คลังเก็บหมวดหมู่: กิจกรรมเพื่อสังคม

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / คุมประพฤติประจวบมอบทุนสงเคราะห์การศึกษาผู้ถูกคุมพร้อมจับมือ สกร.ยกระดับความรู้ ส่งเสริมต่อยอดจนสำเร็จการศึกษา

แชร์เนื้อหานี้


เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 16 พ.ค.2568 ที่สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.)อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายวสันต์ เภรีวิค ผู้อำนวยการสำนักงานประพฤติ จ.ประจวบฯ พร้อมด้วย นางวิภาภรณ์ ภัทรภิญโญ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ (สกร.) ระดับอำเภอเมืองประจวบฯ นายปิยชาติ ไฮ้คง หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์การคุมประพฤติ คณะครู กศน. และเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติฯ ร่วมมอบทุนสงเคราะห์ด้านการส่งเสริมการศึกษา เพื่อไปจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนและชุดนักศึกษา

รวมเป็นจำนวนเงิน 1,200 บาท ให้แก่ผู้กระทำผิดในคดีในคดีขับรถประมาทหวาดเสียว ซึ่งได้สมัครเรียนในระดับชั้น ม.ต้น ในปีการศึกษา2568 ซึ่งบุคคลดังกล่าว เป็นผู้ซึ่งผ่านการอบรมการส่งเสริมการศึกษา ที่ทางสำนักงานคุมประพฤติ จ.ประจวบฯได้จัดอบรมให้ความรู้ ให้แก่ผู้กระทำผิดมาตั้งแต่วันที่ 10 เม.ย.2568 ที่ผ่านมา ซึ่งทางสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองประจวบฯ ได้สนับสนุนวิทยากรมาให้ความรู้ดังกล่าวแก่ผู้กระทำผิดด้วย โดยทำให้ผู้กระทำผิดมีความสนใจที่จะสมัครศึกษาต่อในระดับ ม.ต้น ตามที่กรมคุมประพฤติมีนโยบายในการส่งเสริมและยกระดับการศึกษาแก่ผู้กระทำผิด ในระบบบงานคุมประพฤติ

ด้าน นายวสันต์ เภรีวิค ผอ.สนง.คุมประพฤติฯ กล่าวว่า ตามที่กรมคุมประพฤติ มีนโยบายในการส่งเสริมและยกระดับการศึกษา แก่ผู้กระทำผิดในระบบงานคุมประพฤติ โดยได้มีการจัดทำบันทึกตกลงความร่วมมือ ( MOU ) การจัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ ) เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2557 เพื่อยกระดับการศึกษาให้แก่ผู้กระทำผิดในระบบงานคุมประพฤติ โดยได้ส่งเสริมการศึกษาให้กับผู้กระทำผิดที่เข้ารับการศึกษา ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ซึ่งในวันนี้ ได้มีผู้กระทำผิดในคดีในคดีขับรถประมาท หวาดเสียว ซึ่งได้สมัครเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในปีการศึกษา 2568 ซึ่งบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ซึ่งผ่านการอบรมการส่งเสริมการศึกษาที่ทางสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดประจวบฯ ได้จัดอบรมให้ความรู้ ให้แก่ผู้กระทำผิดในวันที่ 10 เมษายน 2568 ณ สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดประจวบฯ โดยได้ประสานงานกับ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ ( สกร.) อำเภอเมืองประจวบฯ ซึ่งได้สนับสนุนวิทยากรมาให้ความรู้ดังกล่าวแก่ผู้กระทำผิด โดยทำให้ผู้กระทำผิดมีความสนใจที่จะสมัครศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยในวันนี้ ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดประจวบฯ พร้อมด้วยกลุ่มยุทธศาสตร์การคุมประพฤติได้ประสานบูรณาการความร่วมมือ กับศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองฯ โดยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองฯ

ได้ร่วมเป็นสักขีพยาน และให้คำแนะนำ พร้อมกับให้กำลังใจกับบุคคลดังกล่าว ซึ่งสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดประจวบฯ ได้สงเคราะห์ทุนในการส่งเสริมการศึกษา อุปกรณ์การศึกษาและชุดนักศึกษา ให้กับบุคคลดังกล่าว เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ ในการ ส่งเสริมด้านการการศึกษา และให้กำลังใจแก่ผู้กระทำผิดดังกล่าวอีกด้วย////////

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ปปท.เขต6-ตำรวจ บุกรวบเจ้าหน้าที่กองคลังเทศบาลเบียดบังเงินภาษี. / กอ.รมน.จังหวัด สุโขทัย ร่วมปลูกต้นไม้ “วันต้นไม้แห่งชาติ 2568”

