คลังเก็บหมวดหมู่: กิจกรรมเพื่อสังคม

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / หลายหน่วยงาน รุดช่วยเหลือลูกจ้าง เหยื่ออุบัติเหตุจากการทำงาน และถูกนายจ้างปัดความรับผิดชอบ

แชร์เนื้อหานี้


***ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่มี นายสมบัติ ศรีฟ้า อยู่บ้านเลขที่ 146 ม.2 ต.สุขสวัสดิ์ อ.ไพรบึง จ.ศรีสะเกษ เป็นผู้ป่วยติดเตียง หลังถูกว่าจ้างให้ไปรื้อถอนห้องแถว แต่เกิดอุบัติเหตุถูกกระเช่ารถเครนหล่นมาทับจนต้องนอนป่วยติดเตียง เหตุเกิดเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 และนายจ้างก็ไม่เข้ามาดูแลช่วยเหลือไม่สนใจนานนับปี ก่อนจะข่าวออกไปตามสื่อสารมวลชน ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2568 นายฉลาด ชิดชม นายอำเภอไพรบึง ในนามประธานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ มอบหมายให้ นางสาวพรรษา ปัญญาคม ปลัดอำเภอไพรบึง ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูล และเข้าทำการช่วยเหลือ โดยมี นายสุริยัน แจ่มแจ้ง นายก อบต.สุขสวัสดิ์ นางสาวศรีสมบูรณ์ คำผง สาธารณสุขอำเภอไพรบึง ผอ.รพสต.พะแวะ ตำบลสุขสวัสดิ์ เจ้าหน้าที่นิตกร อบต.สุขสวัสดิ์ ร่วมเยี่ยมช่วยเหลือในครั้งนี้

***เบื้องต้นทางอำเภอไพรบึง ได้มีการแนะนำสิทธิด้านต่างๆ และขั้นตอนการไปขอรับสิทธิต่างๆจากภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การขอรถเข็น สิทธิขอรถรับส่งผู้ป่วย และอื่นๆ พร้อมมอบเงินช่วยเหลือจาก กองทุนคนไพรบึงไม่ทิ้งกัน จำนวน 3,000 บาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน นอกจากนี้ นายสุริยัน แจ่มแจ้ง นายก อบต.สุขสวัสดิ์ ได้นำถุงยังชีวิตมามอบให้ พร้อม ให้ นิติกร อบต.สุขสวัสดิ์ เข้าแนะนำช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย โดยได้แนะนำให้ภรรยา หรือ บุตร ไปแจ้งความดำเนินคดีที่ สภ.วังจันทร์ จังหวัดระยอง เพื่อนำใบแจ้งความมารับสิทธิเงินช่วยเหลือจากยุติธรรมจังหวัด และเข้าระบบกระบวนการไกล่เกลี่ย ในขั้นตอนต่อไป

***ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติม อีกว่าหากผู้ใจบุญท่านใดอยากจะเข้ามาช่วยเหลือ ครอบครัวนี้ สามารถโทรศัพท์เข้ามาสอบได้ที่ เบอร์ 091-0377535 นางเลียง ศรีฟ้า ภรรยาของ นายสมบัติ ศรีฟ้า (ผู้ป่วยติดเตียง) หรือ สามารถโอนเงินเข้ามาช่วยเหลือได้ที่ บัญชีธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. สาขาไพรบึง ชื่อบัญชี นางเลียง ศรีฟ้า เลขบัญชี 020221670286 โดยเงินบัญชีที่มีทั้งหมดล่าสุดมีติดบัญชีเพียง 757.33 บาท
ภาพ/ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / พิธีเปิดชุมชนวัดไพรพัฒนา 1 ใน 10 “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” งานเทศกาลสงกรานต์ “สรงน้ำหลวงปู่สรวง” ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน นานาชาติ วัดไพรพัฒนา ครั้งที่ 2 จ.ศรีสะเกษ

แชร์เนื้อหานี้


***เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2568 นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดชุมชนวัดไพรพัฒนา 1 ใน 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” งานเทศกาลสงกรานต์ “สรงน้ำหลวงปู่สรวง” และศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน นานาชาติ วัดไพรพัฒนา นานาชาติ ครั้งที่ 2 โดยมี นางสาวชนมณัฐ รอดบุญธรรม รองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ นายสุกิจ เหลืองสกุลไทย ปลัดจังหวัดศรีสะเกษ นายบัญชา จันทร์ณรงค์ นายอำเภอภูสิงห์ นายสำเร็จ ไพรบึง นายประหยัด ถิลา วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ หัวหน้าส่วนราชการ และเครือข่ายทางวัฒนธรรม ผู้แทนนานาชาติ 8 ประเทศ ประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา ไทย เนปาล บังคลาเทศ พม่า ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และอินเดีย เข้าเป็นเกียรติในพิธี

