้ายทุกๆ 15 วัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขีดความสามารถในการปฏิบัติงานได้สะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ โดยผ่านเทคโนโลยีที่ทันสมัยสามารถตรวจวัดระดับมลพิษทางอากาศและเสียง พร้อมแสดงผลการตรวจวัดได้แบบ Real Time Monitoring บนจอแสดงผล LED ประจำสถานีตรวจวัดอากาศชนิดเคลื่อนย้าย Trailer Mobile และสามารถสร้างความเชื่อมั่นและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมของเมืองพัทยาให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยว
โดยจะได้มีการรายงานผลการตรวจวัดผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ PRPATTAYA เป็นประจำทุกวัน และเว็บไซต์เมืองพัทยา https://pattaya.go.th แบบ Real Time Monitoring เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังสภาพปัญหามลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้น และเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนได้มีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังมลพิษทางอากาศและการแก้ไขปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นได้ต่อไปเช่นกัน
ทีเส็บดันสุดจัดเต็ม! เผยเทศกาลพลุนานาชาติเมืองพัทยาโฉมใหม่ ยิ่งใหญ่กว่าเดิม ตื่นตาพลุนานาชาติ 4 หมื่นนัด
งานเทศกาลพลุเมืองพัทยา จากจุดเริ่มตื่นต้นระดับเมืองที่ร่วมคิดร่วมทำกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนเมืองพัทยา ด้วยประสบการณ์ ความสร้างสรรค์ และการต่อยอดกิจกรรมต่างๆ จากอดีต จนปัจจุบันถูกยกระดับเติบโตอย่างก้าวกระโดดส่งานระดับนานาชาติ ภายใต้ชื่อ “งานเทศกาลพลนานาชาติเมืองพัทยา” งานที่ไม่ได้เป็นเพียงความภาคภูมิใจของชาวเมืองพัทยาเท่านั้น หากแต่เป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ
“เทศกาลพลุนานาชาติเมืองพัทยาจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2554 และได้รับการตอบรับอย่างดีจากประชาชนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่าวประเทศเข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นทุกปี จนปัจจุบันมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานจากทุกมุมโลกรวมทั้งสิ้งสิ้นกว่า 275,000 คน มีร้านค้าร่วมออกร้านกว่า 250 ราย สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจได้มากกว่า 2,261 ล้านบาท ซึ่งเป็นการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมถึงกระจายรายได้ให้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น กระตุ้นและสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับเมืองพัทยาอย่างยั่งยืน” ปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา กล่าวจากงานระดับเมือง เดินหน้าสู่งานระดับประประเทศ และยกระดับขึ้นสู่การเป็นงานระดับนานาชาติ สิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ให้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกองค์กรทุกภาคส่วน โดยหนึ่งในองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการเข้าร่วมยกระดับงานเทศกาลพลุนานาชาติเมืองพัทยานั่นก็คือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ “ทีเส็บ”
โดยสำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคกลางได้ร่วมคิดร่วมพัฒนาผลักดันส่งงานเทศกาลพลุนานาชาติเมืองพัทยาเข้าประกวดจนได้รับรางวัลระดับโลก ภายใต้ชื่อรางวัล IFEA/Haas & Wilkerson Pinnacle Awards ในประเภท Best Emergency Preparedness & Risk Management Plan ระดับโกลด์ ประจำปี 2024 ทีเส็บสำนักฯภาคกลางได้ร่วมกับเมืองพัทยา ในการดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมไมซ์เมืองพัทยา ในฐานะไมซ์ซิตี้หนึ่งเดียวของภาคตะวันออก เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและยกระดับงานเทศกาลศักยภาพพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ภายใต้โต้โครงการที่เรียกว่า MICE Flagship Events ซึ่งเป็นการยกระดับงานเทศกาลขึ้นสู่ระดับนานาชาติ งานเทศกาลพลุนานาชาติเมืองพัทยา (PATTAYA INTERNATIONAL FIREWORK FESTIVAL) นับเป็นหนึ่งในงานเด่นในไมซ์ซิตี้ (Flagship Event) ที่ได้ยกระดับสู่งานเทศกาลระดับนานาชาติ และได้สร้างชื่อเสียงการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมให้กับเมืองพัทยาอย่างต่อเนื่อง