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อเวลาประมาณ10.30น.ของวันที่16 พฤษภาคม 2568. ภายใต้การอำนวยการของ นายภูมิวิศาล เกษมศุข เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. นายเอกชัย เกษมสุขธวัช รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. พ.ต.ท.สิริพงษ์ ศรีตุลา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ท. นายณรงวิทย์ สุวรรณสิทธิ์ ผอ.ปปท. เขต 6 และ พ.ต.ท.สราวุธ คำเหลือง ผอ. กอท.พร้อมเจ้าหน้าที่ ปปท. เขต 6 นำโดย ร.ต.อ.สมบูรณ์ อินทร์ทับ นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ
และ ร.ต.อ.อัศวิน เบญจโอฬาร นักสืบสวนสอบสวนชำนาญการ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.วังน้ำคู้ จ.พิษณุโลก ปฏิบัติการตามหมายจับศาลอาญา
คดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๖ ที่ 7/2568 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 ทำการจับกุมนาย ส. (ขอสงวนชื่อและนามสกุล) ขณะเกิดเหตุตำแหน่งเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ ๕ กองคลัง เทศบาลเมืองสุโขทัยธานี อ.เมืองสุโขทัย จ.สุโขทัย ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บ รับชำระภาษีของเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี อาศัยโอกาสที่ตนมีหน้าที่เบียดบังเอาเงินค่าภาษีที่ตนเองรับไว้เป็นของตนเองโดยทุจริตไม่นำส่งเป็นรายได้ของเทศบาล และเพื่อเป็นการปกปิดการกระทำความผิดได้ปลอมเลขที่และเล่มที่ใบเสร็จรับเงินค่าภาษี และฉีกทำลายใบเสร็จรับเงินบางฉบับ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14๗ มาตรา 157 มาตรา ๑๖๑ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๒๓/๑ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับ ขณะกระทำความผิด
ทั้งนี้ เจ้าพนักงานตำรวจได้ทำการจับกุมผู้ถูกกล่าวหาบริเวณหน้าบ้านเลขที่ 22/2 หมู่ที่ 2 ต.วังน้ำคู้ อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก และได้นำตัวผู้ถูกกล่าวหา ส่งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค ๖ เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

“ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด” กิตติ พรดวงจันทร์ สุโขทัย

เรียน ผู้บังคับบัญชาเพื่อกรุณาทราบ กอ.รมน.จังหวัด สุโขทัย ร่วมปลูกต้นไม้ “วันต้นไม้แห่งชาติ 2568”

เมื่อ เวลา 13.30น.ของวันที่16 พค.2568 พ.อ.พิทยา ราชะพริ้ง รอง ผอ.รมน.จังหวัด ส.ท.(ท.) พร้อมด้วย จนท.กอ.รมน.จังหวัด ส.ท.

ร่วมกับ จนท.อุทยานแห่งชาติรามคำแหง, ประชาชนจิตอาสา, จนท.ดับไฟป่า, ชป.ลว.พัน.ซบร.23 บชร.3, ชป,ลว.พัน.ขส.23 บชร.3, ผู้นำท่องที่ท้องถิ่น นักเรียนนักศึกษา และประชาชนในพื้นที่ ดำเนินการปลูกต้นไม้ เนื่องในวันต้นไม้แห่งชาติ 2568 เพื่อฟื้นฟูป่าไม้ และเพิ่มพื้นที่สีเขียว

ซึ่งช่วยในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยออกซิเจนให้กับโลก ต้นไม้ยังมีบทบาทสำคัญในการลดมลพิษป้องกันการพังทลายของดิน และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพการปลูกต้นไม้ใน

วันนี้จึงเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้ดำเนินปลูก ต้นสัก, ต้นมะค่า, ต้นมะคึก, ต้นพยุง และต้นไผ่ จำนวน 500 ต้น ในพืัน 3 ไร่ ณ พื้นที่อุทยานแห่งชาติรามคำแหง ม.7 บ้านหนองหญ้าไซร ต.ศรีคีรีมาศ อ.คีรีมาศ จังหวัด.สุโขทัย
กิตติ พรดวงจันทร์ สุโขทัย

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / แถลงข่าวเปิดตัวงานเทศกาลประติมากรรมแห่งศรัทธา “ วิถีคล้า วิถีคน” กิจกรรม “มหัศจรรย์ศิลป์คล้า เล่าขานตำนานพญานาค

แชร์เนื้อหานี้

สะพานแขวนกิ้งก่าภูวัว หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “สะพานกะปอม” ณ ชุมชนคุณธรรมบ้านบุ่งคล้า กลายเป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะ ความศรัทธา และอัตลักษณ์ท้องถิ่นอีกครั้ง

เมื่อวันที่ 13 พ.ค. 2568 ที่บริเวณสะพานแขวนกิ้งก่าภูวัว (สะพานกะปอม) ต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ พร้อมด้วยภาคีเครือข่าย จัดแถลงข่าวเปิดตัวงานเทศกาลประติมากรรมแห่งศรัทธา “ วิถีคล้า วิถีคน” กิจกรรม “มหัศจรรย์ศิลป์คล้า

เล่าขานตำนานพญานาค สู่อัตลักษณ์ท่องเที่ยวบึงกาฬ” ภายใต้โครงการส่งเสริม Soft Power ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดบึงกาฬ โดยได้รับเกียรติจาก นายจุมพฏ วรรณฉัตรสิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานในพิธี,

นางแว่นฟ้า ทองศรี นายก อบจ.บึงกาฬ, นายณรงค์ ศักดิ์ คุรุพันธ์ ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบึงกาฬ, อาจารย์สัติยะพันธ์ คชมิตร รองคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมแห่งบึงกาฬ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี,

นายเฉลิมเกียรติ แผนกิจเจริญ พัฒนาการจังหวัดบึงกาฬ, นายคมกฤต บุญกอง นายอำเภอบุ่งคล้า และน.ส.กนกวรรณ ดุงศรีแก้ว ผอ.ททท.อุดรธานี ร่วมแถลงข่าว พร้อมด้วย นายนคร ศิริปริญญานันท์ รองผวจ.บึงกาฬ,