***นางศศิฑอณร์ กล่าวว่า ชุมชนวัดไพรพัฒนา เป็นชุมชนที่ 5 ที่ วธ. ดำเนินการเปิดเที่ยวชุมชน ยลวิถีชุมชน จากทั้งหมด 10 สุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ซึ่งสำหรับชุมชนวัดไพรพัฒนาเป็นชุมชนที่มีพื้นที่ติดกับประเทศกัมพูชา ผู้คนทั้งสองประเทศเชื่อมสัมพันธไมตรีอย่างต่อเนื่อง มีจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำสู่ “นครวัด นครธม” ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์เขมร

และมีการแต่งกายที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะถิ่นที่มีความสวยงาม โดย วัดไพรพัฒนา ถือเป็นศูนย์รวมจิตใจผู้คน และการจัดกิจกรรมทางศาสนาของชุมชนทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา ตลอดจนนานาชาติ นอกจากนี้ภายในมณฑปปราสาทมีสรีระสังขารของหลวงปู่สรวง พระเกจิอาจารย์ผู้ได้รับความศรัทธา ผู้คนมักเรียกท่านว่า “เทวดาเดินดิน” ดังนั้นการมาเยือนชุมชนวัดไพรพัฒนา ถือเป็นสิริมงคล และเริ่มต้นด้วยการเข้ากราบไหว้ขอพรสรีระสังขารหลวงปู่สรวง ด้วยเครื่องสักการะบูชา กรวยดอกไม้ ขันธ์ 5 ขันธ์ 8

***สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนจะได้สัมผัสเสน่ห์ยลวิถีโดยนั่งรถรางรับส่งฟรีตลอดทั้งวัน ระหว่างวัดไพรพัฒนาและตลาดชุมชนยลวิถี ถนนสายวัฒนธรรมวัดไพรพัฒนา ช้อปสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เช่น ผ้าไหมตรานกยูงทองพระราชทาน น้ำผึ้งโพรงจากธรรมชาติ ยาสมุนไพร อาหารพื้นถิ่น อาทิ แกงหยวกกล้วย แกงขนุน และขนมพื้นถิ่น เช่น ข้าวต้มด่าง (อันซอมกะบ็อง) ข้าวต้มใบมะพร้าว (อันซอมสะเลิกโดง) และน้ำสมุนไพรอัญชัน

นอกจากนี้มีจุดชมวิวผาพญากูปรี มีป่าเขาลำเนาไพร ห้วยสำราญ น้ำตกห้วยสำโรง วัดป่าถ้ำผึ้งดาวดึงส์ และ ค่ายมวย ว.เทคโนหลวงปู่สรวง เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ชุมชนวัดไพรพัฒนามีผู้นำและเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานวัฒนธรรมเข้มแข็ง คนในชุมชนมีความสุข ความรักความสามัคคี อนุรักษ์สืบสาน รักษา ต่อยอดวัฒนธรรมของท้องถิ่นไว้อย่างดียิ่ง มีความพร้อมในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเป็นอย่างดี

***หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวต่อไปอีกว่า วธ. ดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ชุมชนมาต่อเนื่อง คัดเลือกชุมชนต้นแบบระดับจังหวัดที่มีศักยภาพ ยกย่องเชิดชูเกียรติตั้งแต่ปีงบประมาณ 2564 ปัจจุบันมีสุดยอดชุมชนต้นแบบ “เที่ยวชุมชน ยลวิถี” รวม 40 ชุมชนทั่วประเทศ โดยหลังจากการประกาศแล้ว วธ. มีการต่อยอดด้วยการสนับสนุนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพคนในชุมชนผ่านการอบรมผู้นำชุมชน นักเล่าเรื่องและมัคคุเทศก์ท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาเยี่ยมชมและเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ตลอดจนจัดทำแพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน

“เที่ยวเท่ ๆ เสน่ห์เมืองไทย” ให้นักท่องเที่ยวค้นหาข้อมูลท่องเที่ยวแต่ละชุมชนได้อย่างสะดวก รวดเร็วมีความแม่นยำ ตามนโยบายกระทรวงวัฒนธรรม ที่มุ่งขับเคลื่อน Soft Power โดยเฉพาะด้านเฟสติวัล – เทศกาลประเพณีและด้านท่องเที่ยวสนองนโยบายของรัฐบาล และ วธ.มีเป้าหมายส่งเสริมคุณค่าและมูลค่าเทศกาลประเพณีของชาติและเทศกาลอื่นๆ ด้านวัฒนธรรมให้ประเทศไทยเป็นหมุดหมายของนักท่องเที่ยวทั่วโลก สร้างงาน สร้างรายได้สู่ชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศไทย ที่สำคัญมุ่งส่งเสริมเทศกาลประเพณีไทย เพื่อยกระดับสู่ระดับชาติและนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง
ภาพ/ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / เปิดงานนมัสการพระพุทธมิ่งมงคลมุนีศรีมุกดาหาร