คาดว่างานนี้จะดึงผู้เข้าชมงานหลากหลายกลุ่มจากต่างประเทศและในประเทศได้เพิ่มขึ้น และยังเป็นงานที่ส่งเสริมภาพลักษณ์เมืองพัทยา ในฐานะเมืองที่มีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพงานระดับนานชาติ รวมถึงสนับสนุนการบูรณาการการทำงานร่วมกันกันระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนาให้เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวและเมืองไมซ์ระดับโลก ดร.สุรัชสาห์ ทองมี ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ ภาคกลาง กล่าวว่า ที่ผ่านมา งานพลุนานาชาติเมืองพัทยา (PATTAYA INTERNATIONAL FIREWORK FESTIVAL) ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยด้วยการคว้ารางวัล Asia Festival City 2024 จากสมาคมเทศกาลและกิจกรรมระหว่างประเทศ (International Festivals & Events Association 198 FEA) เป็นรางวัลสำหรับเมืองที่จัดงานระดับเอเชีย 3 ปีซ้อน และได้รางวัลระดับโกลด์ “2024 IFEAVHAAS&WILKERSON PINNACLE AWARDS COMPETITION” ในประเภท Best Emergency Preparedness & Risk Management Plan ซึ่งเป็นงานระดับโลกของ IFEA World”
ไม่หยุดเพียงแค่นั้น สำนักส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการภาคกลาง ยังร่วมกับเมืองพัทยาอย่างต่อเนื่อง ในการพลิกโฉมใหม่ให้กับงานเทศกาลพลุนานาชาติเมืองพัทยา เพื่อการสร้างความจดจำ สะท้อนอัตลัตลักษณ์ของงานให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2567 นี้ “ทีเส็บ ได้ดำเนินการในจัดทำแผนงานกลยุทธ์การตลาดและประชาสัมพันธ์ในระยะ 3 ปี และออกแบบอัตลักษณ์งานเทศกาลพลุนานาชาติเมืองพัทยา (PATTAYA INTERNATIONAL FIREWORKS FESTIVAL) เพื่อทำให้เกิดภาพจำ และยกระดับการจัดงานเทศกาลสู่ระดับนานาชาติ ให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ สังคม เสริมสร้างให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนโดยอัตลักษณ์ของงานเทศกาลพลุนานาชาติใหม่นี้จะเริ่มใช้ในปี 2567 อันจะเป็นการสร้างความรับรู้และเป็นที่จดจำในฐานะที่เป็นงานเทศกาลระดับโลกอีกด้วย ภายใต้การทำงานของทีเส็บที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้าง Festival Design ซึ่งเป็นกลยุทธ์การสร้างงานเทศกาลที่ดึงเนื้อหา (Content) ผนวกกับกลยุทธ์การสร้างแบรนด์เข้ามาเป็นส่วนเสริม เพื่อสร้างแรงกระเพื่อมทางด้านการตลาดทำให้เกิดความน่าสนใจและภาพจำที่มากขึ้นในระดับนานาชาติ” ดร.สุรัชสาน์ ทองมี กล่าว
และในปีนี้ คาดว่าทุกคนจะได้เห็นงานเทศกาลพลุนานาชาติเมืองพัทยาที่มีการเปลี่ยนแปลงยิ่งใหญ่ ทั้งแสง สี เสียง และที่ขาดไม่ได้ สีสันของพลุหลายหมื่นนัดจะกลับมาสร้างความฮือฮาอีกครั้ง โดยปีนี้จะมีคอนเสิร์ตและการแสดงสนุกๆ เช่นเดิม พร้อมพลุตระการตากว่า 40,000 นัด ทั้งจากประเทศไทยและจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศเซอร์เบีย ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง เยอรมัน และอังกฤษ”ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมงานเทศกาลพลุนานาชาติกันให้มากๆ ซึ่งมั่นใจได้เรื่องความปลอดภัย ทางเมืองพัทยาร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร อาสาสมัครจากหลายภาคส่วนร่วมวางแผนเตรียมต้อนรับผู้เข้าร่วม ให้มีความปลอดภัยสูงสุด เหมาะสมกับรางวัล Best Emmergency Preparedness & Risk Management Plan ที่เพิ่งได้มา” นายกเมืองพัทยา กล่าวทิ้งท้าย