นายสมหวัง อารีย์เอื้อ รองผวจ.บึงกาฬ, ผู้บริหารจากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ร่วมในงาน ที่พร้อมใจกันขับเคลื่อนทุนวัฒนธรรมท้องถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นโดย สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี พร้อมด้วยภาคีเครือข่ายสำคัญที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนโครงการ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ, สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดบึงกาฬ,

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดบึงกาฬ, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานอุดรธานี หอการค้าจังหวัดบึงกาฬ และพื้นที่อำเภอบุ่งคล้า ที่ร่วมกันบูรณาการความร่วมมือทั้งด้านวิชาการ ศิลปวัฒนธรรม การส่งเสริมการท่องเที่ยว และการสร้างเศรษฐกิจฐานราก สู่กิจกรรมที่เป็นรูปธรรมในพื้นที่

กิจกรรมไฮไลต์ของโครงการ คือการจัด ประกวดประติมากรรมแห่งศรัทธา “วิถีคล้า วิถีคน” ที่เปิดโอกาสให้เยาวชน ชุมชน และผู้มีใจรักในงานหัตถศิลป์จากต้นคล้า ส่งผลงานเข้าร่วม โดยผลงานต้องมีขนาด 2 x 2 เมตร และจัดทีมประกวดไม่เกิน 10 คนต่อกลุ่ม เพื่อชิงรางวัล แบ่งเป็นรางวัลชนะเลิศ 10,000 บาท รองชนะเลิศ 6,000 และ 5,000 บาท พร้อมรางวัลชมเชยอีก 5 รางวัล รางวัลละ 4,000 บาท

นอกจากจะเป็นเวทีแสดงพลังสร้างสรรค์ของคนในพื้นที่แล้ว โครงการยังถือเป็นการบ่มเพาะความรู้ ความภาคภูมิใจใน “ต้นคล้า” ซึ่งเป็นทั้งทรัพยากรธรรมชาติ

และมรดกทางวัฒนธรรมของบึงกาฬ ที่สามารถต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์สร้างรายได้ และเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ทางศิลปะที่ผูกโยงกับ “ความเชื่อ ความศรัทธา” อันลึกซึ้งของชาวริมโขง

ภายในงานยังมีการแสดงศิลปะร่วมสมัย การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของคนในพื้นที่ และนิทรรศการ “Soft Power บึงกาฬ” ที่เปิดมุมมองใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อิงตำนาน และใช้ทุนวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัด “นี่ไม่ใช่แค่งานแถลงข่าว แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของการสร้างพลังท้องถิ่นด้วยอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่จับต้องได้”

โครงการนี้สะท้อนถึงการบูรณาการระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนแม่บทด้านการท่องเที่ยวที่มุ่งเน้น “คุณค่าและความยั่งยืน” จากตำนานสู่ศิลป์ จากศิลป์สู่สินค้า และจากสินค้า สู่โลก—บึงกาฬกำลังใช้ “ต้นคล้า” และ “ความเชื่อ” เป็นสะพานแห่ง Soft Power ที่ก้าวไกลกว่าที่เคย
ข่าว/ภาพ ณัฏฐ์ ณฐพรหม บึงกาฬ

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / น่านเร่งผลักดันดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารโทรคมนาคมให้ปลอดภัย ใช้ 7 ตำบลในอ.ภูเพียงนำร่อง

แชร์เนื้อหานี้

โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่13-14 พ.ค.2568 ณ โรงแรมดิอิมเพรสน่าน “สภาผู้บริโภค ผลักดันนโยบายการจัดระเบียบสายสี่คมนาคมให้ปลอดภัย พื้นที่นำร่อง อำเภอภูเพียง จ.น่าน สู่ Nan-Model การจัดระเบียบสายสื่อสารมิตรและปลอดภัย จับมือทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค

สถานการณ์ปัญหาสายสื่อสารที่พาดอยู่บนเสาไฟฟ้ารกรุงรัง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดน่าน เป็นปัญหาซ้ำซาก ที่สะสมมาเป็นเวลานาน แม้ว่าจะมีระเบียบ กฎหมาย และหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ตาม จากสภาพสายสื่อสารที่ไม่ได้รับการจัดการ ระเบียบนี้ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ส่งผลต่อภาพลักษณ์ของจังหสัดน่านและประสบการณ์ของนักท่องเที่ยว

สภาผู้บริโภคจังหวัดน่าน Kick Off โครงการจัดระเบียบสายสื่อสาร นำร่องอำเภอภูเพียงสร้างความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค “Nan-Model” ต้นแบบเมืองสวยงาม ปลอดภัย โดยมี นายประจักร์จังหวัดน่าน เป็นประธาน และกล่าวต้อนรับชี้แจงวัตถุประสงค์ โดย นางสาวบุญยืน สิริธรรม ประธานสภาองค์กรผู้บริโภค ในการประชุม ครั้งนี้มีหน่วยงานจากทั้งส่วนภูมิภาคและส่วนกลาง , หน่วยงานประจำจังหวัดภาคเหนือ ,จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดประจวบคีรีชันธ์ สภาผู้บริโภค , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วย