แชร์เนื้อหานี้

วันที่ 5 เมษายน 2568 เวลา 09.00 น. นายวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร มอบหมายให้นายชายสิทธิ์ สุวรรณโชติ

นายอำเภอเมืองมุกดาหาร เป็นประธานในพิธีเปิดงานนมัสการ “พระพุทธมิ่งมงคลมุนีศรีมุกดาหาร”

ณ วัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ จังหวัดมุกดาหาร โดยมี พระวิฑูรวชิรโมลี รองเจ้าคณะจังหวัดมุกดาหาร

เจ้าอาวาสวัดรอยพระพุทธบาทภูมโนรมย์ ให้การต้อนรับ พร้อมด้วยนายอนุชิต ชนะวัฒน์ปัญญา วัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร คณะกรรมการจัดงาน หัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนเข้าร่วมงานจำนวนมาก

งานนมัสการจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและแสดงออกถึงความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การสรงน้ำพระ

การแสดงศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการเกี่ยวกับพระพุทธมิ่งมงคลมุนีศรีมุกดาหาร การจัดจำหน่ายสินค้า GI และกิจกรรม Work shop ที่สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น​ งานนี้จัดระหว่างวันที่ 5-7 เมษายน 2568

โดยความร่วมมือของสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร ภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์วัฒนธรรม กระตุ้นเศรษฐกิจ และเสริมสร้างความภาคภูมิใจของประชาชนในท้องถิ่น

งานนี้ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสดีที่ทุกคนได้ร่วมกันสืบสานประเพณีและเสริมสร้างความสามัคคีในสังคมไทย
ภาพ​/ข่าว​ เด​วิท​ โชคชัย​ มุกดาหาร​ รายงาน​ 092-5259777​

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / พิธีสดุดีวันคล้ายวันถึงแก่พิราลัย พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63

แชร์เนื้อหานี้

วันเสาร์ที่ 5 เมษายน 2568 ณ มณฑลพิธีพระอนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ หน้าค่ายสุริยพงษ์ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน พลตรี วรเทพ บุญญะ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 38 นายชัยนรงค์ วงศ์ใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน พร้อมด้วย ข้าราชการพลเรือน ตำรวจ ทหาร และประชาชนทุกหมู่เหล่า ร่วมประกอบพิธีถวายสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันถึงแก่พิราลัยของพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่าน องค์ที่ 63 ซึ่งเวียนมาบรรจบครบ 107 ปี

ในพิธี ได้มีการกล่าวสดุดีสดับพระเกียรติคุณของพระองค์ ผู้ทรงเป็นอัจฉริยบุรุษเปี่ยมด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงประกอบพระกรณียกิจที่เป็นคุณูปการต่อบ้านเมืองอย่างหาที่เปรียบมิได้ ทั้งในด้านการทหาร การปกครอง การศึกษา และการศาสนา ด้านการทหาร พระองค์ได้ทำนุบำรุงกิจการทหารอย่างเข้มแข็ง รวบรวมและฝึกฝนกำลังพล พร้อมจัดตั้งยุ้งฉางสะสมเสบียงและกระสุนดินดำจำนวนมาก ทรงมีบทบาทสำคัญในการช่วยปราบฮ่อที่เมืองหลวงพระบาง และปราบกบฏเงี้ยวหัวเมืองฝ่ายเหนือ ร่วมกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ทั้งยังทรงเป็นกำลังหลักในการสนับสนุนพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการปกป้องหัวเมืองฝ่ายเหนือจากภัยของจักรวรรดินิยมตะวันตก

ด้านการปกครอง พระองค์ทรงยึดมั่นในทศพิธราชธรรม ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยเมตตาธรรม โปรดให้ยกเลิกโทษประหารชีวิต และวางผังเมืองใหม่ พร้อมขยายถนนให้กว้างขวางสะดวกแก่ประชาชน ด้านการศึกษา ในปี พ.ศ. 2450 พระองค์ได้สละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือภาษาไทยแห่งแรกในเมืองน่าน ในนาม “โรงเรียนสุริยานุเคราะห์” ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นโรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคารในปัจจุบัน

ด้านการศาสนา พระองค์ทรงสนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม ส่งพระสงฆ์ไปเรียนที่กรุงเทพฯ และบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและปูชนียสถานหลายแห่ง พร้อมสร้างหอพระไตรปิฎกหลังใหญ่ที่วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร โดยจารึกอักษรไว้หน้าอาคารถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 5 ซึ่งแสดงถึงความจงรักภักดีอันแรงกล้า

ด้วยพระกรณียกิจอันเลื่องลือเหล่านี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น “พระเจ้านครน่าน” โดยพระนามเต็มตามพระสุพรรณบัฏว่า “พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช กุลเชษฐมหันต์ ไชยนันทบุรีมหาวงษาธิบดี สุจริตจารีราชานุภาวรักษ์ วิบูลยศักดิ์กิติไพศาล ภูบาลบพิตร สถิตนันทราชวงศ์พระเจ้าน่าน”

ในการนี้ ปวงข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขออัญเชิญดวงพระวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ หากแม้นสถิต ณ สรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ขอได้ทรงรับเครื่องสักการะจากข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และขอจงทรงพระเกษมสำราญในทิพยวิมาน ตราบชั่วนิรันดร์กาล
/ภาพข่าว/พ.อ.พยอม บุญทร/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน /สถิตย์ ศรีประสม/ วิสุทธิ์ ศรีเมือง รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ตำรวจภูธร ภ.3จัดโครงการจิตอาสาจราจรรณรงค์ขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2568

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2568 ณ หน้าอาคารตำรวจภูธร ภ.3 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา พลตำรวจโทวัฒนา ยี่จีน ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 มอบหมวกนิรภัยให้กับ ตำรวจภูธรในสังกัด โดยมี รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภ.3 ผู้บังคับการ รองผู้บังคับการ หัวหน้าสถานี เข้าร่วมกิจกรรมตามนโยบายบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ข้อ 8 สร้างวินัยจราจร และข้อกำชับการปฏิบัติ ข้อ 4 การอำนวยความสะดวกการจราจรป้องกันและลดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้จัดทำโครงการจิตอาสาจราจร รณรงค์การขับขี่ปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย

เพื่อลดอุบัติเหตุจราจรทางบก ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี 2568 ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนงานจิตอาสาให้เห็นเป็นรูปธรรม และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับวินัยจราจรและการสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกต้อง โดยสามารถเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการสวมหมวกนิรภัยอย่างถูกต้องและสวมหมวกที่มีมาตรฐานอย่างถูกวิธี รวมทั้งป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการ

ตำรวจภูธรภาค 3 ได้รับจัดสรรหมวกนิรภัย ซึ่งเป็นหมวกนิรภัยเต็มใบแบบเปิดคาง จำนวน 3,840 ใบ เพื่อแจกจ่ายให้กับตำรวจภูธรในสังกัด นำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนในช่วง 7 วัน อันตราย (ระหว่างวันที่ 11 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2568) โดยกำหนดจุดแจกหมวกเป็นสองจุด จุดที่ 1. ภ.จว.นครราชสีมา จำนวน 1,920 ใบ เพื่อแจกจ่ายให้กับ ภ.จว.ชัยภูมิ จำนวน 384 ใบ นครราชสีมา จำนวน 768 ใบ และบุรีรัมย์ จำนวน 768 ใบ จุดที่ 2. ภ.จว.ศรีสะเกษ จำนวน 1,920 ใบ เพื่อแจกจ่ายให้กับ ภ.จว.ยโสธร สุรินทร์ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี

ตามนโยบายบริหารราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อนุมัติแนวทางการปฏิบัติงานและการขับเคลื่อนงานจิตอาสา ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ แนวทางการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาแก้ไขปัญหาจราจร ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี การแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของผู้ขับขี่ด้วยการสร้างวินัยจราจร ให้กับกลุ่มผู้มีอาชีพขับขี่ยานพาหนะ และเชิญให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ มาร่วมเป็นจิตอาสาจราจรเพื่อเป็นแบบอย่างในการสวมหมวกนิรภัย ที่ได้มาตรฐาน แล้วขยายผลใปสู่ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน

ให้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของจิตอาสาจราจร วินัยจราจร ทราบลักษณะหมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐาน และสวมใส่อย่างถูกวิธี ให้มีความปลอดภัยในการขับขี่รถจักรยานยนต์ ลดอุบัติเหตุ และความรุนแรงของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วง 7 วัน อันตราย (ระหว่างวันที่ 11 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2568) ปีนี้ ตำรวจภูธรภาค 3 ได้รับจัดสรรหมวกนิรภัย ซึ่งเป็นหมวกนิรภัยเต็มใบแบบเปิดคาง จำนวน 3,840 ใบ ซึ่งมีศูนย์กลางในการแจกจ่ายให้ตำรวจภูธร สองจุด คือ ณ ภ.จว.นครราชสีมา และ ภ.จว.ศรีสะเกษ แจกจ่ายให้ตำรวจภูธร 8 จังหวัด เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนตามจุดเสี่ยงต่าง ๆ ในพื้นที่

กันตินันท์ เรืองประโคน/รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / แถลงข่าวเตรียมจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์”

แชร์เนื้อหานี้

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ที่ห้องประชุมเพชรพลอย โรงแรมต้นทองรีสอร์ท ตำบลบ้านเกาะ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์
นางสาวนิรชา บัณฑิตย์ชาติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์พร้อมด้วยนายศักดิ์ตระกูล เลี้ยงประเสริฐ ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ และนายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ ร่วมกันแถลงข่าวการจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์”

ตามโครงการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งจัดในวันที่ 11 – 12 เมษายน 2568 ณ สนามหน้าจวนผู้ว่าราชการหลังเก่า เชื่อมโยงหอวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์และบนถนนพาดสนามบินช่วงสี่แยกหอวัฒนธรรมถึงแยกโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ พัฒนาต่อยอด และประชาสัมพันธ์มรดกภูมิปัญญาของจังหวัดอุตรดิตถ์ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในสังคม เป็นการส่งเสริมการนำทุนทางวัฒนธรรมมรดกภูมิปัญญามาสร้างเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

ให้จังหวัดอุตรดิตถ์ ตลอดจนนำทุนทางวัฒนธรรมของจังหวัดอุตรดิตถ์มาสืบสาน รักษา พัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาทางด้านวัฒนธรรม ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย การจัดแสดงนิทรรศการมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ จากที่ได้ผ่านการสำรวจจากทั้ง 9 อำเภอมา รวมเป็น 45 รายการ นำมาจัดแสดงในพื้นที่นี้ และมีการแสดงสาธิตมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรมทั้ง 45 รายการ โดยจะมีการจัดการแสดงผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปทั้ง 2 วันของการจัดงาน จนครบทั้ง 45 รายการ ทั้งยังมีการแสดงและจำหน่ายสินค้าจากกลุ่มมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 45 รายการ รวมจำนวน 45 คูหา จะอยู่ภายในบริเวณสนามหน้าจวน

ผู้ว่าราชการหลังเก่า และการแสดงและจำหน่ายสินค้าทางวัฒนธรรมส่วนอีก 35 คูหา จะอยู่ในพื้นที่บริเวณบนถนนพาดสนามบินช่วงสี่แยกหอวัฒนธรรมถึงแยกโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี รวมเป็น 80 คูหา เลือกซื้อ เลือกชิม กันได้อย่างจุใจ และนอกจากนั้นในพื้นที่บริเวณสนามหน้าจวน ผู้ว่าราชการหลังเก่า ก็จะมีเวทีกิจกรรม มีการแสดงทางวัฒนธรรมของทั้ง 9 อำเภอ อำเภอละ 2 รายการ รวมเป็น 18 ชุดการแสดง ที่จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นแสดงทั้ง 2 วัน จนครบ 18 ชุดการแสดง และยังมีการแสดงแสง สี เสียง ตำนานกำเนิดเมืองอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์” แสดงโชว์บนเวทีทั้ง 2 วัน

ทั้งวันที่ 11 และ 12 เมษายน 2568 ช่วงเวลาประมาณ 19.00 น. ประกอบด้วยนักแสดงมากกว่า 30 คน โดยวันที่ 11 เมษายน 2568 จะมีพิธีเปิดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์” ด้วย ส่วนวันที่ 12 เมษายน 2568 มีกิจกรรมพิเศษเป็นมินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชื่อดัง เป็นศิลปินที่มาจากเวทีการประกวดแบบเรียลลิตี้ เอเอฟ 12 และมีดีกรีเป็นถึงพระเอก หมอลำ “ระเบียบวาทะศิลป์” โฟกัส กิตติคุณ

นายสุรพันธ์ เจริญทรัพย์ วัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากจังหวัดอุตรดิตถ์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกอำเภอในจังหวัดอุตรดิตถ์ และต้องขอขอบคุณทางสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ สภาวัฒนธรรมอำเภอทั้ง 9 อำเภอ ที่ร่วมกันสำรวจและพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญาในการจัดการประชุมสำรวจและพัฒนาต่อยอดมรดกภูมิปัญญา ในพื้นที่ 9 อำเภอ ของจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่จัดผ่านมาในช่วงวันที่ 3 – 13 มีนาคม 2568

จนได้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ทั้ง 45 รายการ มาจัดงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ “หลงรัก(ษ์)อุตรดิตถ์” ในครั้งนี้ สำหรับการจัดงานในครั้งนี้มีกำหนดเปิดงานในวันที่ 11 เมษายน 2568 เวลาประมาณ 18.00 น. จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ พี่น้องจังหวัดใกล้เคียง และนักท่องเที่ยวทุกท่าน ร่วมสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรม อันทรงคุณค่า

ในงานมหกรรมมรดกภูมิปัญญาวัฒนธรรม จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11-12 เมษายน พ.ศ. 2568 นี้ เวลา 15.00 – 21.00 น. ณ สนามหน้าจวนผู้ว่าราชการหลังเก่า เชื่อมโยงหอวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์และบนถนนพาดสนามบินช่วงสี่แยกหอวัฒนธรรมถึงแยกโรงเรียนอุตรดิตถ์ดรุณี

นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

นางฟ้าเกณฑ์ทหาร ยิ้มแย้มแจ่มใสทำตามหน้าที่ชายไทยร่วมคัดเลือกทหาร

วันที่ 3 เมษายน 2568 ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีการคัดเลือกทหารกองเกิน เพื่อเข้ากองประจำการ บรรยากาศโดยทั่วไปเป็นไปด้วยความคึกคัก

โดยช่วงสายของวัน ช่วงที่กำลังจะลงทะเบียน ได้พบกับผู้เข้าร่วมการคัดเลือกทหารในตำบลน้ำไผ่ ชื่อน้องเกรซ น้องไตเติ้ล น้องนาเดีย ได้มาทำตามหน้าที่คัดเลือกทหาร จากการพูดคุย ทั้งสามคนตั้งใจมา และมีทัศนคติที่ดีในการทำตามหน้าที่ชายไทย เบื้องต้นจากการสอบถามพี่เจ้าหน้าที่ทหาร บอกว่าน้องทั้งสามไม่น่าจะผ่านเกณฑ์ เพราะเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด แต่ทั้งนี้ต้องให้แพทย์พิจารณาอีกที

เดินไปมานั่งคุยสอบถามทั่วไป ผู้เข้าร่วมคัดเลือกทหารคนงามอีกคนหนึ่ง ชื่อน้องต้นน้ำ ซึ่งตัวน้องเองได้เตรียมใบรับรองแพทย์เรื่องเพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิดมาเพื่อผ่อนผัน แต่ก็มีทัศนคติที่ดีในการมาทำตามหน้าที่และช่องทางตามกฎหมาย

ในภาคบ่าย เป็นการจับใบแดงใบดำ จากผู้ที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกภาคเช้า บรรยากาศเป็นไปด้วยความสนุกสนานลุ้นระทึก ของแฟน ครอบครัว เพื่อนๆ เป็นที่ถูกใจทั้งกองเชียร์กองแข่งสลับกันไป เพื่อไม่ให้ถึงคิวตัวเอง

นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / โครงการธารน้ำใจห่วงใยและแบ่งปันวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร เมืองน่าน

แชร์เนื้อหานี้

เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 70 พรรษา เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2568 เวลา 09.30 น. ที่ลานกิจกรรม โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ ตามพระราชดำริฯ ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เจ้าคุณพระวชิราภินันท์ เจ้าอาวาสวัดช้างค้ำวรวิหาร

พร้อมด้วยคุณสมชาย บวรวงศ์ดิรก และญาติธรรมจากประเทศสิงคโปร์ ได้นำถุงยังชีพจำนวน 195 ถุง พร้อมกับเลี้ยงก๋วยเตี๋ยวไอศครีมชนเผ่ามละบริ(ตองเหลือง)ในโอกาสร่วมกับ ศกร.ตชด.ห้วยลู่ ศศช.ห้วยลู่ จัดกิจกรรมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 70 พรรษา โดยชาวมละบริร่วมกันเขียนหนังสือลงนามถวายพระพร บริเวณโต๊ะลงนามที่ลานกิจกรรม

จากนั้นมีการจัดกิจกรรมปลูกกาแฟพระราชทาน อาราบิกา สายพันธุ์คาติมอร์ จำนวน 500 ต้น ปลูกเพิ่มไปในแปลงปลูกกาแฟพระราชทานเดิม ปี 2567 ที่ได้รับพระราชทานและปลูกไว้แปลงปลูกกาแฟเดิม 200 ต้น รวมมีกาแฟที่ได้รับพระราชทานนำมาปลูกในแปลงแล้ว ทั้งหมด 700 ต้น

โดยมีปลัดอำเภอเมืองน่าน นายธีราพร หมั่นแก้ว เป็นประธานในพิธีนำถวายพระพรชัยมงคล และเป็นประธานเปิดงานปลูกกาแฟพระราชทานเทิดพระเกียรติวันเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 70 พรรษา โดยมีจำนวนผู้เข้าร่วมงานจากภาคราชการ 35 คน ภาคเอกชน 55 คน และชุมชนมละบลิห้วยลู่ 72 คน ตัวแทนชุมชนมละบริห้วยหยวก 79 คน

โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม้ห้วยลู่ตามพระราชดำริฯ เป็นโครงการที่ดูแลฟื้นฟูป่าต้นน้ำร่วมกับชนเผ่ามลาบรี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ช่วยส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ชนเผ่ามลาบรีให้อยู่ร่วมกับป่า ซึ่งมีวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมแต่สามารถรู้เท่าทันโลกปัจจุบัน ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

แต่ครั้งเมื่อปี พ.ศ.2562 ได้เกิดเหตุไฟป่าขึ้นในพื้นที่โครงการอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าไม่ห้วยลู่ตามพระราชดำริฯ มีพื้นที่ป่าได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ซึ่งในปัจจุบันมีการฟื้นคืนสภาพป่าต้นไม้ทดแทนให้คืนกลับมา แต่ในพื้นที่ 4 ใน 10 ไร่แห่งนี้