สำนักงาน กสทช.34(เชียงราย) , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเขต2(พิษณุโลก) , การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดน่าน , บ.โทรคมนาคมแห่งชาติสาขาน่าน , สนง.คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ประจำจ.น่าน , สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดน่าน , สภาทนายความจังหวัดน่าน ท้องถิ่นอำเภอภูเพียง ,ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอภูเพียง,ศูนย์ดำรงธรรรมอำเภอเมืองน่าน,สถานีตำรวจภูธรจังหวัดน่าน , สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน , สถานีตำรวจภูธรเวียงสา , สภาองค์กรของผู้บริโภค ,ตัวแทนนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น , ตัวแทนผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสายสื่อสาร , สมาชิกองค์กรผู้บริโภค ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดน่าน

หน่วยงานประจำจังหวัด สภาองค์กรของผู้บริโภ จากการเปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสายสื่อสารในพื้นที่จังหวัดน่าน ของ นายวุฒิกร พุทธิกุลหัวหน้าศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดน่าน หน่วยงานประจำจังหวัด สภาองค์กรของผู้บริโภค พบว่า 70เปอร์เซ็นต์ เป็นสายสื่อสารที่ไม่ได้ใช้การแล้ว แต่ไม่ได้ถูกรื้อถอนออก ในขณะที่สายสื่อสารแบบใหม่ก็มีการพาดสายอย่างไร้ระเบียบ ส่วนหนึ่ง เกิดจาก บริษัทที่มารับเหมาช่วงต่อของการเดินสายให้กับบริษัทเจ้าของสัญญาณ ไม่ได้ใส่

ในขณะเดียวกันบริษัทโทรคนาคมเจ้าของสัญญาณก็ไม่ได้มีการใส่ใจในการพาดสายให้ถูกต้องตามระเบียบ ในขณะเดียวกันบริษัทโทรคมนาคมเจ้าของสัญญานก็ไม่ได้มีการ ตรวจสอบ ว่าสายที่บริษัทรับเหมาได้ดำเนินการนั้นถูกต้องตามมาตรฐานหรือไม่ (ในส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดน่าน ก็ไม่ทราบว่าจะไปไล่เบี้ยกับบริษัทใด จุดสำคัญในการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดน่าน คือ การลงนามตกลงความร่วมมือ MOU การจัดระเบียบสายสื่อสารที่เป็นมิตรและปลอดภัยอำเภอภูเพียง โดยมีทุกภาคส่วนเป็นภาคีเครือข่าย อาทิ กสทช., กฟภ., สถานีตำรวจ, อบต. ทั้ง 7 ตำบล และผู้ให้บริการโทรคม

คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อให้การจัดระเบียบสายสื่อสารในพื้นที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืน โดยเป้าหมายหลักมุ่งรื้อถอนสายที่ไม่ได้ใช้งาน จัดระบบสายให้เป็นระเบียบ เพิ่มความความปลอดภัยบนท้องถนน และสร้างภาพลักษณ์เมืองน่านให้สวยงามส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมจากชุมชน เช่นการนำสายที่

รื้อถอนมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โครงการนี้เป็นอีกก้าวสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของจังหวัดน่านในการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน เพื่อสร้างเมืองที่ “ปลอดภัย มีระเบียบ และน่าอยู่ พร้อมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนในระยะยาวในการขับเคลื่อนต่อไป/ข่าว/ ณัฐชานันท์ สิริธัญโรจน์ /บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน/วิสุทธิ์ ศรีเมือง ทีมข่าวสมาคม รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ทวี ลงใต้ เปิดมหกรรมกีฬาและวิชาการท้องถิ่น อ.ศรีสาคร เยี่ยมเยียนกลุ่มทอผ้าพื้นเมือง หนุนรายได้ ให้พี่น้องประชาชน

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 12 พฤษภาคม 2568 ที่สนามกีฬาองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบรรพต อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดโครงการมหกรรมกีฬาและวิชาการท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสาครสัมพันธ์สู่ความเป็นเลิศประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีพลตำรวจโท พัฒนวุธ อังคะนาวิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม นายวิชาญ ชัยเศรษฐสัมพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส พ.ต.อ.ดิเรก โฉมยงค์ รอง ผบก.ภ.จว.นราธิวาส นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ประธานคณะกรรมาธิการกรรมการกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.นราธิวาส เขต 5 นายกูพ่า รอเซ็ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีบรรพต ตลอดจนตลอดจนประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมมหกรรมในครั้งนี้

สำหรับโครงการมหกรรมกีฬาและวิชาการท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสาครสสัมพันธ์ สู่ความเป็น เลิศประจำปีงบประมาณ 2568 นี้ เป็นโครงการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสาคร ซึ่งประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสาคร องค์การบริหารส่วนตำบลกาหลง องค์การบริหาร ส่วนตำบลเชิงคีรี องค์การบริหารส่วนตำบลตะมะยูง องค์การบริหารส่วนตำบลซากอ เทศบาลตำบลศรีสาคร และชมรมตาดีการะดับอำเภอ ร่วมกันจัดขึ้น โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ สำหรับในปีนี้องค์การบริหารส่วนตำบลศรีบรรพต ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ

ทั้งนี้ด้วยโรงเรียนตาดีกาเป็นองค์กรหนึ่งที่มีบทบาทต่อสังคม โดยเฉพาะ ในสามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ ซึ่งเด็กๆในพื้นที่ต้องเรียนในวันเสาร์ – อาทิตย์ ปัจจุบันมีการรวมตัวจัดตั้งเป็นชมรมขึ้น ทั้งในระดับอำเภอและจังหวัด มีการจัดกิจกรรมต่างๆทุกปี ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่ต้องเข้าไปช่วยเหลือและยกระดับโรงเรียนตาดีกาให้มีการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการเสริมสร้างจริยธรรมอิสลาม เพื่อปลูกฝังให้ทุกคนถือปฏิบัติตามหลักศาสนาที่ถูกต้อง เป็นพลเมืองดีของสังคมและประเทศชาติ รวมทั้งใช้กีฬาและกิจกรรมต่างๆ เป็นสื่อกลางในการป้องกัน ให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากปัญหายาเสพติด ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ซึ่งการจัดโครงการในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะในการเล่นกีฬาและทักษะทางวิชาการแก่เด็กและเยาวชน ส่งเสริมกิจกรรมและเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเด็กและเยาวชน และเพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านศาสนาและศิลปะวัฒนธรรมที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบไปด้วยโรงเรียนตาดีกาในเขตอำเภอศรีสาคร และมีนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขันในรายการต่างๆ โดยการจัดงานในครั้งนี้มีหลากหลายกิจกรรม อาทิเช่น การประกวดขบวนพาเหรด การแข่งขันกีฬา การประกวดกิจกรรมบนเวที และการประกวดภาควิชาการ เป็นต้น

ด้านพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่าวันนี้ต้องขอชมเชยคณะกรรมการจัดโครงการมหกรรมกีฬาและวิชาการท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสาครสัมพันธ์สู่ความเป็นเลิศ ผู้นำหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา นักเรียนตาดีกา และพี่น้องประชาชนทุกคน ที่ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาและการเล่นกีฬา ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีๆให้ลูกหลานของเราได้แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ และเป็นประโยชน์ ถือว่าเป็นสิ่งที่น่ายกย่องเป็นอย่างยิ่ง โครงการมหกรรมกีฬาและวิชาการท้องถิ่นในเขตอำเภอศรีสาครสสัมพันธ์สู่ความเป็นเลิศ ในวันนี้ถือเป็นโครงการหนึ่งที่สามารถสร้างความสมัครสมานสามัคคี ของคนในพื้นที่ ทุกกลุ่มวัย ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มของพ่อบ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงวัย กลุ่มของเด็กและเยาวชน ซึ่งล้วนแต่มีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมทั้งสิ้น โดยเฉพาะกลุ่มของเยาวชน เชื่อว่าเยาวชนมีบทบาทอย่างมากที่ช่วยทำให้โครงการนี้สำเร็จได้ลุล่วง ซึ่งในปัจจุบันเราต้องช่วยกันดูแลเอาใจใส่เยาวชน อย่างจริงจัง และกิจกรรมใน ลักษณะนี้ก็สามารถช่วยได้อีกทางหนึ่ง และใหทุกคนช่วยกันสอดส่องดูแลต่อสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ที่ อาจจะเกิดขึ้นในชุมชน ทุกคนก็มีส่วนในการรับผิดชอบต่อสังคม และสร้างสังคมให้น่าอยู่ ปลอดจากอบายมุขเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพราะน้องๆเยาวชนในวันนี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล และประเทศชาติต่อไป

จากนั้นพันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมได้เดินทางไปยังวัดกาหลงคีรีธรรมาราม หมู่ที่ 1 ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส เพื่อพบปะเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ ตรวจเยี่ยมการทำผ้าทอพื้นเมือง เพื่อหาแนวทางให้กับชาวบ้านที่ทอผ้า หาตลาดเพื่อกระจายสินค้าให้กลุ่มทอผ้า รวมถึงงบประมาณเพื่อทำนุบำรุงอาคารลานทอผ้า อันเป็นการมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนไทยพุทธและมุสลิม เพื่อที่จะได้นำกลับไปหาทางเพื่อแก้ไขปัญหา สำหรับการมาพบปะเยี่ยมเยียนพี่น้องประชาชนในครั้งนี้มีความรู้สึกอบอุ่นเป็นอย่างยิ่งสำหรับการต้อนรับเป็นอย่างดี
///////////////
ข่าว/กรียา/นราธิวาส

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / กยศ. เปิดทางปรับลดยอดหักเงินเดือน พ.ค.-มิ.ย.68

แชร์เนื้อหานี้

CREATOR: gd-jpeg v1.0 (using IJG JPEG v62), quality = 100

         กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดทางช่วยเหลือผู้กู้ยืมที่ได้รับผลกระทบจากการหักเงินเดือนเป็นการชั่วคราว โดยให้นายจ้างสามารถลดจำนวนการหักเงินเดือนให้กับผู้กู้ยืมในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2568 หรือสามารถขอทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มผ่อนชำระใหม่เป็นรายเดือนในอัตราที่ลดลง ดร.นันทวัน วงศ์ขจรกิตติ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เปิดเผยว่า “จากการที่กยศ. ได้มีการหักเงินเดือนเพิ่มเติม 3,000 บาท กับผู้กู้ยืมที่มียอดค้างชำระ ซึ่งก่อนหน้า กยศ. ได้มีการติดตามหนี้ครอบคลุมผู้กู้ยืมทุกคน รวมถึงผู้ที่ถูกหักเงินเดือน ให้ไปชำระยอดค้างส่วนนี้ด้วยตนเอง แต่เนื่องจากผู้กู้ยืมส่วนหนึ่งไม่ชำระยอดที่ค้าง ทำให้ กยศ. จำเป็นต้องเพิ่มวงเงินหักรายเดือนอีก 3,000 บาทต่อบัญชี ตั้งแต่เดือนเมษายน 2568