ชุมชนบ้านห้วยลู่ได้ขอพื้นที่ใช้ในการปลูกข้าวไร่ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวให้กับชุมชน โดยได้ทำความตกลงกับทางโครงการฯ จะคืนพื้นที่เพื่อปลูกต้นไม้ฟื้นฟูป่าให้กลับมามีสภาพเหมือนเดิมในอนาคต/บุญยงค์ สดสอาด นายกสมาคมสื่อมวลชนจังหวัดน่าน รายงาน

สือรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / องคมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบความช่วยเหลือพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎร จ.บึงกาฬ

แชร์เนื้อหานี้

วันนี้ 3 เมษายน 2568 เวลา 13.30 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา องคมนตรี เป็นประธานในพิธีมอบความช่วยเหลือพระราชทานในโครงการสืบสานพระราชปณิธาน แก่ราษฎรจังหวัดบึงกาฬ ณ โรงเรียนบึงโขงหลงวิทยาคม อำเภอบึงโขงหลง จังหวัดบึงกาฬ

ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะองคมนตรีดำเนินการโครงการสืบสานพระราชปณิธาน เพื่อสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธานและพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎรในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร

พร้อมกับรับทราบปัญหาความเดือดร้อน เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและพัฒนาให้ราษฎรมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พร้อมทั้งเชิญพระราชกระแสความห่วงใยและสิ่งของพระราชทานไปมอบให้กับราษฎรในพื้นที่ โดยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ มูลนิธิและองค์กร ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะองคมนตรีกำกับดูแล ในการให้ความช่วยเหลือราษฎรในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจความเป็นอยู่ที่ดี และก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ราษฎรทุกหมู่เหล่าสืบไป

ในโอกาสเดียวกันนี้ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดถุงพระราชทาน เครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 502 ชุด ไปมอบแก่ราษฎรในพื้นที่ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบอุปกรณ์สำหรับการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมแก่โรงเรียนในพื้นที่ มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มอบชุดหนังสือเผยแพร่ความรู้สำหรับเยาวชนแก่โรงเรียนและห้องสมุด มูลนิธิพระดาบสออกหน่วยให้บริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง ซ่อมบำรุงเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ พร้อมทั้งร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในการให้บริการประชาชน เช่น การตัดผม การฝังเข็มเพื่อสุขภาพ การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับด้านการดูแลบำรุงรักษาเครื่องจักรกลทางการเกษตร การมอบเก้าอี้รถเข็นสำหรับผู้ป่วย

นอกจากนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมจัดหน่วยแพทย์และหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน มาให้บริการตรวจสุขภาพและรักษา สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ออกหน่วยเผยแพร่ความรู้และรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน สำนักงานอัยการสูงสุด ให้ความรู้และให้บริการปรึกษาด้านกฎหมาย สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สนับสนุนทุนการศึกษาพระราชทานต่อเนื่องจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้แก่นักเรียนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

ที่มีผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี มีความตั้งใจในการศึกษา และครอบครัวมีฐานะยากจน จำนวน 2 คน ได้แก่ เด็กหญิงศิริวภา รัตนโสภา และ เด็กหญิงธนัญชนก ทองธุลี และมูลนิธิกาญจนบารมี จัดหน่วยให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยเครื่องเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ ( Mammogram ) ในสตรีกลุ่มเสี่ยง ราษฎรต่างปลื้มปีติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ครบรอบ๑๐๖ ปีพระคันธารราฐ โคราชเตรียมจัดยิ่งใหญ่พิธี ”แห่พระคันธารราฐลอดประตูเมือง“วันเทศกาลสงกรานต์

แชร์เนื้อหานี้

“พระคันธารราฐ” เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ของ “วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร” สร้าง เมื่อวันที่ ๘ กันยายน ๒๔๖๔ ปัจจุบันปี ๒๕๖๘ มีอายุ ๑๐๔ ปี
“พระคันธารราฐ” สร้างโดย “พระยานครราชเสนี (สหัด สิงหเสนี)” เจ้าเมืองนครราชสีมา คนที่ ๑๑ มีขนาด หน้าตัก ๓๙’นิ้ว สูงประมาณ ๑ เมตร ๓๐ เซ็นติเมตร ครั้งเมื่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ “เจ้าเมืองนครราชสีมา”

ได้ริเริ่มประกอบพิธีอัญเชิญ “พระคันธารราฐ แห่ลอดประตูชุมพล” เนื่องในวันสงกรานต์ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ประชาชนชาวโคราชเรื่อยมา
จวบจนถึงปี ๒๕๒๒ พิธีกรรมดังกล่าวได้หยุดไป กระทั่งเมื่อปี ๒๕๖๐ วัดพระนารายณ์ ได้ ปฏิสังขรณ์ปิดทอง “พระทศพลญาณประทานบารมี หรือหลวงพ่อใหญ่” และขุดค้นพบพระพราณหลายองค์ใต้ฐานพระประธาน ทางวัดจึงมีแนวคิดที่จะรื้อฟื้นพิธีอัญเชิญ “พระคันธารราฐ ชุมพล”