       โดย กยศ.ได้มีการแจ้งทั้งผู้กู้และนายจ้างแล้วนั้น ทั้งนี้ หากผู้กู้ยืมเงินไม่สามารถให้หักเงินเดือนได้ตามที่ กยศ.แจ้ง ให้ติดต่อขอทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อเริ่มต้นการผ่อนชำระใหม่ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้เป็นรายเดือนในอัตราที่ลดลง ซึ่งในปัจจุบันมีผู้กู้ยืมเงินดังกล่าวได้ทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. แล้วกว่า 200,000 ราย สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังคงมียอดค้างชำระ และยังไม่ได้ติดต่อขอทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. ยังคงต้องแจ้งให้หักเงินเดือนเพิ่ม 3,000 บาทต่อบัญชี ในเดือนพฤษภาคม 2568 และเดือนต่อไปจนกว่าจะไม่มียอดค้างชำระ

ดังนั้น กยศ. ขอให้ผู้กู้ยืมชำระยอดหนี้ที่ค้างหรือติดต่อขอทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ออนไลน์โดยเร็ว ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2568 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระของงวดปี 2568 ทั้งนี้ ในระหว่างรอการปรับโครงสร้างหนี้ กยศ. ได้เพิ่มเงื่อนไขการปรับลดการหักและนำส่งเงินของนายจ้างชั่วคราว โดยให้นายจ้างสามารถลดจำนวนการหักเงินเดือนให้กับผู้กู้ยืมที่ได้รับผลกระทบด้านการดำรงชีพในเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2568 ได้เท่านั้น กยศ. ขอขอบคุณผู้กู้ยืมทุกท่านที่ชำระเงินคืนกยศ. อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งมอบโอกาสทางการศึกษาให้นักเรียน นักศึกษาผู้กู้ยืมรุ่นน้องต่อไป”
นายนิพล ทองเก่า ผู้อำนวยการศูนย์ข่าวสยามโฟกัสไทม์/4เหล่าทัพ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์0909944781

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / แถลงข่าว เที่ยวสวนส้มโอศรีสะเกษ ที่บ้านตาด อ.เมืองจันทร์ ทิปทัวร์สวน 450 ไร่ ไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยว

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 9 พฤษภาคม 2568 จังหวัดศรีสะเกษ ภูมิใจนำเสนอ สวนส้มโอบ้านตาด ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ ( ภาพมุมสูง โดรน ) ในการนำทัวร์สวนส้มโอ กว่า 450 ไร่ และกำลังปลูกเพิ่ม ขยายเพิ่ม ตามความต้องการของตลาด โดยมีเป้าหมายที่จะส่งเสริมให้แหล่งชุมชนท่องเที่ยวบ้านตาด อำเภอเมืองจันทร์ ที่ผลิตส้มโอ ของจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 3,000 ไร่

เป็นการส่งเสริมวิสาหกิจของชุมชน ตามตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ผลผลิตตามความต้องการของตลาด จากที่เกษตรกรไปเที่ยวภาคกลาง แล้วซื้อส้มโอมาเพาะ มาทดลองปลูก 1 ต้น ก่อนที่พัฒนาแยกสายพันธุ์ จนปัจจุบันนี้ มีส้มโอที่บ้านตาด จำนวน 7 สายพันธุ์ คือ พันธ์ขาวน้ำผึ้ง, พันธ์ทับทิมสยาม, พันธุ์ทองดี, พันธุ์ขาวแตงกวา, พันธุ์ขาวใหญ่ และพันธุ์แดงเวียดนาม เป็นต้น ซึ่งวันนี้เกษตรกรรวมตัวกัน

เตรียมจัดงาน วันส้มโอศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม – วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 ณ.บริเวณสวนแห่งนี้ โดยในงานจะมี การแสดงของกลุ่มแม่บ้าน ต้อนรับนักท่องเที่ยว ในสวนส้มโอ ที่กำลังออกลูกเต็มต้น การทำเมนูจากส้มโอ ที่แซบที่สุดนั้นก็คือ ยำส้มโอสด ซึ่งเครื่องก็จะประกอบด้วย ส้มโอ ในทุกสายพันธ์ กะทิ, มะพร้าวคั่ว, ถั่วลิลงคั่ว, เมล็ดมะม่วงหิมพานต์, กระเทียมทอด, หอมแดงศรีสะเกษเจียว, น้ำพริกเผาสูตรบ้านตาด และน้ำปรุงรสสูตรบ้านตาด นำมาคลุกเคล้าตามสูตร

ก็จะได้ยำส้มโอที่สุดอร่อย สุดแซบแบบไทยๆ ไม่เผ็ด แต่กลมกล่อมพอดี นอกนั้นยังมีผลิตภัณฑ์จากส้มโอ อธิ ขนมเปี๊ยะจากเปลือกส้มโอ, ส้มโอเชื่อม, ยาหม่องส้มโอ, ยาดมสมุนไพรส้มโอ และเปลือกส้มโอตากแห้ง จากที่เคยแกะเอาเนื้อมาทานแล้วทิ้ง วันนี้นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยได้รับความร่วมมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ มาทำงานวิจัย และสอนทำ ในการเพิ่มมูลค่าของเปลือกส้มโอ นับเป็นแห่งแรกของศรีสะเกษ และของไทย ที่นำเปลือกมาพัฒนาต่อยอด ด้วย

นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ และนายแท่ง สุระ นายก อบต.ตาโกน เจ้าของพื้นที่ในการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกขยายผลผลิตส้มโอบ้านตาด พร้อมด้วยหอการค้าจังหวัด, สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวศรีสะเกษ, เกษตรจังหวัด, นายณัฎฐพงษ์ บุดดี เจ้าของสวนส้มโอรายแรก และนายอำเภอเมืองจันทร์ ได้ร่วมกันเปิดแถลงข่าว แก่สื่อมวลชน พร้อมนำทำเมนู ยำส้มโอศรีสะเกษ และเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ทั้งขนมเปี๊ยะจากเปลือกส้มโอ, ส้มโอเชื่อม, ยาหม่องส้มโอ, ยาดมสมุนไพรส้มโอ และเปลือกส้มโอตากแห้ง จากที่เคยแกะเอาเนื้อมาทานแล้วทิ้งเปลือกเป็นขยะ

วันนี้นำเปลือกส้มโอ ทั้งหมด มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้อย่างดี โดยได้รับความร่วมมือ จากมหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ มาทำงานวิจัย และสอนทำ ในการเพิ่มมูลค่า วันนี้สวนส้มโอพร้อมแล้ว จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก มาเที่ยวงาน “ส้มโอศรีสะเกษ” ระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม 2568 ถึงวันนี้ 16 พฤษภาคม 2568 ณ.สวนส้มส้มโอ บ้านตาด ตำบลตาโกน อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยจะมีพิธีเปิดงานในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 นี้ กับพาทัวร์สวนส้มโอ ครั้งของของศรีสะเกษ ด้วย
/////////////////////////
ภาพ/ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขา.น่าน กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ และ กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตร

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 7 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. นางณัติกานต์ บุญเจริญ หัวหน้าสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร สาขาจังหวัดน่าน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงาน ลงพื้นที่ อำเภอเวียงสา เพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ขององค์กรเกษตรกร จำนวน 2 องค์กร ดังนี้

1.กลุ่มเกษตรกรเลี้ยงผู้เลี้ยงสัตว์ บ้านทุ่งทอง หมู่ 1 ชื่อโครงการ”จัดซื้อวัวแม่พันธุ์ลูกผสมบราห์มันให้กับสมาชิก” สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน ณ หอประชุมบ้านทุ่งทอง หมู่ 1 ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

2.กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการเกษตรบ้านชื่นใหม่ ชื่อโครงการ”จัดชื้อแม่พันธุ์และลูกสุกรขุนให้กับสมาชิก” สมาชิกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน ณ หอประชุมบ้านชื่นใหม่ หมู่ 5 ตำบลทุ่งศรีทอง อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน

โดยมี นายวุฒิพันธุ์ เนตรวิชัย ปศุสัตว์จังหวัดน่าน (อนุกรรมการภาคราชการ) ร.ต.อ.วินัย ก้อนสมบัติ รองประธานอนุกรรมการฯ นายอุไร สารถ้อย และนายสุบรรณ นรินทร์ อนุกรรมการฯ จังหวัดน่าน คณะทำงานเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาและประเมินแผนและโครงการฯ ร่วมลงพื้นที่ด้วย/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / สพม.น่าน เปิดเวที “NAN CREATOR” จุดประกาย Soft Power วิถีน่าน สู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์อย่างยั่งยืน

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 5 พฤษภาคม 2568 นางนัฑวิภรณ์ จันต๊ะพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน ให้เกียรติเป็นประธานเปิด การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เชื่อมโยงวัฒนธรรม ผ่าน Soft Power วิถีน่าน สู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์อย่างยั่งยืน ผ่านสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล (NAN CREATOR)” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 5–6 พฤษภาคม 2568 ณ โรงแรม ดิ อิมเพรส จังหวัดน่าน โดยมีครูและนักเรียนในสังกัดเข้าร่วมจำนวน 135 คน กิจกรรมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเมืองเก่าน่าน, วิทยากรจากกลุ่ม ออริจิน่าน

และผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาทักษะอาชีพแห่งอนาคต สู่การสร้างรายได้ระหว่างเรียน ภายใต้แนวคิด “SPARK 3 วิ เชิงลุก (LOOK)” พร้อมผลักดัน “น่านเมืองสร้างสรรค์ (Nan Creative City of Crafts and Folk Arts)” ให้เติบโตอย่างยั่งยืนผ่านพลังของครูและเยาวชนรุ่นใหม่



วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม 2568

  1. บรรยายเชิงปฏิบัติการ เรื่อง นำตั๋วเมือง เรียนรู้สู่วิถีน่าน โดยวิทยากร นายบุญโชติ สลีอ่อน
  2. บรรยายเชิงปฏิบัติการ การสร้างแรงบันดาลใจ เทคนิคการเล่าเรื่องการถ่ายภาพ และการถ่ายคลิปวิดีโอ และ Workshop การออกแบบการจัดการเรียนรู้
    2.1) เทคนิค และการเขียนเล่าเรื่อง สู่การนำเสนอเรื่องราวเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์จากวัฒนธรรมวิถีน่าน โดยกิจกรรมกลุ่ม
    2.2) การสร้างแรงบันดาลใจ สู่การลงมือปฏิบัติเพื่อสร้างรายได้ผ่านรูปแบบออนไลน์
    วิทยากร คุณนันทวัฒน์ ศักยะธนาสิทธิ์ เจ้าของเพจ บาสทิ้งกรุงเข้าป่า
  3. กิจกรรมแบ่งกลุ่มปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
    3.1) นำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างสรรค์ต่อยอดผลิตภัณฑ์
    3.2 )การทำงานร่วมกับชุมชนหัตกรรมจังหวัดน่าน
    3.3) การลงมือทำ และประสบการณ์การสร้างสรรค์ผลงานจากอัตลักษณ์ศิลปะพื้นบ้านเมืองน่าน
  1. การสร้างแรงบันดาลใจการนำอัตลักษณ์น่านสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
  2. การแบ่งปันประสบการณ์การสร้างสรรค์สินค้าประเภท Art Toy การผสานอัตลักษณ์วัฒนธรรมกับของเล่น
    วิทยากรโดย คุณณัฐกร เงินวงค์นัย ประธานกรรมการ หจก. เดอะทรีซัคเซส และ คุณพงศกร บูรณเทศ เจ้าของแบรนด์ Yak Kiku Studio (Art toy)

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม 2568
1.แบ่งกลุ่มอภิปราย ประเด็น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปให้พร้อมสำหรับการออกสู่ตลาด

  1. การแบ่งปันประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์การขายสินค้าออนไลน์ และออนไซด์ (บ้านถั่วลิสง)
  2. แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนและตลาดสินค้าชุมชน โดยวิทยากร จำนวน 2 คน นายธีรยุทธ จันทร์คล้าย ประธานคลัสเตอร์เกษตรแปรรูปน่านอะโกร และนางสาวอารีย์ เพ็ชรรัตน์ กรรมการผู้จัดการบ้านถั่วลิสง จำกัด
  1. กิจกรรมแบ่งกลุ่ม สัมภาษณ์/เก็บข้อมูล / ประเมินความพร้อม และพัฒนา ผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนเป็นฐานการเรียนรู้ วิทยากรโดย กลุ่มผู้ประกอบการ ออริจิน่าน
    ฐานที่ 1 ผลิตสื่อนำเสนอสินค้าอย่างสร้างสรรค์
    ฐานที่ 2 สร้างผลิตภัณฑ์สร้างแบรนด์ให้ทันสมัย
    ฐานที่ 3 เพิ่มมูลค่าสินค้าพัฒนาผลิตภัณฑ์
  2. เชื่อมโยงพหุปัญญาวิถีน่าน สู่การบูรณาการจัดการเรียนรู้ สร้างองค์ความรู้นำสู่ การปฏิบัติ ในสถานศึกษา โดย คณะผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาน่าน พิธิปิดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการฯ

เรียนดีมีความสุข #สพฐ #สพม #น่าน #สพมน่าน #SESAONAN #ทีมน่านการศึกษา #NanOneTeam/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ /สมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่านร่วมกับผู้ใหญ่ใจดีมอบผ้าห่มกันหนาวให้ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน ผู้สูงอายุ

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2568 นายบุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน ร่วมกับผู้นำชุมชนประกอบด้วยนายธงชัย พุฒนา ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านไชยสถาน อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านห้วยละเบ้ายา

นายกมล อินถา ผู้ใหญ่บ้านไชยสถาน นายธนาชัย อินปัน อดีต ผอ.กองช่าง อบต.สะเนียน นางธัญนันท์ อุรา ผญบ.บ้านก้อด นายนิรันดิ์ สิทธิมงคล อดีต ผญบ.บ้านนาท่อ นายบูรณาศัดิ์ ณ ไชย นายสมพร สุทธิ ผช.ผญบ.บ้านปางค่า นางลำดวน เลาเหล็ก นางวีระ น้อยคง อสม.บ้านนาท่อ

นางจันทร์ตา สกุลแก้ว จิตอาสาบ้านค่าใหม่ไชยเจริญ มอบผ้าห่มกันหนาวให้กับผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้าน และผู้สูงอายุบ้านก้อด บ้านนาท่อหมู่1 บ้านนาท่อหมู่10 บ้านค้าใหม่ไชยเจริญ และบ้านปางค่า ตำบลไชยสถาน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน

นายบุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน กล่าวว่าเพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้ครอบครัวผู้ป่วยนอกจากนั้นยังได้ให้กำลังใจครอบครัวของผู้ป่วย และผู้ป่วยบางรายที่ยังสื่อสารกันรู้เรื่องถึงกับดีใจจนน้ำตาซึมที่มีคนมาเยี่ยมเยียนถึงบ้าน ผมต้องกราบขอบพระคุณท่านผู้ใหญ่ใจดี

ท่านพระสุนทรมุนี รองเจ้าคณะจังหวัดน่าน คุณพิษณุ สุเทปิน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)หจก.แพร่ธำรงวิทย์(น่าน)จำกัด ที่มอบผ้าห่มให้กับสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่านเป็นตัวแทนนำไปมอบต่อให้ผู้ป่วยติดเตียง ติดบ้านและผู้สูงอายุ มา ณ โอกาสนี้ เป็นอย่างสูงครับ