ขึ้นมาอีกครั้งในวันสงกรานต์ ซึ่งการแห่พระลอดประตูชุมพล เป็นเอกลักษณ์ของ
สำหรับ “พระคันธารราฐ” มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวายกเสมอพระอุระ รัก พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา เป็นกิริยารับน้ำ ลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างกลมะเนตรเหลือบต่ำ โดยลงยาสีเหมือนจริง พระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์บางเรียว พระกรรณยาว เกือบจด สา ขมวดพระเกศา ทำเป็นรูปก้นหอยเรียง

ตลอดถึงพระเมาลื พระรัศมีทำเป็นรูปดอกบัวตูม ครอเฉียง เปิดพระอังสาขวา มีริ้วผ้าที่ด้านหน้าองค์พระพุทธรูป รองรับด้วยฐานบัวคว่ำบัวหงาย ทั้งนี้ ประชาชน
าวโคราชนิยมกราบไหว้ “พระคันธารราฐ” เพื่อขอฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ซึ่งเรียกชื่ออีกอย่างว่ฝน”

โดยพิธีประเพณีโบราณ “แห่พระคันธารราฐลอดประตูเมือง” จะมีในวันที่ ๑๒ เมษายน ๖๗ จะเริ่ม๑๕.๐๐ น.ที่วัดพระนารายณ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา “พระดันธารราฐ” ซึ่งเป็นพระพุทธ วัดพระนารายณโดยผู้ว่าฯโคราช จะเป็นผู้อัญเชิญ “พระคันธารราฐ” ประดิษฐานสู่ราชรถ พร้อมพิธีการรำ บวงสรวง

จากนั้นเคลื่อนขบวนแห่เข้าสู่ถนนจอมพล มุ่งหน้าไปลานอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี และสรงน้ำพระคันธารราฐ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ และความเป็นสิริมงคลต้อนรับเทศกาลปีใหม่ไทย เพื่อให้ประชาชนนักท่องเที่ยวได้สักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล และวันที่ ๑๓ เมษายน ๖๔ จะมีพิธีแห่พระคันธารราฐ ลอดอุ้มประตูชุมพล” พร้อมแห่ผ้าเงินด้ายทองกลับสู่วัดพระนารายณ์มหาราช

กันตินันท์ เรืองประโคน/ รายงาน

สื่อรัฐทีวี-สื่อรัฐนิวส์ / ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ”เปิดงานเทศกาลไก่ย่างโลกและของดีห้วยทับทัน” ตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ของจังหวัดศรีสะเกษ

แชร์เนื้อหานี้


เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 68 ที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ อนุพงษ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานเปิดงานเทศกาลไก่ย่างโลก และของดีห้วยทับทัน

ซึ่งอำเภอห้วนทับทัน ร่วมกับ องค์ปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนต่างจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 30 มี.ค. 68 ถึง วันที่ 4 เมษายน 68 การจัดงานไก่ย่างโลกขึ้นตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ของดีจังหวัด ศรีสะเกษ

ในครั้งนี้ ภายในงาน มีการจัดจำหน่ายสินค้า OTOP หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ สินค้า พืชผล ทางการเกษตร ของคนในชุมชนอำเภอห้วยทับทัน โดยในพิธีเปิด นายอนุพงษ์ สุขสมนิตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษได้ใช่มีดสับไก่ พร้อมพาหัวหน้าส่วนราชการ และเขยฝรั่ง ชิมไก่ย่างไม้มะดัง อย่างเอร็ดอร่อย

นายนายตระการ ชาลี นายอำเภอห้วยทับทัน ได้จัดงานไก่ย่างโลกขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล Soft Power ในการขับเคลื่อนศรษฐกิจไทยและสร้างมูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นั่นก็คือ FOOD อาหาร (ไก่ย่างไม้มะดัน) และ FESTIVAL คือ การจัดงานประเพณีในพื้นที่

และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว การพาณิชย์ สนับสนุนผลผลิตทางการเกษตร กร เศรษฐกิจ ในชุมชนเสริมสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน และสร้างความสมัครสามัคคีให้กับประชนชาวอำเภอห้วยทับทัน ตลอดจนขับเคลื่อนตามแนวทางการจังหวัด 1 + 10 วาระจังหวัด ซึ่งในการจัดกิจกรรม “งานเทศกาลไก่ย่างโลกและของดีห้วยทับทัน” ประจำปี 2568 ตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งกิจกรรมสร้างสรรค์ของจังหวัดศรีสะเกษ ในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก จังหวัดศรีสะเกษ

ภาพ /ข่าว วนิดา,ชาญฤทธิ์